เล่นกับลูกวัย 3 เดือนอย่างไรให้เสริมพัฒนาการ?

แม่แชร์ประสบการณ์

การพัฒนาสมองให้ลูกน้อยวัย 3 เดือน มีวิธีเล่นแบบง่ายๆ โดยเน้นความสนุกและปลอดภัย ทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกและพ่อแม่ ซึ่งหลายๆ ครอบครัวก็อาจจะเล่นกันเป็นประจำอยู่แล้ว
แต่มีหลักการง่ายๆ ที่จะเสริมสร้างพัฒนาการให้ครบทุกด้าน นั่นก็คือการกระตุ้นร่างกายผ่านสัมผัสทั้งห้า เช่น การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การได้กลิ่น ส่วนการรับรสนั้นในวัย 3 เดือนจะยังไม่แนะนำเพราะระบบย่อยอาหารของลูกน้อยยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ รวมไปถึงการฝึกพัฒนากล้ามเนื้อมัดต่างๆ ค่ะ

ประสบการณ์จากแม่พลอย

คุณแม่เภสัชกรลูกหนึ่งที่เคยผ่านภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมาได้โดยไม่ต้องใช้ยา ทั้งยังเคยเป็นพี่เลี้ยงเด็กเล็กมาก่อน ดังนั้นการมีลูกคนแรกจึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับแม่คนนี้เท่าไหร่ โชคดีที่ได้เป็นคุณแม่ฟูลไทม์ไปพร้อมๆ กับการทำงานที่บ้านได้ ก็จะพยายามใช้ทั้งความรู้และประสบการณ์นำมาถ่ายทอด ไม่ว่าจะทฤษฎีทางการแพทย์หรือความเชื่อโบราณทุกอย่างล้วนมีเหตุผล แต่แม่พลอยคิดว่าการเลี้ยงลูกทางสายการนั้นย่อมดีที่สุดค่ะ

พัฒนาการด้านการได้ยิน

บ้านนี้ชอบเปิดเพลงให้ลูกฟังค่ะ โดยเน้นเป็นเพลงโมสาร์ทสบายๆ ก็เปิดผ่านยูทูปนี่ละค่ะ แต่เลือกคลิปที่เป็นภาพนิ่งนะคะ จะได้ไม่รบกวนสายตาลูกน้อยรวมถึงกระตุ้นสมองมากเกินไป บางทีก็จะใช้โมบายหมุนๆ ที่มีเสียงดนตรีไปด้วย แต่สิ่งที่ลูกชอบที่สุดก็คือเสียงของพ่อกับแม่นี่ล่ะค่ะ ชอบให้ทำเสียงเล็ก เสียงน้อยคุยด้วย รวมไปถึงการเล่านิทานคำกลอนคล้องจอง อันนี้ช่วยให้นิ่งได้มากเลยค่ะ ตั้งใจฟังสุดๆ ที่บ้านมีอยู่ 5 เล่ม อ่านวนไปค่ะ ยังไม่ค่อยรู้เรื่องแต่ก็เริ่มจดจำน้ำเสียงได้แล้ว หรือเบื่อๆ ก็ร้องเพลงแบบสมัยเด็กๆ เล่นกันก็สนุกดีนะคะ ลูกให้ความร่วมมือมากๆ เลย

พัฒนาการด้านการสัมผัส

ตอนแรกแม่ก็พยายามหาของเล่นเด็กๆ ต่างๆ ให้ โดยจะต้องเป็นของที่ไม่อันตราย ไม่มีเหลี่ยมคม เช่น ตุ๊กตาบีบมือมีเสียงปี๊บๆ จะช่วยกระตุ้นทั้งสัมผัสและการได้ยิน ถ้าให้ลูกเล่นเองก็เล่นได้ไม่นานหรอกค่ะ เพราะกล้ามเนื้อมัดเล็กยังไม่แข็งแรงพอที่จะจับได้นาน เพราะฉะนั้นของเล่นทุกอย่าง พ่อแม่นี่แหละค่ะที่จะต้องเป็นคนเล่นให้ดู ไม่ว่าจะกี่ครั้งลูกก็ไม่เบื่อ แต่พอเริ่มโตมาหน่อยนึงลูกจะเริ่มไขว่คว้าเองได้ อะไรที่อยู่ตรงหน้าจะอย่างคือของเล่นเขาหมดแหละ ยิ่งถ้าเป็นถุงขนมที่พอจับแล้วดังกรอบแกรบๆ จะทำให้เขาอยู่กะสิ่งนั้นได้นานกว่าเล่นกับพ่อแม่ก็ถือว่าช่วยเพิ่มสมาธิได้ค่ะ

พัฒนาการด้านการมองเห็น

สำหรับเรื่องสายตาลูกนั้น ถ้าฝึกได้ก็ถือเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กไปด้วย ในวัย 3 เดือนลูกเริ่มมองระยะไกลหน่อยได้แล้วค่ะ บ้านนี้เล่นจ๊ะเอ๋กับลูกตั้งแต่ตอนนี้เลย ทำให้ลูกทั้งอารมณ์ดี และทำให้รู้ถึงการหายไปแว้บเดียวของพ่อแม่ว่าเดี๋ยวก็กลับมา เลยจะไม่ค่อยร้องตาม หรือเวลาทิ้งให้อยู่คนเดียวสักพัก ส่วนโมบายนี่ก็ช่วยได้เยอะเลยค่ะ ทำให้ลูกหัดมองโฟกัสที่สิ่งของได้ สักพักก็ยื่นมือไปจับโมบายที่กำลังหมุนไว้เองได้ เรื่องหน้าจอต่างๆ ต้องระวังค่ะ ที่บ้านมีแต่คนเปิดทั้งหน้าจอโทรทัศน์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ ถ้าเห็นรูปมองหาแสงหน้าจอพวกนี้ปุ๊บ บ้านเราจะรีบปิดทันทีค่ะ มันก็จริงที่สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กๆ นิ่งขึ้น แต่ๆๆ เสี่ยงต่อการสมาธิสั้นซึ่งแม่ก็ไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น การหาของเล่นที่เป็นแบบมีแสงไฟวิบวับไม่แสบตา เต้นได้ ร้องเพลงได้ ก็ช่วยทุ่นแรงพ่อแม่ในช่วงที่ต้องทำอย่างอื่นได้บ้างค่ะ บางทีเล่นด้วยทั้งวันก็เหนื่อย ก็หมดมุขอะเนอะ

พัฒนาการด้านร่างกาย (กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ)

การพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น แขน ขา ตอนช่วงแรกเกิดบ้านนี้ชอบอุ้มลูกพาดบ่าค่ะ พออุ้มแล้วจะเอามือนึงรองที่ส้นเท้าน้องไว้ น้องก็จะดันขาออกเองอัตโนมัติ ราวกับยืนได้บนฝ่ามือ อย่างเวลาอาบน้ำในอ่างทุกวันนี้เริ่มนั่งได้แต่ยังไม่มั่นคง น้องก็จะพยายามเหยียดขาเองในน้ำ แม่บ้านนี้จะไม่ฝืนลูกค่ะ ก็ตีน้ำให้ดูเลย ลูกก็จะตีขาเองในน้ำได้ หรือบางครั้งก็ใช้ถังน้ำทรงสูงรองน้ำไว้แล้วจับลูกลอยคอในน้ำก็ช่วยเพิ่มความสนุกในการอาบน้ำไปอีก ส่วนช่วงแขนแม่ก็จะเอานิ้วชี้สองข้างของแม่ให้ลูกจับแล้วยกขึ้นมาเหมือนท่าซิทอัพ ก็ช่วยให้ลูกได้ออกแรงแขน ทั้งคอกับหลังก็จะแข็งไว แต่ท่านี้ต้องระวังช่วงข้อต่อหัวไหล่ให้ดีค่ะ ช่วงหัวลูกยังหนักอยู่อาจจะต้องประคองไว้หน่อย

ของเล่นไม่ว่าจะซื้อมาแพงแค่ไหน สวยแค่ไหน ดีแค่ไหน ก็ไม่สู้การเล่นกับพ่อแม่ค่ะ ถ้าอยากให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีและไว พ่อแม่ต้องเสียสละเวลาพอสมควร มันไม่ใช่แค่การเล่นสนุกไปวันๆ เท่านั้น แต่มันคือการเรียนการสอน พ่อแม่ที่ไม่เคยเป็นครูก็จะได้เรียนรู้ว่าการสอนคนๆ นึงให้เริ่มช่วยเหลือตัวเองเป็นอย่างไร ส่วนลูกก็จะได้รับทั้งความสุขความอบอุ่นและเติบโตสมวัยได้ค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP