การแต่งงานแบบจีนโบราณ มีขั้นตอนอย่างไร?

การแต่งงาน
JESSIE MUM

การแต่งงานคือ การที่คนสองคนตกลงปลงใจที่จะชีวิตร่วมกัน ร่วมทุกข์ ร่วมสุขกัน ซึ่งประเพณีการแต่งงานของแต่ละแบบก็จะมีเสน่ห์ที่แตกต่างกัน มีความหมายที่และมีที่มาที่ไปต่างกัน ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงการแต่งงานแบบจีนโบราณกันค่ะ มาดูกันว่า การแต่งงานแบบนี้ต้องใช้อะไรบ้าง? และมีขั้นตอนอย่างไร?

รากศัพท์คำว่า แต่งงาน ในภาษาจีน

ในภาษาจีนโบราณ คำว่า “แต่งงาน” มาจากคำว่า “婚姻 (ฮุนอิน)” แต่ต่อมาได้เพี้ยนไปเป็น “ฮุนหลี่” โดยคำว่า “ฮุน” เป็นการผสมกันระหว่างตัวอักษร 2 ตัวได้แก่ 昏 แปลว่า ค่ำคืน และ 女 แปลว่า สตรี สุดท้ายคือ คำว่า “อิน” ซึ่งแปลว่า ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าในสมัยโบราณการแต่งงานของชาวจีนจะนิยมจัดขึ้นในช่วงกลางคืน ซึ่งถือว่าเป็นฤกษ์มงคลนั่นเอง

เอกสารที่ใช้ในการแต่งงานแบบจีนโบราณ

ในการแต่งงานแบบจีนโบราณจะใช้เอกสารอยู่ 3 ส่วนด้วยกันหรือที่เรียกว่า “3 หนังสือ” ดังนี้

หนังสือหมั้นหมาย

เป็นหนังสือที่ระบุความตั้งใจในการแต่งงาน และการให้คำสัญญาของคู่บ่าวสาว

หนังสือแสดงสินสอด

หนังสือที่ระบุประเภทรายการ และจำนวนของขวัญในวันแต่งงาน

หนังสือรับตัวเจ้าสาว

เป็นหนังสือที่เจ้าบ่าวมอบให้ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวในวันแต่งงาน เป็นเหมือนเครื่องยืนยันว่าฝ่ายเจ้าบ่าวได้รับเจ้าสาวเข้าตระกูลของเจ้าบ่าวอย่างเป็นทางการแล้ว

ขั้นตอนการแต่งงานแบบจีนโบราณ

ในส่วนของพิธีการแต่งงานนั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 6 ขั้นตอนดังนี้ค่ะ

การสู่ขอ

ผู้ใหญ่ฝ่ายชายและแม่สื่อเดินทางไปสู่ขอว่าที่เจ้าสาวกับพ่อแม่ของฝ่ายหญิง พร้อมมอบของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มีความหมายให้กับครอบครัวของฝ่ายหญิง ในขณะที่ว่าที่เจ้าสาวก็จะถือโอกาสนี้สอบถามเรื่องราวหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับครอบครัวของฝ่ายชาย

ขอวันเดือนปีเกิด

หลังจากเสร็จขั้นตอนการพูดคุย การสู่ขอแล้ว พ่อแม่ของฝ่ายหญิงก็จะมอบวันเดือนปีเกิดของลุกสาวให้กับครอบครัวของฝ่ายชาย เพื่อทำพิธีเสี่ยงทายต่อไป

การเสี่ยงทาย

หลังจากที่ครอบครัวของฝ่ายชายได้รับกระดาษที่เขียนวันเดือนปีเกิดของฝ่ายหญิงไว้แล้ว ก็จะนำแผ่นกระดาษนี้ไปวางไว้ด้านหน้าองค์เทพเจ้าหรือวางไว้บนโต๊ะของบรรพบุรุษ เพื่อให้ท่านได้ชี้แนะว่าการแต่งงานในครั้งนี้เป็นมงคลหรือไม่ บ่าวสาวคู่นี้ดวงชงกันหรือไม่? หากไม่มีสัญญาณที่บ่งบอกถึงความไม่เป็นมงคล การแต่งงานครั้งนี้ก็สามารถจัดขึ้นได้

การมอบสินสอดของรับไหว้

ฝ่ายชายจะส่งมอบหนังสือหมั้นหมาย และหนังสือแสดงสินสอดไปที่บ้านฝ่ายหญิงก่อนวันสมรส 1 เดือน – 2 สัปดาห์ ครอบครัวฝ่ายชายจะเชิญญาติประมาณ 2-4 คน และต้องเป็นผู้หญิงที่มีความสุขพร้อม รวมทั้งเชิญแม่สื่อไปที่บ้านฝ่ายชาย และมอบสินสอดให้ฝ่ายหญิง และครอบครัวของฝ่ายหญิงก็จะมอบของขวัญตอบเป็นของรับไหว้ประเภทอาหาร ขนมหวาน และของมงคลต่าง ๆ ตามประเพณีของบ้านฝ่ายชาย พร้อมกับมอบหนังสืออีกฉบับที่เป็นบันทึกของรับไหว้ต่าง ๆ คู่กันไปกับของรับไหว้ และปิดท้ายด้วยการที่เจ้าบ่าวไปส่งเจ้าสาวที่บ้าน

ขอฤกษ์

ด้วยความเชื่อที่ว่าหากได้ฤกษ์แต่งงานที่ดีก็จะนำแต่เรื่องราวและสิ่งที่เป็นมงคลมาให้แก่ครอบครัวของทั้งคู่ อยู่ด้วยกันอย่างราบรื่นจนแก่จนเฒ่า โดยการหาฤกษ์นี้จะเป็นหน้าที่ของฝ่ายชาย ซึ่งหลังจากได้ฤกษ์ที่ดีแล้วก็จะนำฤกษ์นั้นมาขอความคิดเห็นกับฝ่ายหญิง

การรับเจ้าสาว

ในวันแต่งงาน เจ้าบ่าวจะสวมชุดพิธีการเต็มรูปแบบ พร้อมด้วยแม่สื่อ ญาติสนิท และเพื่อนสนิท ร่วมกันเดินทางไปรับเจ้าสาวที่บ้าน หลังจากที่เจ้าบ่าวเดินทางถึงบ้านของเจ้าสาวแล้ว เจ้าบ่าวจะต้องไปเคารพศาลบรรพชนของเจ้าสาวก่อน จากนั้นจึงให้เจ้าสาวขึ้นเกี้ยว เพื่อมาทำพิธีไหว้ฟ้าดินที่บ้านของเจ้าบาว โดยขณะที่เดินทางนั้น ครอบครัวของฝ่ายหญิงจะมีการสาดน้ำสะอาดตามหลังขบวนเกี้ยว มีความหมายว่า จากนี้ไปลูกสาวได้เป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัวของฝ่ายชายแล้ว เหมือนกับการสาดน้ำออกไปนั่นเอง และหลังจากที่เสร็จพิธีไหว้ฟ้าดินแล้ว ก็ถือว่าทั้งคู่เป็นสามีภรรยากันโดยสมบูรณ์ และถูกต้องตามประเพณีแล้ว

ประเพณีการแต่งงานแบบจีนโบราณนับว่าเป็นพิธีที่มีการสืบต่อ ๆ กันมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งบางครอบครัวก็ยังชงใช้อยู่ และในบางครอบครัวก็ตัดขั้นตอนออกไป เพื่อความสะดวกและความเหมาะสมในเรื่องของการจัดการ และเพิ่มการจะทะเบียนสมรสเข้าไปในวันพิธี เพื่อให้การแต่งงานในครั้งนี้เป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ตามประเพณี และถูกต้องตามกฎหมาย

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP