10 เทคนิคที่จะทำให้ลูกหลับง่ายขึ้น แบบไม่กดดันทั้งแม่ทั้งลูก

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ

เด็กแต่ละคนหลับง่าย หลับยากต่างกัน บางคนหัวถึงหมอนปุ๊บก็หลับปั๊บ แต่ในขณะที่บางคนพลิกซ้ายก็แล้วขวาก็แล้วยังไม่หลับเลย แต่คุณพ่อคุณแม่จะเหนื่อยตรงที่ว่าหากตอนเช้าต้องไปทำงานน่ะสิ เหนื่อยก็เหนื่อย เครียดก็เครียด แต่วันนี้โน้ตมีวิธีที่จะช่วยให้ลูกหลับง่ายขึ้นโดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเหนื่อยอีกด้วยค่ะ

10 เทคนิคที่จะทำให้ลูกหลับง่ายขึ้น

สร้างบรรยากาศในห้องนอนให้น่านอน

การสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้ลูกรู้ว่าใกล้เวลาเข้านอนแล้วเป็นสิ่งสำคัญค่ะ โดยเริ่มจากการหรี่ไฟในห้องให้สลัวก่อนนอนสัก 30 นาที ปิดทีวี เลี่ยงการดูหน้าจอต่าง ๆ เช่น มือถือ หรือแทปเล็ต เลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงในช่วงเวลานี้ แล้วเปลี่ยนเป็นการอ่านนิทาน อาบน้ำอุ่น ร้องเพลงกล่อมก่อนนอน ให้คุณแม่ทำซ้ำอย่างนี้ต่อเนื่องกัน 1-1 ½ เดือน แล้วลูกจะเคยชิน จะนอนได้ง่ายขึ้นค่ะ

ให้ลูกเข้านอนเร็วและตั้งเวลาตื่นอย่างเหมาะสม

การฝึกให้ลูกเข้านอนแต่หัวค่ำเป็นเรื่องทีดีมาก และเป็นกุญแจสำคัญ เพราะเด็กแต่คนต่างกันจึงมีความต้องการระยะเวลาในการพักผ่อนที่ต่างกัน อาทิ เด็กที่อยู่ในวัยเรียนจะต้องการเวลานอน 9-11 ชั่วโมงในทุกคืน เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งโจทย์กับตัวเองแล้วล่ะค่ะว่า ลูกต้องเข้านอนกี่โมง เพื่อที่จะได้ตื่นในเวลาที่เหมาะสม และลูกยังได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ

กำหนดเวลาตื่นในทุกวันให้เหมาะสมและชัดเจน

จากข้อ 2 เมื่อคุณพ่อคุณแม่รู้แล้วว่าลูกต้องการเวลานอนกี่ชั่วโมง จากนี้ไปก็พอจะคำนวณได้แล้วนะคะว่าลูกควรตื่นกี่โมง ลูกถึงจะได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ซึ่งการตั้งเวลาปลุกลูกควรทำเป็นกิจวัตรประจำวัน เพื่อให้ลูกได้คุ้นชิน ยกเว้นว่าหากเป็นวันหยุดก็อาจจะอนุโลมให้ตื่นสายได้บ้าง

สร้างกิจวัตรประจำวันก่อนนอนให้เป็นนิสัย

การสร้างกิจวัตรประจำวันก่อนนอนให้ลูกเป็นสิ่งสำคัญอีกเช่นกัน เพราะลูกจะได้รู้ว่าถ้าทำแบบนี้แสดงว่าใกล้จะนอนแล้ว กิจวัตรดังกล่าวก็อาทิเช่น การอาบน้ำ และการเล่านิทานก่อนนอน เป็นต้น ซึ่งข้อนี้สามารถนำไปใช้ได้กับลูกตั้งแต่ยังเป็นทารกเลยนะคะ เพราะเด็กเค้าก็จะเกิดการเรียนรู้ไปด้วยในตัว

ปิดทีวี แทปเล็ต ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

มีหลายงานวิจัยที่พบว่า แสงจากหน้าไม่ว่าจะเป็นจากโทรทัศน์ มือถือ หรือแทปเล็ตนั้น สามารถรบกวนกระบวนการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินได้ ซึ่งเจ้าฮอร์โมนเมลาโทนินนี้ก็คือ สาระสำคัญสำหรับการนอน หากเมลาโทนินอยู่ในระดับสูง ก็จะทำให้ร่างกายเกิดอาการง่วง และพร้อมที่จะเข้านอน ดังนั้น ไม่ควรให้ลูกได้สัมผัสหน้าจอก่อนเข้านอน 2 ชั่วโมง หรืออย่างน้อย 30 นาที

ฝึกให้ลูกนอนเร็วโดยยึดจากเวลาเป็นหลัก ไม่ใช่ฤดู

การฝึกลูกให้นอนเร็วอย่างได้ผลนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรทำเป็นกิจวัตประจำวัน โดยบางฤดูอย่างฤดูหนาว เราจะพบว่าแค่เวลา 18:00 น. ท้องฟ้าก็มืดแล้วราวกับ 19:00 น. ฤดูนี้คุณพ่อคุณแม่จะเอาลูกเข้านอนเร็วเพราะท้องฟ้ามืดแล้ว ส่วนฤดูร้อน 18:00 น. ท้องฟ้ายังสว่างอยู่ กว่าจะเอาลูกเข้านอนก็กินเวลาที่ 21:00 น. แบบนี้นาฬิการ่างกายลูกอาจรวนได้ค่ะ ที่ถูกต้องควรยึดเวลาที่นาฬิกาเป็นหลักค่ะ

ลดความเครียดให้ลูกก่อนนอน

“คอร์ติซอล” คือ ฮอร์โมนที่มีบทบาทในการนอนหลับอีกตัวหนึ่ง หรือถ้าจะเรียกง่าย ๆ ก็คือ “ฮอร์โมนความเครียด” นั่นเอง หากลูกมีระดับฮอร์โมนของตัวนี้สูงก็จะทำให้ลูกหลับยาก ดังนั้นทางที่ดีควรเลี่ยงกิจกรรมหรือการเล่านิทานที่เครียด ๆ ให้ลูกฟังนะคะ

ปกป้องลูกจากความกลัวก่อนเข้านอน

เด็กบางคนกลัวในที่ที่มีแสงสลัว ๆ บางคนกลัวสัตว์ประหลาดจากการ์ตูนที่เขาดูช่วงเช้า ก็อล้วแต่เค้าจะจินตนาการต่อ แต่สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำก่อนเอาลูกเข้านอนคือ กอดลูก หอมลูก และบอกลูกว่าฝันดี หรือบอกลูกว่าในบ้านเราไม่มีสัตว์ประหลาด แต่ถ้ามีเดี๋ยวแม่จัดการให้เอง เป็นต้น เพื่อให้ลูกอุ่นใจ และหลับได้อย่างสนิท

ให้ลูกหลับสนิทในเวลากลางคืน ต้องปล่อยให้ลูกนอนกลางวันบ้าง

อ้าว…ให้ลูกนอนกลางวัน แล้วกลางคืนจะหลับได้อย่างไร? หลับได้ตามปกติเลยค่ะคุณพ่อคุณแม่ กลับกันหากคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าลูกมีอาการง่วงในช่วงกลางวัน แต่ไม่ให้ลูกนอน เพราะกลัวกลางคืนไม่นอน แบบนี้จะทำให้ลูกเครียดกว่าเดิม ฮอร์โมนความเครียดจะทำงาน กลายเป็นว่ากลางคืนยิ่งหลับยากขึ้นไปอีก ดังนั้น หากเห็นว่าลูกมีอาการง่วงในเวลากลางวันควรปล่อยให้ลูกได้นอนบ้างจะดีกว่าค่ะ

หากลูกมีความผิดปกติในการนอนหลับ ควรปรึกษากุมารแพทย์

หากคุณพ่อคุณแม่พยายามทำทุกทาง ทุกอย่างเพื่อฝึกให้ลูกนอนหลับ แต่ก็ยังไม่เป็นผล หรือหลับได้จริง แต่ก็มีอาการเหมือนฝันร้าย หรือหวาดกลัว ควรพาลูกไปปรึกษากุมารแพทย์จะดีที่สุดค่ะ

เพราะการนอนที่ถูกสุขลักษณะจะมีผลต่อโกรธฮอร์โมน (Growth Hormone) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของร่างกายที่จะทำให้ลูกเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรงอีกด้วยนะคะ อย่างไรแล้วคุณพ่อคุณแม่ลองยำไปปรับใช้กันดูนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP