ลูกกินยาก…คุณแม่ไม่ต้องคิดมากตาม

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ

ยังเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ยังคงตกใจและเครียดกันมากๆ เหมือนกันทุกรายนั่นก็คือพอเราเจอกับปัญหาที่ลูกไม่ยอมทานข้าว ทานยาก และชอบทานแต่ของไม่มีประโยชน์เท่าไรนัก ทำให้ฟันพุบ้าง อ้วนบ้าง หรือสุขภาพไม่แข็งแรงเท่าที่ควรบ้าง ซึ่งก็พลอยทำให้คุณพ่อคุณแม่ปวดหัวไปตามๆ กัน
แต่เอาเป็นว่าทำใจให้สบาย และอย่ารีบไปเครียดกับปัญหาขนาดนั้นเพราะทุกปัญหามีทางออกและการที่คุณพ่อคุณแม่ไม่เครียดจนเกินไปก็จะช่วยส่งอารมณ์ดีๆ ไปถึงลูกๆ เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับเขาได้และยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาอารมณ์ของลูกให้สดใสไปในตัวอีกด้วย

มารู้สาเหตุหลักของการไม่ยอมทานข้าวกันก่อน

สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาลูกไม่ทานข้าว ลูกทานยาก หลักๆ แล้วมาจากตัวของคุณพ่อคุณแม่ ใช่แล้วฟังไม่ผิดแน่ๆ มาจากคุณพ่อและคุณแม่นั่นก็คือการที่คุณพ่อคุณแม่เกิดความวิตกกังวลมากจนเกินไป จนในบางครั้งอาจจะลืมไปว่าเด็กในช่วงอายุประมาณ 1-3 ขวบ จะสามารถทานอาหารได้ในปริมาณเพียง 1 ใน 4 ของผู้ใหญ่เท่านั้นซึ่งด้วยความชินของคุณพ่อคุณแม่อาจมองว่าปริมาณที่ลูกทานเข้าไปนั้นจะน้อยเกินไป จนทำให้ไปค้นหาวิธีการแก้ไขกันจนบางทีเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความกังวลทั้งคุณพ่อคุณแม่และส่งผลไปถึงลูกอีกด้วย

พอเจออาการที่ลูกอิ่มแล้วเขาเกิดหันหน้าหนี ไม่สนใจ หรือแรงกันจนผลักจานอาหารออกทันที สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นจุดที่ทำให้เกิดความกังวลของคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมากแน่นอน แต่ทางเราขอแนะนำว่าใจเย็นๆ และอย่าวิตกกังวลจนเกินไปเพราะนี่คือพฤติกรรมปกติของเด็กๆ นั่นเอง

จุดที่ทำให้เรื่องนี้บานปลายไปใหญ่เพราะในบางครั้งคุณพ่อคุณแม่ได้มีการบังคับให้ลูกทานอาหารต่อจนหมดหรือจนกว่าคุณพ่อคุณแม่จะรู้สึกสบายใจ ซึ่งจุดนี้ทำให้ลูกมีปัญหาอื่นขึ้นมากลายเป็นการต่อต้านการทานข้าวแบบจริงจัง สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องปรับก็คือ ไม่ต้องคาดหวังว่าลูกน้อยจะต้องทานข้าวในปริมาณเท่าเดิมทุกวัน ถ้าวันไหนทานน้อยกว่าปกติจริงๆ ก็ค่อยลองหาอาหารอื่นๆ มาทดแทนให้ได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ จะดีกว่า

มาเริ่มต้นรู้จักวิธีเอาชนะใจลูกทานยากกัน

  1. เพิ่มทางเลือกให้กับลูกน้อยมากขึ้น เช่น ให้เลือกระหว่างซุปผักหรือต้มจืด เป็นต้น และในแต่ละจานควรมีสีสันที่สดใสน่ารัก เพื่อดึงดูดใจลูกน้อยของคุณ
  2. อย่าใจดีให้กินขนม ของหวาน หรือสิ่งอื่นๆ ก่อนเวลาอาหารหลักบ่อยหรือมากเกินไปเพราะจะส่งผลให้พอถึงเวลาอาหารหลักแล้วเขาจะไม่ค่อยหิวทำให้เกิดการปฏิเสธอาหารนั่นเอง
  3. ถ้าเกิดลูกแสดงอาการว่าอิ่ม เราก็หยุด อย่าไปบังคับเพราะจะทำให้เด็กฝังใจกับอาหารชนิดนั้นได้
  4. บรรยากาศกับอารมณ์ของลูกเป็นเรื่องสำคัญ คอยจัดโต๊ะอาหาร และบรรยากาศรอบๆ ให้ดูน่าสนใจ ดูมีลูกเล่นให้เขามีความสุขอยู่เสมอ จะทำให้เพลินกับการทานข้าวมากขึ้นแน่นอน
  5. ผักอาจจะเป็นจุดที่ยากที่เด็กๆ จะยอม เราต้องลองหาวิธีเรียกร้องความสนใจให้ผักดูน่าสนใจ เช่น จัดเป็นการ์ตูน เอาไปทอด จิ้มกับซอส ฯลฯ เพื่อทำให้เด็กคุ้นเคยและค่อยๆ ชินไปกับการทานผักนั่นเอง
  6. เวลาอาหารก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าบังเอิญลูกน้อยยังเล่นเพลินอยู่เราก็ควรบอกให้เขาเตรียมตัวไว้ และพอถึงเวลาก็กำหนดเวลาทานแค่ 30-45 นาที พอเสร็จก็เก็บ หากทานน้อยก็ไม่ต้องกังวลและไม่ต้องให้อะไรเพิ่มเติม เพื่อพอถึงเวลาอาหารหลักในมื้อต่อไปเขาจะหิวและทำให้ทานง่ายขึ้นนั่นเอง
  7. อย่าคิดที่จะนำการทานอาหารในแต่ละมื้อมาเป็นการให้รางวัลหรือลงโทษเพราะมันไม่ได้ช่วยให้ลูกมีความอยากอาหารมากขึ้นแถมยังอาจเป็นปมในใจได้อีกด้วย
  8. นมที่ให้ลูกเป็นประจำในช่วงก่อนอายุ 1 ขวบ เราควรลดปริมาณลงและให้เฉพาะหลังมื้ออาหารเท่านั้นเพื่อเป็นการไม่ให้ลูกอิ่มจนเกินไปนั่นเอง
  9. จัดโต๊ะให้พอดีและเหมาะกับลูก ให้เขาสามารถเอื้อมหยิบ หรือขึ้นลงเก้าอี้ได้อย่างง่ายดาย และหากลูกดูอิ่มแล้วต้องการลงจากเก้าอี้ ไม่ต้องเดินไปป้อน เพื่อให้เขาได้รู้ว่าจะทานข้าวก็ต้องอยู่บนโต๊ะอาหารเท่านั้นเป็นการสร้างการรับรู้ให้กับลูกน้อยได้อีกทางหนึ่ง
  10. ต้องคอยสังเกตลูกถ้ายังดูไม่หิวจริงๆ และเราทราบกันดีว่าได้ให้ขนมหรือสิ่งอื่นๆ ก่อนมื้ออาหารก็ลองเลื่อนเวลาไปประมาณ 1 ชั่วโมง แต่หากเขายังไม่ทานอีกก็ให้งดมื้อนั้นไปเลยรอจนมื้อถัดไปเพื่อเป็นการกระตุ้นการอยากอาหารนั่นเอง

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP