แนะวิธีแก้…ให้ทารกหายสะอึก

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 0-1 ขวบ

ความที่เป็นคุณพ่อคุณแม่ ถ้าพูดถึงเรื่อง “ลูก” เชื่อว่าทุกคนคงให้ความสำคัญมาเป็นอันดับหนึ่ง ใส่ใจดูแลตั้งแต่รู้ว่าตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอดคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคนเมื่อคลอดลูกออกมาแล้วก็จะกังวลว่า เราจะดูแลลูกได้ดีมั้ย? หรือจะดูแลได้ดีแค่ไหน? ลูกจะอิ่มหรือยัง? เราจะรู้ได้อย่างไร? และอีกคำถามร้อยแปดในหัว

ซึ่งหนึ่งในหลายๆ เรื่องที่กล่าวไปนั่นก็คือ “ปัญหาทารกสะอึก” โดยเฉพาะหลังกินนม บางคนสะอึกอยู่พักหนึ่งก็หาย บางคนสะอึกนานจนทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวล วันนี้แม่โน้ตมีวิธีแก้ทารกสะอึกมาฝากค่ะ ไปดูกันค่ะว่ามีอะไร? และต้องทำอย่างไรบ้าง?

“สะอึก” เกิดจากอะไร?

เพราะความที่อวัยวะหลายๆ อย่างของทารกยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ จึงส่งผลให้การทำงานยังไม่เต็มประสิทธิภาพเช่นกัน การควบคุมจึงยังทำได้ไม่ดีนัก อย่างการสะอึกนี้ เป็นผลมาจากการทำงานของกระบังลมทำงานไม่สัมพันธ์กับการหายใจออกของทารก เพราะหลังจากที่ทารกกินนมอิ่มแล้ว กระเพาะจะเกิดการขยายตัวเพราะมีน้ำนมเข้าไปแทนที่ ทำให้เกิดแรงดันส่งไปยังกล้ามเนื้อกระบังลมที่อยู่บริเวณรอยต่อระหว่างช่องปอดและช่องท้อง ทำให้กระบังลมหดตัวอย่างรวดเร็วขณะที่ทารกหายใจออกค่ะ

สะอึกแบบนี้จะอันตรายหรือไม่?

จริงๆ แล้วการสะอึกของ ทารกนับเป็นเรื่องปกติค่ะ ทารกเมื่อสะอึกไปซักพักก็จะหยุดได้เอง และหากเค้าโตขึ้นจนอายุราว 4-5 เดือน อาการสะอึกก็จะค่อยๆ ทุเลาลง หรือหากจะมีก็นานๆ ที แต่ยกเว้นว่าทารกมีอาการสะอึกนานจนอาเจียน อย่างนี้ควรไปพบคุณหมอค่ะ

วิธีแก้ให้ทารกหายสะอึก

ช่วยไล่ลมหลังทารกกินนม

หลังจากที่ลูกกินอิ่มแล้ว ให้คุณแม่ช่วยไล่ลมให้ลูกทุกครั้ง มี 3วิธีง่ายๆ ดังนี้ค่ะ

  • แขนข้างหนึ่งอุ้มลูกให้ส่วนหัวพาดอยู่บนบ่า มืออีกข้างหนึ่งลูบหลังลูกเบาๆ หรือ
  • อุ้มเค้าให้ลำตัวตรงสักหน่อย เดินไปเดินมา เพื่อให้น้ำนมได้ถูกย่อยออกจากกระเพาะได้เร็วขึ้น
  • ให้ลูกนั่งบนตัก แล้วใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ประคองคางไว้ ให้ลำตัวลูกเอนมาด้านหน้าเล็กน้อย คุณแม่ใช้มือข้างหนึ่งลูบหลัง เบาๆ ช้าๆ จากด้านหลังเอวมาถึงช่วงต้นคอ ทำอย่างนี้ซ้ำๆ วนไปค่ะ ประมาณ 5-10 นาที

กินนมแม่

การที่ทารกได้ดูดนมแม่ จะเป็นการช่วยให้ทารกฝึกการหายใจได้ดียิ่งขึ้น ถ้าเป็นไปได้ควรกินแต่นมแม่อย่างเดียวนะคะ ยังไม่ต้องให้ดื่มน้ำเปล่า และอาการสะอึกก็จะค่อยๆ ดีขึ้น และหายไป

หลีกเลี่ยงการทานมจากขวด

เพราะการทานนมจากขวด จะทำให้ทารกดูดลมเข้าไปในกระเพาะมากขึ้น

ห้ามบีบจมูก

หากลูกสะอึก ห้ามคุณพ่อคุณแม่ใช้วิธีบีบจมูกลูก เหมือนที่ผู้ใหญ่ทำนะคะ

ปรึกษาคุณหมอ

เมื่อไหร่ที่ควรพาทารกไปพบคุณหมอ? มีดังนี้ค่ะ

  • สะอึกต่อเนื่องกันนานเกินกว่า 3 ชั่วโมง หรือสะอึกจนดูแล้วลูกหายใจลำบากหรือหายใจไม่ออก
  • มีไข้สูง ปวดท้อง อาเจียน หรือถ่ายแล้วมีเลือดปนออกมา
  • หากลูกต้องทานยาชนิดใดชนิดหนึ่ง แล้วหลังจากทานยานั้น ลูกมีอาการสะอึก อย่าลืมนำยาที่ทานนั้นไปให้คุณหมอ เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคด้วยนะคะ

หากลูกโตเกินวัยแล้ว ยังมีอาการสะอึกอยู่จะทำอย่างไรดี?

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ได้แบ่งสาเหตุออกเป็น4 ข้อใหญ่ ๆ ดังนี้

  1. ความผิดปกติของกระบังลม ได้แก่ หลอดอาหาร ปอด เส้นประสาทกระบังลม ยกตัวอย่างเช่น หลอดอาหาร เกิดจาก การรีบร้อนกลืนอาหาร ทำให้อาหารติดคอ กลืนลำบากหรือเส้นประสาทกระบังลมมีการระคายเคือง เช่น การผ่าตัดช่องอก หรือการอักเสบของช่องอก เป็นต้น
  2. ความผิดปกติของช่องท้อง เช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบเฉียบพลัน ตับอ่อนอักเสบ
  3. ความผิดปกติของสมอง เช่น กะโหลกศีรษะแตก สมองถูกกระทบกระเทือน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น
  4. สภาวะทางจิตใจ เช่น เครียด วิตกกังวล หรือการแกล้งทำ เป็นต้น อาการสะอึกที่เกิดจากข้อนี้ จะหายไปในขณะหลับหรืออยู่คนเดียว

ทารกสะอึกแบบไหนที่ควรพบแพทย์

จริงอยู่ว่าการที่ทารกสะอึกเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรวางใจ ละเลยกับอาการที่เกิดขึ้น แต่ควรสังเกตอาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด โดยหากพบว่าลูกน้อยมีอาการดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ ควรพาลูกน้อยเข้าพบแพทย์ทันที

เด็กทารกหรือเด็กเล็ก

  • ทารกสะอึกติดต่อกันนานเป็นเวลาหลายชั่วโมง
  • มีแหวะนมที่ผสมกับน้ำดีร่วมด้วย
  • มีอาการซึม ไม่ร่าเริง
  • ไม่ยอมนมหรือทานอาหาร
  • มีไข้ ร้องงอแงไม่หยุด
  • ท้องป่อง

เด็กโต

  • เด็กโตมักจะมีการสะอึกที่แรงกว่าทารก คล้ายกับมีอาหารติดคอ
  • หายใจไม่ทัน หายใจไม่ออก
  • หน้าเขียว
  • พูดไม่รู้เรื่อง จับความไม่ได้
  • พูดไม่มีเสียง

ข้อห้าม หากทารกสะอึก

สำหรับข้อห้ามจะเป็นข้อห้ามสำหรับเด็กทารกหรือเด็กเล็กค่ะ ขณะที่ลูกสะอึกควรงดการให้น้ำในปริมาณมากๆ เพราะน้ำจะยิ่งเข้าดันที่กระบังลม ลูกจะสะอึกมากขึ้น หรืออาจทำให้เกิดการสำลักได้

การสะอึกของทารกนั้นนับเป็นเรื่องปกติค่ะ เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกได้ ป้องกันไม่ให้เค้าสะอึกได้ ลูกน้อยจะได้หลับสบายไม่เหนื่อยอีกด้วยค่ะ แต่หากสังเกตแล้วว่าลูกสะอึกนานเป็นชั่วโมงเลย แบบนี้ควรพบคุณหมอทันทีค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP