กรมอนามัยห่วงเด็กเป็นโรคอ้วนช่วงปิดเทอม

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 3-5 ขวบ

ในทุก ๆ ปี จะมีเด็กที่เป็นโรคอ้วนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปีจากสถิติทั่วโลก โดยเพิ่มในอัตรา 2-3 เท่าตัวนับจากทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา ซึ่งโรคอ้วนนี้เมื่อเป็นแล้วจะส่งผลมากมายต่อตัวเด็กเอง ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงที่เด็ก ๆ ปิดเทอม ผนวกกับทางโรงเรียนกำหนดให้หยุดการเรียนการสอนซัมเมอร์ และกิจกรรมทุก ๆ อย่างที่โรงเรียน เพื่อเลี่ยงโควิด-19 จึงทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนต้องเตรียมอาหารการกินให้กับลูก เรียกได้ว่าตู้เย็นทำงานหนักกันเลยทีเดียว ด้วยเหตุจึงทำให้ อธิบดีกรมอนามัย แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร ได้ออกมาแสดงความเป็นห่วงเด็ก ๆ ในเรื่องนี้ รวมทั้งแนะวิธีที่จะทำให้ลูก ๆ ห่างไกลโรคอ้วนในเด็กอีกด้วย

โรคอ้วนในเด็กเกิดจากอะไร

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอ้วนในเด็กมีด้วยกันหลายสาเหตุ แต่โดยมากมักมาจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เด็กมักจะกินมากกว่าที่ใช้ไป และที่สำคัญ เด็กมักจะชอบอะไรก็จะกินอยู่แบบนั้นในปริมาณที่มากเกินไป

  • ชอบกินแป้ง น้ำตาล และไขมัน
  • ชอบอาหารขยะ หรือ Junk Food
  • ใช้วิถีชีวิตแบบนั่ง ๆ นอน ๆ
  • กินแล้วดูโทรทัศน์ หรือเล่นเกมคอมพิวเตอร์มากกว่า 2 ชั่วโมง/วัน
  • มีการออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวน้อย

จากสาเหตุข้างต้น เมื่อเด็กกินอาหาร หรือขนมเข้าไป แล้วไม่ได้นำออกไปใช้ก็จะทำให้เกิดการสะสมของไขมัน ทำให้เป็นโรคอ้วนได้ในที่สุด

ปัญหาอันเกิดจากโรคอ้วนในเด็ก

เด็ก ๆ เมื่อเป็นโรคอ้วนแล้ว สิ่งที่ตามมาคือ เด็กจะมีปัญหาทั้งทางร่างกาย และจิตใจ

  • มีไขมันในเลือดสูง เพิ่มโอกาสการเป็นโรคหัวใจเมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่
  • เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • เบาหวานอันเกิดจากโรคอ้วน
  • มีอาการหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)
  • ภาวะไขมันพอกตับ
  • ร่างกายขาดวิตามินดี
  • ลูกจะขาดความมั่นใจในตัวเอง ถูกเพื่อนล้อ เคลื่อนไหวเชื่องช้ากว่าเพื่อน อาจนำไปสู่อาการซึมเศร้าได้
  • ลูกไม่อยากไปโรงเรียน
  • ถ้าในเด็กผู้หญิงจะเสี่ยงต่อภาวะ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) หรือที่เรียกกันว่าภาวะที่รังไข่สร้างฮอร์โมนเพศชายออกมามากเกินไป ทำให้ไข่ไม่ตก โดยสังเกตได้จากเด็กที่มีประจำเดือนมาไม่ปกติ ขนดก และสิวเยอะ

พ่อแม่ควรดูแลลูกอย่างไรให้ห่างไกลโรคอ้วน

  • ควรจัดอาหารที่มีคุณค่า และถูกหลักโภชนาการ
  • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลากหลาย
  • ควบคุมปริมาณอาหารในแต่ละมื้อให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย
  • เน้นทานผัก ผลไม้ที่มีกากใยอาหาร
  • นมสดรสจืด และไข่ เพื่อเสริมสร้างในเรื่องการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย และสมอง
  • เลี่ยงอาหารไขมันสูง และของทอด
  • ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง ทุกวัน กิจกรรมที่เลือกเล่นกับลูก อาทิ การวิ่ง กระโดดเชือก และกระโดดโลดเต้น เป็นต้น เพื่อสร้างความแข็งแรง และอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ คุณพ่อคุณแม่ควรร่วมออกกำลังกายไปพร้อมลูกด้วยนะคะ จะทำให้ลูกรู้สึกมีเพื่อน และสนุกมากขึ้น
  • ควรให้ลูกหลับพักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 9-11 ชั่วโมง
  • ทำความตกลงให้เข้าใจ และตรงกันกับคนในครอบครัว เพื่อขอความร่วมมือไม่ให้ใครคนใดคนหนึ่งตามใจเด็ก เมื่อเด็กอ้อนขอขนม
  • จำกัดเวลาที่เล่นอยู่กับหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นทีวี แทปเล็ต หรือมือถือ เพราะจะทำให้เด็กไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งเด็กอายุ 2-5 ขวบ ไม่ควรอยู่กับหน้าจอเกิน 1 ชั่วโมง/วัน
  • ฝึกลูกเข้านอนให้เป็นเวลาเดียวกันในทุกวัน เพราะการนอนดึกก็เป็นเหตุให้เกิดโรคอ้วนได้
  • เปลี่ยนเมนูกลางโต๊ะอาหารจากเดิมที่เป็นขนมหวาน ขนมถุงกรุบกรอบเป็นผลไม้แทน และเมื่อถึงเวลาของว่างก็ให้ลูกกินผลไม้แทน

ก่อนที่ลูกจะอ้วนก็ต้องใช้เวลาในการสะสมไขมันฉันใด เวลาที่คุณพ่อคุณแม่จะช่วยลูกลดน้ำหนักก็ใช้เวลาฉันนั้น ลองนึกภาพตามนะคะ หากลูกอ้วนแล้วต้องโดนเพื่อนที่โรงเรียนล้อ จนส่งผลต่อจิตใจลูก คนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างเราจะทนไหวหรอ เพราะฉะนั้นก่อนที่ถึงวันนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกได้นะคะ ก่อนที่โรคอ้วนจะเข้ามากระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันของลูก ๆ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

อ้างอิง
กรมอนามัย
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP