เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนไปคลอด ใช้อะไรบ้าง เพื่อทำใบสูติบัตรให้ลูก

ไลฟ์สไตล์

ระยะเวลากว่า 9 เดือนที่คุณพ่อคุณแม่ตั้งตารอคอยลูกน้อยที่จะออกมาได้เจอหน้ากัน เป็นรักที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้เห็นหน้า แต่อย่ามัวแต่รอคอย หรือตื่นเต้นกับการมาของลูกจนลืมเตรียม “ของใช้เตรียมคลอด และการเตรียมตัวก่อนคลอด ฉบับแม่มือโปร” และเอกสารที่ต้องใช้ในวันคลอดนะคะ


ใกล้คลอดเข้าไปทุกทีแล้ว ของใช้เตรียมคลอดมีอะไรบ้าง? รวมการเตรียมของใช้ก่อนคลอด พร้อมการเตรียมตัวก่อนคลอด ฉบับคุณแม่มือโปรไว้ที่นี่แล้วค่ะ คลิกที่นี่

เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนไปคลอด

เอกสารสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมไว้ให้พร้อมก่อนไปคลอด มีดังนี้ค่ะ

  • เอกสารที่ต้องใช้ภายในโรงพยาบาล : เช่น ใบนัดจากคุณหมอ บัตรโรงพยาบาล และที่สำคัญที่สุด คือ สมุดฝากครรภ์ เพราะในสมุดเล่มนี้จะระบุข้อมูลต่าง ๆ ของการตั้งครรภ์ตั้งแต่แรกเริ่ม และมีอะไรบ้างที่คุณหมอควรต้องระวังบ้างทั้งของคุณแม่และลูกน้อย
  • เอกสารส่วนตัว : อย่างบัตรประชาชนของคุณพ่อและคุณแม่ หรือจะถ่ายเป็นสำเนาเอาไว้เลยก็ดีค่ะ (**แต่ต้องนำไปทั้งตัวจริงและสำเนานะคะ)

การทำสูติบัตรลูก ต้องแจ้งเกิดภายในกี่วัน ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

กรณีเกิดที่โรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือสถานพยาบาล

  • ทางโรงพยาบาลหรือผู้ทำคลอด จะเป็นผู้ออกหนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑) ให้ไว้เป็นหลักฐานเพื่อประกอบการแจ้งเกิด คุณพ่อคุณแม่ของทารกต้องนำไปยื่นแจ้งเกิดที่เทศบาลหรืออำเภอ
  • คุณพ่อ/คุณแม่ ต้องแจ้งเกิดภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ลูกเกิด
  • หลักฐานการแจ้งเกิดอื่น ๆ ที่ต้องเตรียมไปด้วย คือ บัตรประชาชนของผู้ที่ไปแจ้ง หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑) ที่ทางโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลออกให้ และสำเนาทะเบียนบ้าน ของเจ้าบ้านที่จะเพิ่มชื่อลูกเข้าไป

กรณีเกิดที่บ้านหรือนอกโรงพยาบาล

  • กรณีที่เกิดในบ้าน เช่น บ้านคุณพ่อคุณแม่เอง หรือบ้านญาติ ผู้ที่ต้องไปแจ้งคือ คนที่มีชื่อเป็นเจ้าบ้านที่ทารกเกิด
  • ต้องไปแจ้งเกิดภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ลูกเกิด โดยมีขั้นตอน ดังนี้
    • ถ้าบ้านที่ลูกเกิดอยู่ในเขตท้องที่ของที่ว่าการอำเภอ ให้เดินทางไปแจ้งเกิด ณ ที่ว่าการอำเภอโดยตรง หรือในกรณีที่เดินทางไม่สะดวก ให้แจ้งกับผู้ใหญ่บ้านประจำหมู่บ้าน โดยผู้ใหญ่บ้านจะทำการรับแจ้งการเกิด (ท.ร ๑ ตอนหน้า) ให้ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน และให้คุณพ่อหรือคุณแม่ของทารกนั้น นำหลักฐานมาแจ้งต่อหน้านายอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภออีกครั้งเพื่อให้เจ้าหน้าที่ออกใบสูติบัตรให้
    • ถ้าบ้านที่ลูกเกิดอยู่ในเขตท้องที่ของเทศบาล ให้ไปแจ้งเกิดได้ที่งานทะเบียนในเขตเทศบาลที่ลูกเกิด

เอกสารที่ต้องเตรียมไป

บัตรประชาชนของผู้ที่ไปแจ้งเกิด ใบรับรองการเกิด (ท.ร. ๑/๑) ที่ผู้ใหญ่บ้านออกให้ (ถ้ามี) สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านที่จะทำการเพิ่มชื่อลูกเข้าไป พร้อมทั้งพยานบุคคลที่รู้เห็นการเกิดของลูก เช่น หมอตำแย นางพยาบาลที่ทำคลอด หรือเพื่อนบ้าน เป็นต้น

กรณีที่เกิดนอกบ้าน เช่น บนรถโดยสาร บนรถแท็กซี่ ศาลาริมทาง ฯลฯ

  • ผู้ที่ต้องแจ้งการเกิด คือ คุณพ่อหรือคุณแม่ โดยต้องแจ้งเกิดภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ลูกเกิด แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นทำให้ยังไม่สามารถไปแจ้งเกิดได้ตามกำหนด สามารถเลื่อนการแจ้งเกิดออกไปได้ แต่ไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่ลูกเกิด
  • วิธีการแจ้งเกิดและเอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียมไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ทำเช่นเดียวกันกับกรณีที่ลูกเกิดภายในบ้าน

กรณีที่ทารกถูกทิ้ง

หากมีผู้พบเห็นเด็กทารก หรือเด็กเล็กที่อายุไม่เกิน 7 ปี ถูกทอดทิ้ง ผู้พบเห็นต้องรีบแจ้งการพบเด็กพร้อมกับนำเด็กไปส่งต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง (เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือปลัดอำเภอ) เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์ เพื่อทำหลักฐานการรับตัวเด็ก และดำเนินการแจ้งเกิดตามกฎหมายต่อไป

กรณีทารกเกิดในต่างประเทศ

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นคนไทย แต่ให้กำเนิดลูกในต่างประเทศ ให้คุณพ่อหรือคุณแม่ไปแจ้งเกิดลูกได้ที่สถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทยที่ประจำอยู่ในประเทศนั้น ๆ ได้เลย

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการแจ้งเกิด

  1. หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑) ที่ทางโรงพยาบาลออกหรือใบรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑ ส่วนหน้า) ที่ผู้ใหญ่บ้านออกให้นั้น ไม่ใช่สูติบัตรหรือใบเกิดแต่อย่างใด
  2. เด็กที่เกิดในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นลูกของคนไทยหรือคนต่างด้าว สามารถแจ้งเกิดและมีสิทธิ์ได้รับหลักฐานการเกิดเช่นกัน
  3. การแจ้งเกิดหรือรับการการแจ้งเกิด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ
  4. การไม่แจ้งเกิด หรือแจ้งเกิดล่าช้าต่อนายทะเบียนเกินกว่า 15 วัน นับตั้งแต่ทารกเกิด ถือเป็นความผิดทางกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ได้รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมเตรียมเอกสารก่อนคลอดกันไปให้ครบนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP