ฝากไข่ เทรนด์ใหม่ แม่พร้อมเมื่อไหร่ค่อยมีลูก

ไลฟ์สไตล์

มาระยะหลังนี้ เราอาจเคยได้ยินดาราหลายคนพูดถึงเรื่องการ “ฝากไข่” มากขึ้น หลายคนอาจสงสัยว่า การฝากไข่คืออะไร? ข้อดีคืออะไร? วิธีการฝากไข่ฝากทีไหน? และอีก 108 คำถาม วันนี้เรามีข้อมูลมาฝากคุณแม่ อย่างน้อยก็เพื่อการตัดสินใจและเพื่อการวางแผนที่จะมีลูกในอนาคตค่ะ

ฝากไข่ คืออะไร

คือการที่ผู้หญิงนำเซลล์สืบพันธุ์ หรือ “ไข่” มาแช่แข็งเอาไว้ในตู้เย็นชนิดพิเศษ หรือไนโตรเจนเหลวที่มีอุณหภูมิที่ต่ำมากถึง -196 องศาเซลเซียส ที่ต้องเก็บในอุณหภูมิต่ำและห้องพิเศษขนาดนี้ก็เพื่อต้องการให้ไข่ยังคงสภาพอยู่ได้ดี ไม่เปลี่ยนแปลง และจะถูกเก็บจนกว่าว่าที่คุณพ่อคุณคุณแม่พร้อมจะมีลูก ซึ่งในต่างประเทศมีเด็กที่คลอดออกมาจากการฝากไข่นี้ตั้งแต่ปี 1986 และมีแนวโน้มมากขึ้นทุกปี

“ว่าที่คุณแม่ที่ต้องการฝากไข่ อายุยิ่งน้อยไข่ยิ่งสมบูรณ์ จะดีที่สุดหากจะฝากไข่ก่อนอายุ 35 ปี”

การฝากไข่ ก็คือการที่ผู้หญิง เอาเซลล์สืบพันธุ์ คือเซลล์ไข่ ไปเก็บรักษาไว้โดยการแช่แข็ง เพื่อคงอายุของไข่ ณ ขณะนั้น เราจะเก็บรักษาไข่โดยการแช่แข็งไว้ในไนโตรเจนเหลว ที่อุณหภูมิติดลบ 169 องศาเซลเซียส เก็บได้เป็น 10 ปี โดยที่ไม่มีผลต่อคุณภาพของไข่ การแช่แข็งไข่ปัจจุบันการใช้วิธี Vitrification ก็คือการแช่แข็งแบบผลึกแก้ว โดยลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว”
ข้อมูลอ้างอิง :
พญ.ศรมน ทรงวีรธรรม สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร

ฝากไข่เหมาะกับใครบ้าง?

ผู้หญิงที่แต่งงานช้า

อย่างที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันมีจำนวนผู้หญิงที่แต่งงานช้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เมื่อเวลาล่วงเลยไป “ความสมบูรณ์” ในเซลล์สืบพันธุ์ผู้หญิงก็ลดลงตามอายุที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีลูกยากตามมา

แต่งแล้วแต่ไม่พร้อมจะมีลูก

บางครอบครัวคิดว่า อยากให้ลูกเกิดมาแล้วมีพร้อมทุกอย่าง หรือจะขาดอะไรก็ขอให้น้อยที่สุด ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ขอทำงานเก็บเงินก่อน สุดท้ายจะพร้อมอีกทีตอนที่ผู้หญิงเลยวัยเจริญพันธุ์แล้ว

ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง

เพราะการรักษาต้องใช้วิธีเคมีบำบัด ใช้การฉายแสง ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นตัวทำลายเซลล์สืบพันธุ์ของผู้หญิงได้ เช่นเดียงกับผู้ชายหากเป็นมะเร็ง แต่ต้องการจะมีลูก คุณหมอจะแนะนำให้เก็บ “อสุจิ” ไว้ก่อนทำการรักษา

มีแนวโน้มว่าจะหมดประจำเดือนเร็ว

โดยวิเคราะห์เบื้องต้นจากพันธุกรรม เช่น หากที่บ้านเคยมีประวัติครอบครัวหมดประจำเดือนเร็ว เป็นต้น

เคยได้รับการผ่าตัดซีสต์ที่รังไข่

เตรียมตัวฝากไข่

เมื่อว่าที่คุณพ่อและคุณแม่ตกลงกันแล้วว่าต้องการมีลูก แจ้งความประสงค์กับคุณหมอ ซึ่งคุณหมอจะเริ่มให้ว่าที่คุณแม่เตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการเก็บไข่ ดังนี้

  • ตรวจเลือด
  • ตรวจโรคติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบซี และซิฟิลิส เป็นต้น
  • ตรวจโรคที่เกี่ยวกับพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย เป็นต้น
  • กระตุ้นไข่
    คุณหมอจะใช้ยาเพื่อกระตุ้นไข่ เร่งให้ร่างกายสร้างไข่ ให้มีไข่มากกว่า 1 ใบ แต่เป็น 10-20 ใบ คุณหมอจะพยายามเก็บในครั้งเดียวให้ได้มากที่สุด และเพื่อป้องกันความผิดพลาด ยาที่ใช้กระตุ้นจะเป็นยาชนิดเดียวกันกับที่ใช้ทำเด็กหลอดแก้ว โดยการฉีดกระตุ้นรังไข่ทุกวัน ประมาณ 4-5 วัน จากนั้น คุณหมอจะนัดตรวจดูว่ามีปริมาณไข่เพิ่มขั้นเยอะหรือไม่? และขนาดของไข่ว่าใช้ได้หรือยัง?
  • ดูดไข่
    เมื่อไข่ตกแล้ว คุณหมอจะนัดมาดูดไข่ ในช่วงที่คุณแม่มีประจำเดือน โดยจะเจาะเลือด อัลตราซาวน์ เพื่อดูว่าไข่อยู่ข้างไหน จำนวนเท่าไหร่ เมื่อได้จำนวนไข่ที่มากพอ คุณหมอจะเริ่มดูดไข่ของว่าที่คุณแม่ในช่วงประมาณวันที่ 2-3 ของการมีประจำเดือน

    ขั้นตอนการดูดไข่

    เมื่อคุณหมอเห็นว่ามีจำนวนไข่มากพอและขนาดที่ใช้ได้แล้ว คุณหมอก็จะทำการดูดไข่ โดยคุณหมอจะให้ยานอนหลับประมาณ 10-15 นาที คุณหมอจะใช้เครื่องมือสอดเข้าไปในช่องคลอด และใช้เข็มเล็กดูดไข่ทั้งหมดออกมา คุณหมอจะดูดไข่ออกมาก่อนที่ไข่จะตก เพราะถ้าไข่เดินทางมาท่อนำไข่แล้วจะเก็บได้ยาก

    หลังจากดูดออกมาแล้ว คุณหมอจะนำไข่ไปเก็บไว้ในตู้เย็นพิเศษที่มีไนโตรเจนเหลว เพื่อให้ไข่คงสภาพสมบูรณ์และพร้อมนำออกมาใช้งาน เมื่อว่าที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการมีลูกค่ะ

    การนำไข่ออกมาใช้

    • นำไข่มาละลาย
    • ตรวจหาเซลล์ไข่ที่มีชีวิต โดยปกติแล้วจะมีโอกาสรอดถึง 90-95%
    • ใช้วิธี “อิกซี่ (ICSI)” ในการทำปฏิสนธิ โดยนำเซลล์อสุจิใส่เข้าไปในไข่ใบต่อใบ เพราะเซลล์ไข่ที่แช่แข็งไว้บางทีไข่จะหนาและแข็ง จำเป็นต้องใช้วิธีนี้ช่วย
    • เมื่อปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนแล้ว คุณหมอจะใส่กลับเข้าไปในมดลูก เพื่อการตั้งครรภ์

    ข้อดีของการฝากไข่

    • การฝากไข่ทำให้คุณภาพของไข่และตัวอ่อนดีขึ้น
    • เป็นการเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์
    • ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคทางพันธุกรรมที่ผิดปกติของตัวอ่อนได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีเนื้องอก ถุงน้ำในรังไข่ หรือช็อกโกแลตซีสต์ ซึ่งถ้าในอนาคตมีการลุกลามของโรค รังไข่อาจถูกทำลาย ทำให้คุณภาพในการตั้งครรภ์ก็จะด้อยลงไป
    • หากมีกรณีที่ว่าที่คุณแม่เป็นมะเร็งในรังไข่ อาจต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเอารังไข่ออกทั้งสองข้าง หรือต้องทำการรักษาด้วยการฉายแสงหรือทำเคมีบำบัด เหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่ทำให้รังไข่เสียหาย หากร้ายแรงมากอาจทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้

    ข้อเสียของการฝากไข่

    • ค่าใช้จ่ายสูง
    • ว่าที่คุณแม่ต้องเสี่ยงกับผลข้างเคียงจากการใช้ยากระตุ้นไข่ และการดมยา
    • สำหรับไข่ที่แช่แข็งไว้แล้วก็ยังไม่มีการยืนยันที่แน่ชัดว่า ในอนาคตเมื่อนำไข่มาละลายแล้วจะมีประสิทธิและคุณภาพเท่าเดิมหรือไม่
    • ในกรณีที่ไม่ได้แต่งงาน หรือว่าที่คุณพ่อมีปัญหาในเรื่องคุณภาพของอสุจิไม่ดี ก็อาจส่งผลให้คุณภาพของตัวอ่อนด้อยลง และส่งผลให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้

    สำหรับว่าที่คุณแม่คนไหนที่ได้รู้ข้อมูลเบื้องตนอย่างนี้แล้วยังและมีความสนใจที่จะฝากไข่อยู่ สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากที่นี่เลยค่ะ “ฝากไข่ที่ไหนดี ราคา และโรงพยาบาลรับฝากไข่


    จะฝากไข่ที่ไหนดี อยากรู้ราคาคร่าว ๆ ด้วย? บทความที่รวบรวมราคาการฝากไข่ พร้อมแนะนำโรงพยาบาล เบอร์โทรที่ให้บริการรับฝากไข่ คลิกที่นี่

    Featured post

    โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

    1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

    2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

    3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

    4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

    5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

    6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

    7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

    8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

    หมวดหมู่โพสต์

    บทความล่าสุด

    1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

    2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

    3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

    4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

    5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

    รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

    1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

    2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

    3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

    4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

    5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

    6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

    7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

    8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

    9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

    10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

    ท่องเที่ยวกับครอบครัว

    1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

    2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

    3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

    4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

    5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

    6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

    TOP