วิตามินคนท้อง ที่บำรุงทั้งคุณแม่และลูกน้อย

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์

ร่างกายของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ต้องการสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย “วิตามิน” ก็เป็นอีกหนึ่งสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เพื่อการบำรุงร่างกายของทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ ที่สำคัญ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกน้อยได้รับสารอาหารที่เพียงพอ วิตามินที่คนท้องควรได้รับมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันค่ะ

วิตามินคนท้อง ที่แม่ควรกิน

แคลเซียม

เป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก และฟันให้แข็งแรง การที่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย แคลเซียมก็จะไปช่วยเสริมสร้างโครงสร้างร่างกาย กระดูก รวมถึงฟันของลูกน้อยในครรภ์ กลับกันถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก็ไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อลูกน้อยในครรภ์ เนื่องจากลูกน้อยจะดึงเอาแคลเซียมของคุณแม่ไปใช้ ซึ่งในระยะยาวหากคุณแม่ยังถูกดึงแคลเซียมในร่างกายไปใช้ ก็จะส่งผลให้กระดูกเปราะบาง ผุง่ายกว่าปกติ รวมไปถึงฟันก็จะผุง่ายเช่นกันค่ะ และเมื่อคุณแม่อายุมากขึ้น ก็จะมีอาการตะคริวเกิดขึ้นได้บ่อย เนื่องจากการขาดแคลเซียมนั่นเองค่ะ

ปริมาณ แคลเซียม ที่แม่ท้องควรได้รับ

โดยปกติคนทั่วไป ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมครั้งละ 500 – 600 มิลลิกรัม แต่ในระหว่างการตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องการแคลเซียมมากถึง 1,000 – 1,200 มิลลิกรัม เนื่องจากลูกน้อยดึงแคลเซียมของคุณแม่ไปใช้ โดยเฉพาะในช่วงในไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์

กรดโฟลิก

เป็นวิตามินที่สำคัญมากที่สุดสำหรับช่วงการตั้งครรภ์ เพราะกรดโฟลิกจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะหลอดประสาทไม่ปิดในทารกในครรภ์ หากลูกน้อยในครรภ์ได้รับสารอาหารนี้ไม่เพียงพอจะส่งผลให้พัฒนาในด้านต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ไม่สมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง พัฒนาการของสมอง ตลอดจนทารกจะมีความพิการ หรืออาจมีชีวิตที่ไม่ยืนยาวเท่าที่ควร

ปริมาณ กรดโฟลิก ที่แม่ท้องควรได้รับ

ปริมาณของกรดโฟลิกที่คุณแม่ท้องควรได้รับคือ 400 ไมโครกรัม ต่อวัน ไปตลอดการตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก และ 600 ไมโครกรัม ต่อวัน ในช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 4 – 9 รวมไปถึงระยะให้นมคุณแม่หลังคลอดก็ควรได้รับกรดโฟลิกอยู่ที่ 500 ไมโครกรัม ต่อวันค่ะ

แม่โน้ต

ปกติแล้ว หลังจากที่คุณแม่ฝากครรภ์กับคุณหมอเรียบร้อย คุณหมอจะมีการให้วิตามินบำรุงมากินค่ะ ได้แก่ แคลเซียม กรดโฟลิก และธาตุเหล็กค่ะ

ธาตุเหล็ก

โรคที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก ก็คือ โรคโลหิตจาง ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยใครรภ์ ได้แก่ มีความเสี่ยงสูงในการแท้ง เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ลูกน้อยในครรภ์มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ลูกน้อยมีภาวะโลหิตจาง ถ้าหากโลหิตจางมาก ๆ อาจส่งผลให้เกิดน้ำคร่ำน้อย ทารกอาจเสียชีวิตในครรภ์ได้ ที่สำคัญ ระหว่างการคลอด คุณแม่อาจเสี่ยงตกเลือด เสียชีวิตได้

ปริมาณ ธาตุเหล็ก ที่แม่ท้องควรได้รับ

ธาตุเหล็กเป็นสารอาหารสำคัญที่แม่ท้องต้องการตลอดจนช่วงการตั้งครรภ์ในจำนวน 1,000 มิลลิกรัม ต่อวัน โดยจะนำไปสร้างส่วนที่เป็นรกและทารก ไปเพิ่มโลหิตของคุณแม่ และเหลือบางส่วนจะถูกขับออกทางอุจจาระ ปัสสาวะ และเหงื่อ

ไอโอดีน

ไอโอดีนมีความสำคัญต่อระบบประสาทของลูกน้อยในครรภ์ หากคุณแม่ได้รับสารอาหารนี้ไม่เพียงพอ อาจส่งผลทำให้สมองของลูกน้อยในครรภ์พิการได้ ร่างกายไม่สามารถสร้างไอโอดีนได้ ดังนั้น คุณแม่ควรกินอาหารที่อุดมไปด้วยไอโอดีน

ปริมาณ ไอโอดีน ที่แม่ท้องควรได้รับ

คุณแม่ท้องควรได้รับไอโอดีน 170 – 200 มิลลิกรัม ต่อวัน

วิตามินซี

เป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น และยังช่วยให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรง

ปริมาณ วิตามินซี ที่แม่ท้องควรได้รับ

80 – 85 มิลลิกรัมต่อวัน หากคุณแม่ได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ป่วยง่าย และมีเลือดออกตามไรฟัน

แต่ก็อย่างที่คุณแม่รู้ ๆ กันดีค่ะว่า การกินอะไรที่ซ้ำ ๆ กันเป็นระยะเวลานาน หรือกินในปริมาณที่มากเกินไป จากผลดีอาจกลายเป็นผลเสียได้ แล้ววิตามินซีล่ะจะส่งผลเสียไหม? อย่างไร? (คลิกที่นี่ >> “คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม จะอันตรายต่อลูกน้อยหรือเปล่า


คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม? ควรกินในปริมาณที่เท่าไหร่ถึงจะปลอดภัย? ไปไขข้อข้องใจกันได้ในบทความนี้เลยค่ะ คลิกที่นี่

วิตามินอี

ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง และป้องกันภาวะแท้ง และครรภ์เป็นพิษได้

ปริมาณ วิตามินอี ที่แม่ควรได้รับ

ประมาณ 10 -15 มิลลิกรัม ต่อวัน

วิตามินดี

ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกของลูกน้อยในครรภ์ และช่วยให้กระดูกของลูกน้อยมีความสมบูรณ์

ปริมาณ วิตามินดี ที่แม่ท้องควรได้รับ

ประมาณ 400 หน่วยสากด (IU) หากร่างกายได้รับไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้กระดูกผิดรูปในทารกแรกเกิด

สังกะสี

ช่วยให้ระบบการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นอย่างปกติสมบูรณ์

ปริมาณ สังกะสี ที่แม่ท้องควรได้รับ

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับสังกะสีที่ 20 -25 มิลลิกรัม ต่อวัน หากร่างกายขาดสารอาหารนี้ จะส่งผลให้มีการคลอดก่อนกำหนด ทารกพิการ คุณแม่ตกเลือดหลังคลอดทั้งในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์และที่อยู่ในระยะให้นมบุตร

โอเมก้า 3

มีส่วนช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนของคุณแม่ตั้งครรภ์ ทำให้มดลูกแข็งแรง ช่วยในการไหลเวียนโลหิต ลดความเสี่ยงภาวการณ์คลอดก่อนกำหนด

ปริมาณ โอเมก้า 3 ที่แม่ท้องควรได้รับ

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรกินอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 เป็นประจำ แต่การกินทุกวันก็อาจเกิดการสะสมของสารตะกั่วในร่างกายได้ ดังนั้นอาจเลือกเป็นการกินวิตามินที่มีโอเมก้า 3 แทน

วิตามินบีรวม (บี1 บี2 บี3 บี6 บี12)

วิตามินเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อพัฒนาการด้านระบบประสาทและสมองของลูกน้อยในครรภ์ รวมถึงการช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดงให้แข็งแรง

ปริมาณ วิตามินบีรวม (บี1 บี2 บี3 บี6 บี12) ที่แม่ท้องควรได้รับ

  • วิตามินบี 1 (Thiamine) 3 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2 (Riboflavin) 2 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 3 (Niacin) 20 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 12 ปริมาณ 6 ไมโครกรัม

วิตามินทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่เป็นวิตามินสำคัญที่ร่างกายคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นกินให้หลากหลายเข้าไว้ค่ะ เพื่อร่างกายจะได้รับสารอาหารที่หลากหลายและครบถ้วนนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP