มาพบวิธีแก้ปัญหาลูกไม่มีเพื่อนกัน

การเลี้ยงลูกวัย 6 ขวบขึ้นไป
JESSIE MUM

ในวันหนึ่งลูกต้องเดินทางมาถึงช่วงวัยที่ต้องเริ่มไปโรงเรียนและไปพบเจอกับประสบการณ์ใหม่ๆ มากมายที่นอกจากการไปเรียนเพื่อพัฒนาทักษะความรู้แล้วนั้นการเริ่มต้นไปมีสังคมใหม่ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่โรงเรียนมอบให้กับลูกๆ เช่นเดียวกัน ถ้าลูกสามารถเข้ากับคุณครู เพื่อนๆ และปรับตัวตามสภาพแวดล้อมได้ดีก็คงจะทำให้คุณพ่อคุณแม่หายห่วงกันและน่าจะได้ฟังเรื่องราวสนุกๆ ของลูกหลังเลิกเรียนกันแทบทุกวันเลยทีเดียว

แต่ถ้าบังเอิญลูกของคุณมีอาการไม่อยากไปโรงเรียนโดนดูฝืนใจและไม่มีความสุขเป็นอย่างมากก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องเริ่มพิจารณาหาสาเหตุกันก่อนและหากพบว่าสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นแบบนี้เป็นเพราะว่าลูกนั้นไม่สามารถเข้ากับเพื่อนได้หรือไม่เป็นที่ยอมรับของเพื่อนในบางกรณีอาจจะโดนกลั่นแกล้งด้วย ดังนั้นคงไม่ดีแน่ถ้าจะปล่อยทิ้งเอาไว้แบบนี้เพราะนอกจากจะทำให้ลูกไม่มีความสุขในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แล้วยังอาจทำให้ลูกกลายเป็นคนที่ไม่ชอบเข้าสังคมและมีปัญหาลามมากระทบกับอนาคตได้อีกด้วย

เริ่มวิเคราะห์นิสัยส่วนตัวของลูกที่ทำให้เกิดปัญหานี้กันก่อน

เด็กมีหลากหลายนิสัยอย่างที่เรารู้กันดีต้องเริ่มสังเกตและสอบถามคุณครูด้วยว่าอาการนิสัยแบบไหนที่ทำให้ลูกเจอกับปัญหานี้และคุณพ่อคุณแม่ต้องเปิดใจยอมรับฟังปัญหาและเข้าใจลูกพร้อมที่จะช่วยเขาแก้ไขอย่างใจเย็นด้วย เด็กบางคนอาจจะไม่สามารถอยู่นิ่งได้ทำให้คอยไปกวนเพื่อนตลอดอาจทำให้เพื่อนๆ เกิดความรำคาญหรือไม่ หรือเด็กบางคนอาจจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารไม่สามารถเข้าใจเหมือนเพื่อนๆ หรืออธิบายความต้องการของตัวเองไม่ได้หรือไม่ หรือบางคนมีอารมณ์ที่รุนแรงจนเพื่อนๆ กลัวไม่กล้าจะเข้าใจหรือไม่ รวมทั้งในบางครั้งตัวเด็กเองอาจจะมีอาการเขินอายไม่กล้าเข้าไปร่วมเล่นกับเพื่อนๆ แม้ว่าในใจก็อยากจะสนุกด้วยหรือไม่ นี่คือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องสังเกตและสอบถามดูจากสถานการณ์เพื่อนำมาแก้ไขให้ตรงจุดกันอีกทีหนึ่ง

ช่วยส่งเสริมทักษะด้านการเข้าสังคมให้กับลูก

สอนให้ลูกรู้จักสังเกตอารมณ์ของคนอื่น

การสังเกตคือคุณสมบัติที่ดีในการดำเนินชีวิตของทุกคนอยู่แล้วและยิ่งถ้าได้เริ่มฝึกกันตั้งแต่เด็กๆ แล้วล่ะก็มันย่อมเป็นประโยชน์แน่นอน โดยเริ่มง่ายๆ จากการสอนให้ลูกรู้จักสังเกตอารมณ์ของคนที่เขานั้นมีปฏิสัมพันธ์ด้วยนั่นเอง

โดยให้เข้าเริ่มดูจากสีหน้า ท่าทาง และคำพูดนำมาวิเคราะห์ว่าเขาเหล่านั้นกำลังมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไรและหากสัมผัสได้ถึงความไม่พอใจก็ให้ลูกรู้จักหยุดการกระทำนั้นและในบางกรณีอาจจะสอนให้ลูกรู้จักกับการขอโทษเอาไว้ด้วย

รู้อารมณ์เขาแล้วลูกต้องเรียนรู้อารมณ์ของตัวเองด้วย

ให้ลูกเรียนรู้และยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นกับอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง เช่น อาการใจเต้น กำมือแน่น นี่คือการของความโมโห ความโกรธ อาจจะนำเขาไปสู่ความรุนแรงและก้าวร้าวและอาจร้ายแรงถึงขั้นเจ็บตัวกันได้ การที่สอนให้เขาได้รู้เท่าทันตัวเองว่านี่คือความโกรธคอยหมั่นปลูกฝังให้เขาเข้าใจว่าการตัดสินใจในช่วงเวลาที่มีอารมณ์นี้เข้ามาครอบงำมันจะทำให้เกิดแต่ผลเสีย สอนให้เขารู้จักหายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ เพื่อสงบสติอารมณ์ เป็นต้น

ช่วยลูกฝึกการสื่อสาร

สอนให้เขารู้จักคิดถึงใจเขาใจเรา เวลามีการสนทนาให้มีความตั้งใจฟังและคิดทุกคำก่อนที่จะพูดออกไปเพื่อทำให้การสนทนาราบรื่นและเป็นการสานความสัมพันธ์ที่ดีที่สุด และพยายามอย่าให้อารมณ์มาอยู่เหนือการแสดงออกใดๆ

เสริมทักษะการเข้าสังคมอื่นๆ ให้ลูกด้วย

นอกจากการสื่อสารด้วยการพูดคุยและการแสดงออกต่างๆ แล้วสิ่งที่ทำให้ลูกมีเพื่อนเพิ่มมากขึ้นได้คือทักษะนิสัยอื่นๆ ที่มีความน่ารักบนพื้นฐานของคุณธรรมและความดี เช่น สอนให้เขามีน้ำใจรู้จักการแบ่งปันและช่วยเหลือคนอื่น มีความเห็นอกเห็นใจ และมีความกล้าพอที่จะยอมรับความผิดที่ตัวเองได้ทำ นี่คือสิ่งที่เมื่อโตขึ้นจะสามารถติดตัวเขาไปได้ด้วยและที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่คือต้นแบบที่สำคัญที่จะทำให้ลูกเกิดสิ่งเหล่านี้ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

มนุษย์เป็นสัตว์สังคมหากว่าลูกเจอกับปัญหาไม่มีเพื่อนและเข้ากับสังคมไม่ได้ตั้งแต่ยังเด็กมากนั้นอาจจะทำให้เขาขาดความสุขและไม่มีความมั่นใจและเราไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดปัญหาอะไรและยิ่งใหญ่แค่ไหนอีกหรือไม่ที่จะตามมาทำร้ายเขาได้ในอนาคต มาสร้างภูมิคุ้มกันให้เขาเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เป็นเข้าสังคมให้ได้ตั้งแต่ยังเล็กๆ กันจะเป็นการดีกว่าอย่างแน่นอน

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP