ยาคุมกำเนิด กับ ความเชื่อผิด ๆ

ไลฟ์สไตล์

หลายครอบครัวที่แต่งงานแล้วก็อยากที่จะมีเบบี๋แต่ขณะที่อีกหลายครอบครัวยังไม่พร้อม ยาคุมกำเนิดจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คู่สามีภรรยาเลือกใช้ แต่…ก็ยังมิวายที่หลายครอบครัวจะยั้ง ๆ ไว้ก่อนไม่กล้าทานเพราะได้ยินมาว่ายาคุมกำเนิดนั้นมีผลข้างเคียงแบบนั้นแบบนี้ ซึ่งหลาย ๆ ข้อเป็นความเชื่อที่ผิด มาค่ะ วันนี้เรามาปลดล็อกความเชื่อที่ผิด ๆ นี้กัน

สารบัญ

ยาคุมกำเนิด กับ ความเชื่อผิด ๆ

ยาคุมกำเนิด กับ ความเชื่อผิด ๆ

พ.ญ. พิณนภางค์ ศรีพหล สูตินรีเวช โรงพยาบาลสมิติเวช ได้ออกมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการทานยาคุมกำเนิดไว้ ดังนี้

ความเชื่อ: กินยาคุมกำเนิดนาน เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม

ความจริง: ยาคุมกำเนิดโดยทั่วไปที่เราพบกันได้ตามท้องตลาดจะมีฮอร์โมนสังเคราะห์อยู่ 2 ชนิด ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสติน ซึ่งปกติแล้วความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งของผู้หญิงจะขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายถ้ามีสูงเกินไปและเป็นระยะเวลานาน

ทั้งนี้ ฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดไม่ว่าจะชนิดกินหรือชนิดฉีดจะอยู่ในร่างกายของเราได้ไม่นานนัก ถ้าจะบอกว่ามีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งนั้นมีน้อยมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากหยุดยาคุมมานานกว่า 10 ปี ยิ่งไม่มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้

ความเชื่อ: กินยาคุมกำเนิด แต่ดันท้อง ลูกจะพิการแต่กำเนิด

ความจริง: ยาคุมกำเนิดไม่มีผลต่อความพิการของทารกแต่กำเนิด ถึงแม้ว่าจะลืมทาน แล้วเกิดมีการตั้งครรภ์ขึ้นมาแบบไม่ได้ตั้งใจ แล้วยังกลับไปทานยาคุมกำเนิดต่อแบบไม่รู้ตัวก็ตาม

ความเชื่อ: ถ้าอยากท้องควรหยุดกินยาคุมสักระยะ

ความจริง: ปกติแล้วฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดจะอยู่ในร่างกายของเราได้ไม่นานอยู่แล้ว ซึ่งบางกรณีเราอาจพบเจอได้ว่า แม้ลืมกินยาคุมไปก็ยังสามารถตั้งครรภ์ได้

ความเชื่อ: ถ้ากินยาคุมมานาน จะมีลูกยาก

ความจริง: การมีลูกยากไม่ได้มีสาเหตุมาจากการกินยาคุมกำเนิดค่ะ แต่มาจากเรื่องของฮอร์โมนที่ไม่สมดุล ปกติแล้วการตกไข่จะเกิดขึ้นหลังจากหยุดกินยาคุมไปแล้ว 2 สัปดาห์ โดยประมาณ และประจำเดือนจะมาหลังจากหยุดกินยาคุมไปแล้ว 4-6 สัปดาห์โดยประมาณ

ความเชื่อ: ยาคุมกำเนิด ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100%

ความจริง: ยาคุมกำเนิดหากมีการใช้อย่างถูกต้องจะสามารถป้องกันได้ประมาณ 99.7% แปลว่ามีโอกาสเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ได้ประมาณ 0.03%

ความเชื่อ: หากกินยาคุมแล้วมีอาการคลื่นไส้ แสดงว่าแพ้ยา

ความจริง: บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ วิงเวียนคล้ายอาการของคนที่แพ้ท้อง โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มกินแผงแรก อาการนี้ไม่รุนแรงค่ะ เพียงแต่ทานให้ครบแผง ตรงเวลาจนหมดแผง พอถึงแผงถัดไปก็ร่างกายก็จะเริ่มปรับตัวได้ อาการดังกล่าวก็จะหายไป ซึ่งอาการคลื่นไส้ดังกล่าวไม่ใช่อาการแพ้ยา แต่เป็นผลข้างเคียงของการทานยาเท่านั้น

ความเชื่อ: ยาคุมทำให้อ้วนขึ้น

ความจริง: ข้อนี้ขึ้นอยู่กับชนิดยาและแต่ละบุคคล ซึ่งถ้าเป็นคนที่อ้วนง่ายอยู่แล้ว เมื่อทานยาคุมเข้าไปก็จะเห็นผลได้เร็ว แต่ถ้าเป็นคนที่มีรูปร่างผอม ทานยาคุมก็ไม่ได้ทำให้อ้วนขึ้น

ความเชื่อ: กินยาคุมย้อนศร หรือผิดวัน ตั้งครรภ์แน่

ความจริง: สำหรับยาคุมกำเนิดชนิด 21 เม็ด เราสามารถสลับทานเม็ดไหนก็ได้ เพียงแต่ที่ควรทานเรียงกันก็เพราะว่าเป็นการป้องกันการลืมทาน ยกตัวอย่างเช่น ต้องทานเม็ดที่ 5 แต่กลับไปกินเม็ดที่ 15 ก็ยังได้ค่ะ แล้วพอวันที่ 6 ก็ทานของวันที่ 6 ตามปกติไปจนชนกับวันที่ 15 เพราะยาคุมชนิดนี้จะมีปริมาณยาที่เท่ากันทุกเม็ด

ในขณะที่มียาคุมกำเนิดบางชนิดที่ตัวยาแต่ละตัวไม่เท่ากัน หากมีการกินสลับวัน ต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดวิธีอื่น ๆ ร่วมด้วย

ความเชื่อ: ทานยาคุมทำให้น้ำนมหด

ความจริง: หากคุณแม่ต้องการคุมกำเนิดหลังการคลอด และเริ่มกลับมาทานยาคุมกำเนิดหลังคลอดทันทีอาจมีผลต่อน้ำนมได้ แต่หากคุณแม่ต้องการทานยาคุมกำเนิดจริง ๆ ควรรอประมาณเดือนครึ่ง ซึ่งแพทย์จะจ่ายยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนโประเจสเตอโรนอย่างเดียว ซึ่งจะไม่มีผลต่อปริมาณน้ำนม ที่สำคัญ การทานยาคุมกำเนิดในระยะให้นมก็ไม่มีผลต่อลูกน้อยแต่อย่างใด

ยังมีอีกหลายครอบครัวที่เมื่อแต่งงานแล้ว ยังไม่พร้อมจะมีลูกก็อาศัยการคุมกำเนิดด้วยวิธีการทานยาคุมกำเนิด ซึ่งก่อนการตัดสินใจควรสอบถามรายละเอียดจากเภสัชกรก่อนทุกครั้งนะคะ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเราจะทานยาได้อย่างถูกวิธี และป้องกันการเข้าใจผิดค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP