พังผืดใต้ลิ้น (Ankyloglossia หรือ Tongue-tie) สิ่งเล็ก ๆ แต่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับลูก

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 0-1 ขวบ

ต้องบอกว่ายังมีอีกหลายครอบครัวที่ยังไม่รู้จักกับเรื่องของ “พังผืดใต้ลิ้น” ซึ่งความจริงแล้วสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน ซึ่งยังถือเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ยังมีคุณพ่อคุณแม่เป็นจำนวนมากที่รู้ว่าลูกเป็นแล้วแต่ไม่รีบทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงส่งผลให้มีปัญหาตามมาในหลาย ๆ ด้าน ว่าแต่โรคนี้จะต้องสังเกตอย่างไร? มีอาการอย่างไร? รักษาอย่างไร? รวมถึงถ้าไม่รักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะมีผลอย่างไร? ทุกคำถามมีคำตอบรออยู่แล้วค่ะ ไปติดตามกันเลย

ภาวะพังผืดใต้ลิ้น หรือภาวะลิ้นติดคืออะไร?

ภาวะพังผืดใต้ลิ้น (Ankyloglossia หรือ Tongue-tie) คือ เยื่อบางที่ติดยึดอยู่บริเวณด้านล่างระหว่างโคนลิ้นและพื้นด้านล่างของช่องปาก ซึ่งใกล้ ๆ กับบริเวณนี้จะมีส่วนของกล้ามเนื้อ เส้นเลือด และระบบน้ำเหลืองที่ส่งไปเลี้ยงที่ลิ้น ถ้าเยื่อดังกล่าวมีความหนาหรือสั้นเกินไป จะส่งผลให้การเคลื่อนไหวของลิ้นไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะกับทารกแรกเกิด ทำให้การดูดนมแม่นั้นยากขึ้น เนื่องจากการดูดนมแม่นั้นต้องใช้ลิ้นแลบออกมาพร้อมกับรีดน้ำนมจากจากลานนมออกมา
ซึ่งถ้าลูกดูดนมแม่ได้ลำบาก ก็จะส่งผลให้น้ำหนักตัวขึ้นน้อย และไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ลูกก็จะดูดนมแม่ไปหลับไปเพราะเหนื่อยที่ต้องใช้แรงเยอะในการดูด (เมื่อยลิ้น) หรือไม่ลูกอาจขอดูดนมตลอดเวลา เพราะลูกได้รับน้ำนมแม่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่วนคุณแม่เองก็ต้องเผชิญกับปัญหาเจ็บหัวนม เพราะหัวนมแตก (เพราะลูกงับไปไม่ถึงลานนมของแม่)

วิธีสังเกตว่าลูกมีภาวะพังผืดใต้ลิ้นหรือไม่?

มีวิธีง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ

  1. ลูกจะแลบลิ้นได้แต่จะไม่พ้นริมฝีปากหรือเหงือกบน
  2. ลูกไม่สามารถกระดกปลายลิ้น เพื่อขึ้นไปสัมผัสกับเพดานปากด้านบนได้
  3. ไม่สามารถบังคับลิ้นให้ไปด้านข้างได้
  4. ขณะที่ลูกแลบลิ้น ปลายลิ้นจะไม่มนเหมือนคนทั่วไป แต่จะแบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมแทน
  5. ปลายลิ้นจะเป็นร่องหยักเข้ามา (เพราะการดึงรั้งของเยื่อใต้ลิ้น) คล้ายกับรูปหัวใจ

อาการที่บ่งบอกว่าลูกควรได้รับการรักษา

  1. คุณแม่มีอาการเจ็บหัวนม หัวนมแตก หรือมีรอบฟกช้ำ
  2. หัวนมเบี้ยว หรือผิดรูปไปหลังจากที่ลูกดูดนมเสร็จเรียบร้อย
  3. พบรอยกดหรือรอยเป็นริ้ว ๆ บนหัวนมหลังจากที่ลูกดูดนมแล้ว
  4. ลูกดูดนมไม่ได้ หรือดูดแล้วแต่ก็หลุด หลุดบ่อย ถ้าเป็นอย่างนี้ลูกจะดูดได้แต่ลม อาจทำให้ลูกท้องอืดได้
  5. จะมีเสียงคล้ายกระเดาะลิ้นจากปากลูกขณะที่ดูดนมแม่ (เพราะหลุดบ่อย)
  6. น้ำหนักตัวลูกไม่ขึ้น ขึ้นช้า และไม่เป็นไปตามเกณฑ์ปกติที่ควรจะเป็น

การรักษาภาวะพังผืดใต้ลิ้น หรือภาวะลิ้นติด

อดีต

ใช้การผ่าตัดที่เด็กทุกคนต้องดมยาสลบ แต่วิธีการนี้สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก แม้ทางคณะแพทย์เองมีความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยต่อเด็กแล้วก็ตาม แต่ถึงอย่างนั้นก็อาจจะยังมีความเสี่ยงในเรื่องของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบได้ ซึ่งหลังผ่าตัดนั้น เด็กจำเป็นที่จะต้องนอนพักเพื่อดูอาการ และติดตามผลการผ่าตัดที่โรงพยาบาลเป็นเวลาอย่างน้อย 2 – 3 วัน

ปัจจุบัน

คณะแพทย์ได้ประยุกต์วิธีการรักษาใหม่โดยใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการรักษาด้วยยาสลบ และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดก็คือ หลังผ่าตัด ลูกน้อยสามารถดูดนมแม่ได้ทันที และไม่ต้องกังวลใจเรื่องแผลผ่าตัด แผลนี้จะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์

ถ้าไม่เข้ารับการรักษาจะเป็นอย่างไร?

  1. ภาวะพังผืดใต้ลิ้นมีแนวโน้มที่จะยืดออกเองได้เมื่อลูกโตขึ้น หากลูกไม่มีปัญหาในเรื่องการดูดนมแม่ แพทย์จะทำการนัดมาตรวจเป็นระยะ ๆ
  2. น้ำหนักลูกจะขึ้นน้อย ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงเท่าที่ควร
  3. เมื่อโตขึ้นจะมีปัญหาในเรื่องการออกเสียงควบกล้ำ เพราะมีพังผืดยึดมาถึงที่ปลายลิ้น ในบางรายอาจพูดไม่ได้ หรือพูดช้า ทำให้เกิดปมด้อยในเด็กได้

ภาวะพังผืดใต้ลิ้นเป็นมักถ่ายทอดมาจากพันธุกรรม ไม่สามารถป้องกันได้ แต่หากเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะทำให้ลูกเติบโตเป็นเด็กที่แข็งแรงทั้งร่างกาย และจิตใจ พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา เพราะไม่มีเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บเข้ามากวนใจ

อ้างอิง
ผศ.นพ.มงคล เลาหเพ็ญแสง โรงพยาบาลศิริราช
Mamaexpert.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP