การตั้งครรภ์ยากมีมากมายหลายปัจจัยค่ะ ยกตัวอย่างกว้างๆ ได้แก่ สภาพจิตใจและความเครียดของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง วิธีการใช้ชีวิตในแต่ละวัน เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายน้อยเกินไป ฯลฯ นอกจากนี้สำหรับผู้หญิงก็ยังมีในเรื่องของฮอร์โมนเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย และดูเหมือนจะเป็นสิ่งสำคัญเสียด้วย
สารบัญ
ฮอร์โมนที่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ในร่างกายของคนเรามีฮอร์โมนอยู่หลายตัวค่ะ ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับฮอร์โมนสำคัญในร่างกายแต่ละตัวกันเลยดีกว่าค่ะ
LH
LH หรือชื่อเต็มคือ Luteinizing Hormone เป็นฮอร์โมนสำหรับการปล่อยให้ไข่ได้พร้อมรับการปฏิสนธิ
FSH
FSH หรือมีชื่อเต็มว่า Follicle-Stimulating Hormone ฮอร์โมนนี้เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อการตั้งครรภ์เป็นอย่างมากตัวหนึ่ง เนื่องจากเป็นฮอร์โมนที่ดูแลรับผิดชอบวงจรการหมุนเวียนและการผลิตไข่ที่มีสุขภาพดีและมีประสิทธิภาพดี เพื่อให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์
AMH
AMH หรือชื่อเต็มว่า Anti-Mullerian Hormone เป็นฮอร์โมนที่คอยอนุบาลและบำรุงรักษาไข่ที่ยังโตไม่เต็มที่ เพื่อให้คงประสิทธิภาพที่ดีไว้นั่นเอง
Progesterone
หลายคนอาจคุ้นกับชื่อนี้ดี เพราะเป็นฮอร์โมนหลักอีกตัวหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ ช่วยครรภ์มีสุขภาพดีและดำเนินไปได้เรื่อยๆ มีหลายๆ กรณีที่ผู้หญิงเราแท้งเนื่องจากภาวะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำลง
T3 และ T4
บางคนอาจยังไม่รู้ว่าต่อม Thyroid เป็นฮอร์โมนที่สำคัญที่สุดสำหรับการตั้งครรภ์ ต่อม Thyroid และต่อม Adrenal มีความเชื่อมต่อกันอยู่ ซึ่งถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นไม่ว่าจะต่อมใดต่อมหนึ่งจะส่งผลต่อการตั้งครรภ์ที่ยากมากขึ้น
Prolactin
ฮอร์โมนตัวนี้เป็นฮอร์โมนที่จัดการแลเรื่องของการผลิตน้ำนม นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ ทำให้ประจำเดือนมาปกติ เพื่อรองรับหลังการคลอดอีกด้วย
สาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนแปรปรวน
จากที่เกริ่นมาข้างต้นว่าต่อม Thyroid และต่อม Adrenal ทั้งคู่นี้มีผลอย่างมากสำหรับการรักษาระดับสุขภาพร่างกายของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ เพราะหากมีอะไรผิดปกติกับ 2 ต่อมนี้หรือเพียงแค่ต่อมใดต่อมหนึ่ง จะทำให้คุณแม่เกิดอาการ Polycystic Ovary Syndrome ได้ ซึ่งเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ 6 และ 12% ถ้าตามข้อมูลของ CDC (ศูนย์ควบคุมโรค) ระบุว่า อาการนี้จะส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ฮอร์โมนผู้ชายจะเพิ่มขึ้น ผมและขนจะขึ้นเร็วและดก ในกรณีบางรายที่มีอาการรุนแรง อาจทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เลย
อาการเมื่อฮอร์โมนแปรปรวน
ในเมื่อฮอร์โมนคือตัวแปรสำคัญในการที่จะมีลูก แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีอาการของฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงอยู่ สามารถเช็คได้ตามนี้เลยค่ะ
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ
- มีอาการผิดปกติอื่นๆ แบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอย่างรุนแรง
- เป็นหมัน
- ประจำเดือนหมดก่อนอายุ
- ประจำเดือนจากที่เคยมา แต่ก็ไม่มาอีกเลย
- อยากทานแต่ช็อกโกแลต หรือขนมที่ทำมาจากนม
- มีสิวเห่อที่ใบหน้า
- จู่ๆ ก็รู้สึกร้อน รู้สึกหนาว สลับการในบางเวลา
- น้ำหนักเพิ่ม หรือ ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยที่เรายังกินอิ่มนอนหลับได้ปกติ
- คัดตึงเต้านม
- ปวดศีรษะ
- นอนไม่ค่อยหลับ
- ผิวหนังแห้ง
- เหงื่อออกมากแบบไม่มีสาเหตุ
- เหนื่อยล้า อยากนอนต่อเนื่องแบบไม่มีสาเหตุ
- ขี้หงดุหงิด อารมณ์แปรปรวน
เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์เพื่อตรวจฮอร์โมน
เพราะร่างกายแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การตั้งครรภ์ได้ช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย อาจเป็นเรื่องอยากที่จะระบุว่าเมื่อใดควรพบแพทย์ แต่ถ้าทั่วไปแล้ว แพทย์มักจะให้คำแนะนำว่า หากสามีภรรยาพยายามด้วยวิธีทางธรรมชาติมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ถึง 12 เดือน เบบี๋ก็ยังไม่มาสักที รวมถึงกรณีที่มีอายุมากกว่า 35 ปี แล้วและประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่สามารถนับวันไข่ตกได้ถูกเลยว่าจะตกวันไหน หรือเริ่มมีอาการผิดปกติตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น แบบนี้ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ
จากนี้ไปสำหรับครอบครัวไหนที่ต้องการมีลูก และอยู่ในกระบวนการแห่งความพยายามอยู่ ต้องหมั่นใส่ใจตัวเองให้มากขึ้นนะคะ เพราะฮอร์โมนเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นจากภายใน แต่มันสามารถแสดงอาการผิดปกติให้เราเห็นได้จากภายนอก โดยมีพื้นฐานของการใช้ชีวิตที่เหมือนเดิมในทุกๆ วัน นั่นก็เป็นไปได้ว่าฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง และหากยังต้องการมีลูก แนะนำว่าควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยถึงอาการและแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ