ลูกเข้าเรียนก่อนเกณฑ์ เหตุให้เด็ก 8 ขวบคิดอยากตาย

ไลฟ์สไตล์

“เครียด กดดัน คิดอยากตาย”

วลีข้างต้นนี้โน้ตอยากให้คุณพ่อคุณแม่ลองเดากันดูค่ะว่าเป็นอาการของโรคอะไร?

คิดว่าคุณพ่อคุณแม่คงทายกันได้ ใช่แล้วค่ะ “โรคซึมเศร้าในเด็ก” แต่เอ๊ะ…เด็ก 8 ขวบนี่นะจะเป็นโรคซึมเศร้า? มันคือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้วค่ะ วันนี้โน้ตจึงขอหยิบยกเรื่องนี้มาพูดกันซักนิดนะคะ เพราะมันเป็นเรื่องใกล้ตัวของคุณพ่อคุณแม่มากจริงๆ

เรื่องราวความเป็นมา

หญิงสาวชาวใต้วัยกลางคนคนหนึ่งได้ออกมาเปิดเผยเรื่องราวของตนเองที่เรียกได้ว่า “ถ้าไม่เจอกับตัวเอง ไม่มีทางรู้” เมื่อลูกสาววัย 8 ขวบ เดิมเป็นเด็กที่ร่าเริง สดใส ต่อมากลายคนชอบเก็บตัว ไม่ค่อยพูดกับใคร จนกระทั่งมารูอีกทีว่าลูกสาวเป็น “โรคซึมเศร้า

กับการพาลูกไปหาหมอครั้งแรก บันทึกของหมอระบุไว้ว่า

“พาลูกไปหาหมอครั้งแรกเมื่อ 31 พ.ค. หลังหมอคุยกับลูกก็บอกว่าลูกเป็นโรคซึมเศร้า ตอนแรกไม่เชื่อ เพราะเข้าใจว่าโรคนี้เป็นแต่กับผู้ใหญ่ หมอเห็นท่าทางไม่เชื่อเลยบอกอีกว่า ลูกบอกไม่อยากอยู่บนโลกนี้แล้ว คิดจะตายแล้ว แม่จึงเชื่อหมอสนิทใจ และรู้สึกช็อกเหมือนกัน หมอบอกตอนนี้ลูกเหมือนเดินอยู่บนเส้นด้าย มีโอกาสพลัดตก ร่วงหล่นได้ทุกเวลา”

ปฐมเหตุจากพ่อแม่

โดยปกติแล้วเกณฑ์การเข้าเรียนของเด็ก ป.1 มีอายุราวๆ 7 ขวบ แต่ลูกสาวเข้าเรียนชั้น ป.1 เมื่ออายุเพียง 5 ขวบปลายๆ เท่านั้น ทำให้ลูกสาวรู้สึกเครียด กดดัน เพราะต้องรับวิชาการมากไป และเข้ากับเพื่อนๆ ไม่ค่อยได้ เพราะมีอายุห่างกันถึง 2 ปี

คุณแม่กล่าวด้วยน้ำเสียงสลดว่า

“ตอนหมอบอกว่าลูกเป็นโรคซึมเศร้า แม่ได้ยินร้องไห้ไม่อายหมอเลย ไม่คิดว่าการที่น้องเก็บกดจากการเรียน การที่อายุต่างจากเพื่อนจะมีผลขนาดนี้ รู้ว่าพ่อแม่หวังดีกับลูก แต่สุดท้ายความหวังดีอาจทำร้ายลูกไม่รู้ตัว เด็กบางคนรับได้ แต่เด็กบางคนอาจจะรับไม่ได้ อยู่ที่หลายๆ อย่างด้วย บางคนจำใจรับ ไม่ต้องการแต่ไม่กล้าพูด ไม่กล้าบอก พ่อแม่บางคนคิดว่าไม่เกี่ยว แต่พอเจอกับตัวเองก็เพิ่งมาเข้าใจเหมือนกัน”

ตอนที่น้องเรียนชั้นอนุบาลนั้น การเรียนยังดีอยู่ไม่มีปัญหาอะไร เรียนได้เกรด 4 ทุกวิชา พอย้ายโรงเรียนมาชั้น ป.1 ยังดีอยู่ แต่พอขึ้นชั้น ป.2 น้องเริ่มเงียบไม่ค่อยพูดค่อยจา ชวนไปไหนก็ไม่ไป ไม่อยากเจอเพื่อน ไม่อยากเข้าสังคม เรียกได้ว่าเริ่มมีอาการ

พอขึ้นชั้น ป.3 ลูกสาวเริ่มมีอาการหนักขึ้น บอกว่า “ไม่อยากไปโรงเรียน” พอใกล้ถึงโรงเรียนเริ่มมีอาการจิกเข็มขัดนิรภัย ไม่ยอมลงจากรถ ครูถามอะไรก็ไม่ตอบ เหม่อลอย ซึ่งมาทราบจากคุณหมอว่านี่คือ เป็นช่วงที่กำลังใช้ความคิด

ความหวังดี” ของคุณพ่อคุณแม่ครั้งนี้ นับว่าเป็นอาวุธที่ทำร้ายลูกโดยไม่ได้ตั้งใจและไม่รู้ตัวจริงๆ ซึ่งสาเหตุของโรคซึมเศร้าในเด็กนั้นมีหลายสาเหตุด้วยกัน หนึ่งในนั้นก็คือ “การส่งลูกเข้าเรียนก่อนเกณฑ์”

ลูกเรียนก่อนเกณฑ์ จนเป็นเหตุให้เกิดโรคซึมเศร้าในเด็กจะสังเกตอาการได้อย่างไร?

  • เริ่มที่จะไม่พูดไม่จากับใคร
  • เบื่อหน่ายสิ่งต่างๆ รอบตัวมากขึ้น
  • บางรายอาจมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย
  • แม้ได้ทำกิจกรรมที่ชอบก็ไม่มีความสนุก
  • ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลดลง แต่บางรายก็ทานอาหารมากกว่าเดิม
  • นอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ หรืออาจตื่นเร็วกว่าปกติแต่ในขณะที่บางรายก็นอนทั้งวัน
  • เฉื่อยชา ไม่กระฉับกระเฉง
  • ไม่มีสมาธิในการเรียน ความจำแย่ลง
  • รู้สึกว่าตัวเองผิดมักโทษตัวเอง
  • รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า
  • อยากตาย

สาเหตุทั่วไปโรคซึมเศร้าในเด็ก

มีหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้

  • กรรมพันธุ์
  • ยาบางชนิด
  • ปัญหาในครอบครัว
  • ผลการเรียนตกต่ำ
  • เข้าเรียนก่อนเกณฑ์
  • การเลือกคบเพื่อน
  • ถูกเพื่อนกลั่นแกล้งเสมอๆ
  • กลัวกับบุคคลรอบข้าง
  • เด็กขาดความมั่นใจในตนเอง
  • กลัวการแข่งขัน เป็นต้น

วิธีรับมือกับโรคซึมเศร้าในเด็ก

  • พูดคุยกับลูกด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์
  • หมั่นสังเกตพฤติกรรม ถามสารทุกข์สุกดิบ หรือมีปัญหาอะไรที่คุณพ่อคุณแม่จะช่วยแก้ไขได้ในเบื้องต้น
  • หากิจกรรมใหม่ๆ ทำกับลูก สร้างบรรยากาศใหม่ๆ
  • เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่าเรื่องต่างๆ คุณพ่อคุณแม่เป็นผู้รับฟังที่ดีไปก่อน
  • คอยสำรวจพฤติกรรมหรือขอความช่วยเหลือจากคุณครูในการสอดส่องพฤติกรรมลูก และแก้ไขปัญหาร่วมกัน
  • หากอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำปรึกษาคุณหมอโดยด่วน

เพราะความรัก ความหวังดีของคุณพ่อคุณแม่ก็เปรียบเสมือนดาบสองคม รักมากไป หวังดีมากไปก็เป็นอันตรายกับลูกโดยที่เราเองอาจไม่รู้ตัว ตั้งสติ รักแต่พอดีนะคะ เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวคะ

อ้างอิง thairath.co.th

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP