8 เรื่องที่แม่กังวลเรื่องน้ำนมแม่ เรื่องเต้านม แก้ไขได้

นมแม่

แม่ทุกคนเมื่อมีลูกก็อยากจะให้ลูกได้ทานนมแม่กันทั้งนั้นค่ะ ซึ่งเรื่องของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น มีเรื่องต้องให้กังวลกันเป็นระยะไม่ว่าจะเรื่องของน้ำนมเอง หรือเรื่องของเต้านมคุณแม่เอง โน้ตเชื่อว่าแม่ทุกคนคงเคยเจอปัญหาที่โน้ตกำลังจะพูดถึงในวันนี้กันมาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย ทั้งระยะก่อนให้นมและระยะระหว่างให้นม ซึ่งแต่ละปัญหามีทางแก้ค่ะ

8เรื่องที่แม่ให้นมกังวล

หัวนมบอดหรือบุ๋ม

วิธีเช็คว่าคุณแม่หัวนมบอดหรือไม่ ให้คุณแม่ใช้สองนิ้ววางที่ลานนม แล้วกดลง ถ้าหัวนมจมลงตามลานนมแทนที่หัวนมจะโผล่ขึ้นมา แบบนี้แสดงว่า “หัวนมบอด” ซึ่งมี

วิธีแก้ไข 2 วิธี

วิธีแก้ไขหัวนมบอดหรือบุ๋ม

จิ้ม-กด-ดึง
ใช้นิ้วชี้สองข้างแตะที่ลานนมข้างหัวนม กดนิ้วชี้ลงดึงแยกออกด้านข้าง แล้วปล่อย ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง
บีบ-ดึง-ปล่อย
ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้คีบหัวนมเบาๆ ค่อยๆ ดึงหัวนมออก 2-3 ครั้ง แล้วปล่อยหัวนมกลับ

คัดเต้านมมาก

แสดงว่าคุณแม่มีปริมาณน้ำนมมาก จึงทำให้เต้านมแข็งและเจ็บหลังคลอดจะใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน กว่าทารกจะทานนมได้สัมพันธ์กับนมแม่ที่ผลิตออกมา แต่การให้ทารกเข้าเต้าในขณะที่นมแข็งนั้น จะทำให้ทารกดูดได้ลำบาก

วิธีแก้ไข

วิธีแก้ไขคัดเต้านม

บีบนมหรือปั๊มนมออกส่วนหนึ่งก่อน เพื่อให้เต้านมนิ่มลง ทารกก็จะดูดง่ายขึ้น และควรให้ลูกดูดกระตุ้นบ่อยๆ นะคะ เพื่อป้องกันปัญหาเต้านมคัดและยังเป็นการกระตุ้นการผลิตน้ำนมของคุณแม่ได้อีกด้วย

เจ็บหัวนม

คุณแม่ที่เพิ่งนมลูกคนแรกจะเป็นกันเยอะค่ะ หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ลูกคนแรก อาจต้องเช็คดูว่าลูกน้อยดูดนมถูกต้องหรือเปล่า

วิธีแก้ไข

หากลูกน้อยงับแค่หัวนม ให้คุณแม่ปรับท่าของลูกโดยการดึงคางลูกเบาๆ เพื่อให้เค้าปล่อยเต้าก่อน แล้วเปลี่ยนมาให้ลูกน้อยงับเต้าเข้าไปลึกหน่อย โดยให้ส่วนจมูกและคางของลูกสัมผัสผิวเต้านมของคุณแม่ เรียกได้ว่าถ้าลูกดูดถูกท่า เราจะเห็นลานนมแค่เพียงนิดเดียว

**หรือถ้าลูกน้อยดูดถูกท่าแล้วแต่แม่ก็ยังเจ็บอยู่ เป็นไปได้ว่าหัวนมคุณแม่จะแห้ง แบบนี้ควรหลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้ารัดๆ และงดการถูสบู่ที่หัวนมค่ะ

หัวนมแตก

ข้อนี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ เร่งปั๊มนม (ส่วนใหญ่จะเป็นระบบปั๊มมือ) ปั๊มนมผิดวิธี หัวนมแห้ง แต่ส่วนใหญ่ที่พบมักมาจากการให้ลูกดูดผิดวิธี เช่น ลูกงับแค่หัวนม ไม่ถึงลานนม

วิธีแก้ไข

หากเกิดจากลูกดูดผิดวิธี ให้เช็คท่าที่ลูกดูดให้ถูกต้องทุกครั้ง โดยให้ลูกงับเต้าถึงลานนม คุณแม่อาจสลับข้างกันดูด และเมื่อลูกหิวน้อยลง ลูกก็จะดูดได้นิ่มนวลขึ้น

ท่อน้ำนมอุดตัน

ต่อมที่ผลิตท่อน้ำนมนั้นแบ่งออกเป็นกระเปาะ แต่ละกระเปาะจะลำเลียงน้ำนมมายังหัวนม หากมีกระเปาะใดกระเปาะหนึ่งไม่สามารถลำเลียงน้ำนมออกมาได้ อาจเพราะลูกดูดไม่ถูกวิธีก็ทำให้ท่อน้ำนมอุดตันได้ จะเกิดเป็นก้อนนุ่มในเต้านม

วิธีแก้ไข

  • ใช้ขนหนูอุ่นๆ ประคบรอบเต้านม เพื่อให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น
  • ให้ลูกดูข้างที่อุดตันบ่อยขึ้น

เต้านมอักเสบ

เหตุเพราะท่อน้ำนมอุดตันแล้วไม่ได้รับการรักษา ส่วนใหญ่คุณแม่จะมี 2 อาการจากนี้เป็นอย่างน้อย

  • เต้านมร้อน ไวต่อการกระตุ้น และรู้สึกเจ็บ
  • มีปื้นแดงบริเวณผิว และเจ็บเมื่อสัมผัส
  • รู้สึกเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่
  • มีไข้สูง

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบท่ากินนมของลูกว่าถูกต้องหรือไม่ โดยคุณหมอสูตินรีเวช
  • ยังคงให้ลูกเข้าเต้าต่อไป
    ใช้ผ้าขนหนูอุ่นๆ ประคบรอบเต้านม อาบน้ำอุ่น หรือแช่น้ำอุ่นก็จะทำให้อาการดีขึ้น
  • พักผ่อนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • หากภายใน 12-24 ชม. อาการยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาคุณหมอ
  • ไม่ควรหยุดให้นมเอง เพราะอาจทำให้กลายเป็นฝีเต้านมได้

เชื้อราในปากลูก

สาเหตุการเจ็บเต้านม อาจมาจากเชื้อราในปากของลูกก็ได้ค่ะ หากเชื้อรานั้นรามไปที่หน้าอกของคุณแม่ คุณแม่จะมีอาการคันไม่หยุด แสบ ปวดระบม บางครั้งอาจพบเป็นผื่นแดง

วิธีแก้ไข

วิธีแก้ไขเชื้อราในปากลูก

  • คุณหมอจะให้ยาต้านเชื้อราสำหรับทาบริเวณหัวนมของคุณแม่และในปากของลูกน้อย
  • คุณแม่ต้องล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลังให้นมลูกทุกครั้ง
  • หากภายใน 7 วัน อาการยังไม่ดีขึ้น ควรกลับไปปรึกษาคุณหมอค่ะ

ลูกหลับคาเต้า

เพราะการหลับคนเต้านั้น เด็กบางคนยังกินไม่อิ่มนะคะ เพียงแต่ความหิวของเค้ามันน้อยลง บวกกับความอบอุ่นจากคุณแม่จึงทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลายนั่นเอง ที่สำคัญ นมที่ค้างในปากอาจเป็นเหตุให้เกิดเชื้อราในปากลูกได้อีกด้วยค่ะ

วิธีแก้ไข

เมื่อคุณแม่สังเกตเห็นแล้วว่าลูกน้อยมีอาการเคลิ้มๆ หรือดูดนมน้อยลง ให้คุณแม่ร้องเพลง ชวนคุย หรือสะกิดใต้เท้าเค้าเบาๆ แล้วสลับมาดูดอีกข้างหนึ่งแทน ซึ่งเมื่อโตขึ้นเค้าจะตื่นได้นานขึ้นเองค่ะ คุณแม่ไม่ต้องกังวล

คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ควรกังวลนะคะ เพราะจะมีผลกระทบทำให้น้ำนมน้อยลง หรือหากมีปัญหาที่ไม่แน่ใจหรือคิดไม่ตก ควรปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุดค่ะ

อ้างอิง
honestdocs.co
rakluke.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP