อยากให้ลูกห่างไกลมือถือทำอย่างไร

ไลฟ์สไตล์
JESSIE MUM

ยุคสมัยนี้ต้องบอกเลยว่าโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต เป็นส่วนหนึ่งที่ทุกคนต้องพกติดตัว คุณพ่อคุณแม่ก็มักมีสิ่งนี้ติดตัว และลูกน้อยวัยอยากรู้อยากเห็นคงต้องอยากเล่นตามแน่ๆ และหากคุณแม่ให้ลูกน้อยเล่น ได้รับสิ่งนี้แต่ยังเด็กจะก่อให้เกิดผลดี หรือผลร้ายในอะไรบ้าง และวิธีแก้ควรทำอย่างไร

ลูกเล่นมือถือไม่ใช่จะเห็นแค่เด็กวัยอนุบาลอีกแล้ว เด็กวัยทารกที่กำลังหัดเดิน หัดจับสิ่งของให้มั่นคง ก็เล่นแล้ว ตามห้างสรรพสินค้า เด็กเล็กนั่งรถเข็นก็จับมือถือดูการ์ตูนกันได้แล้ว วิธีนี้คุณแม่อาจคิดว่าเป็นวิธีที่ทำให้ลูกอยู่นิ่งไม่งอแง เรียบร้อย ป้อนข้าวลูกสะดวก แท้จริงแล้วมันส่งผลร้ายแก่ลูก

  1. เด็กจะสมาธิสั้น มือถือจะตอบสนองความต้องการเร็ว และไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถเปิดดูการ์ตูน เล่นเกมได้ดั่งใจ
  2. เด็กจะก้าวร้าว เมื่อต้องเข้าสู่โรงเรียน เด็กที่มีมือถือตลอดเวลาจะมีความต้องการเมื่อขาดสิ่งนี้ในมือ และขาดสมาธิในการเรียนในชั้นเรียน อาจทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้
  3. เด็กจะขาดการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น คบหาใครไม่เป็น เล่นกับเพื่อนคนอื่นไม่ได้
  4. การเรียนจะแย่ลง เพราะเด็กสนใจโทรศัพท์มือถือ มือจะคอยจับตลอดเวลา
  5. การพักผ่อนไม่เพียงพอ ข้อนี้เป็นได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก แต่เด็กจะยังไม่รู้จักการจัดเวลามากพอ ว่าควรนอนเท่าไร ตื่นยังอย่างไรให้ไม่เพลีย
  6. สายตาแย่ลง แสงรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากมือถือมีโทษมาก เด็กยุคนี้จับมือถือแต่ทารก การสะสมรังสีชนิดนี้แต่เด็กก็มีความเสี่ยง เช่น การนอนไม่หลับ ปวดหัว มึนศีรษะ ใจสั่น ตาต้อกระจกเร็ว สายตาสั้นไว หรือร้ายแรงอย่างมะเร็ง

วิธีที่ให้ลูกห่างไกลมือถือก่อนวัยอันควร หรือให้เล่นน้อยลง

คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี

เด็กวัย 8 – 1 ขวบ เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น อยากเลียนแบบพ่อแม่ เด็กจะเกิดความสงสัยว่าสิ่งในมือพ่อแม่คืออะไร และมันดูน่าสนใจจนลืมลูกได้อย่างไร การจับที่มั่นคงของลูกจะหยิบสิ่งนั้นไปและสนใจเมื่อเห็นภาพเห็นสีที่เปลี่ยนไปมา คุณพ่อคุณแม่จึงเป็นจุดเริ่มแรกที่ต้องให้ลูกห่างไกลจากมือถือ โดยการงดเล่นขณะอยู่กับลูก หรืออาจจะแอบเล่นโดยให้พ้นสายตาลูก และหากลูกหลับก็เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่จะได้เล่น แต่ก็อย่าลืมหันไปมองลูกเป็นระยะด้วย

หากิจกรรมทำ

กิจกรรมที่ทำร่วมกับลูกมีหลายอย่าง โดยการทำกิจกรรมต้องดูความเหมาะสมกับวัยของลูก เช่น วัย 6 – 12 เดือนที่เริ่มฝึกภาษา มีทั้งการเรียงอักษร การอ่านนิทาน เปิดเพลงสอนภาษา เป็นต้น วัย 2 – 4 ขวบ ที่เริ่มทำกิจกรรมหนักขึ้น เช่น การเรียงสี ต่อบล็อกสร้างเมือง การปั่นจักรยาน เป็นต้น

ดูความเหมาะสม

หากเกิดว่าลูกเล่นมือถือไปแล้ว คุณแม่ต้องสร้างกรอบของการเล่นของลูก ว่าเล่นได้เท่าไร เล่นเสร็จลูกต้องทำกิจกรรมอะไร ถึงแม้จะเปิดบทเรียนผ่านทาง Youtube แต่การเรียนจากหนังสือก็เป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะจะได้เป็นการฝึกพูดและออกเสียงที่ดี สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี Youtube จะทำให้ขาดการฝึกสื่อสาร และการเข้าสังคมโรงเรียนได้

คอยดูแลอย่างใกล้ชิดเมื่อลูกเล่น

อย่าปล่อยให้ลูกเล่นตามลำพัง บนโลกออนไลน์มีสิ่งที่ดีและไม่ดี บ้างอย่างอาจไม่เหมาะสมกับวัยของลูก พ่อแม่จึงต้องคอยดู ชี้แนะให้แก่ลูก เพื่อไม่ให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบ และควรสร้างขอบเขตการเล่นให้แก่ลูก ให้ลูกได้อดทนไม่เล่นให้ได้

อย่าให้ลูกยึดมือถือ

ลูกจะใช้มือถือในการดูการ์ตูน หรือดูบทเรียนทาง Youtube เด็กที่ได้เล่นเมื่อไม่ได้ตามที่หวังจะทำให้แสดงอาการโกรธ และโมโหขึ้นมา เพราะเด็กจะคิดว่าสิ่งนั้นเป็นของเขา จึงอาจจะซื้อเครื่องแยกให้ลูกไว้เล่น คุณพ่อคุณแม่มีโทรศัพท์มือถือกันคนละเครื่อง เพื่อการติดต่อสื่อสาร และติดต่อการทำงานจึงจะต้องมีช่วงเวลาที่ต้องใช้มือถือ พ่อแม่ควรที่จะนำมือถือส่วนตัวให้ลูกเล่น เพื่อไม่ให้ลูกติดโทรศัพท์ตลอดเวลา

การให้ลูกเล่นมือถือไม่ใช่ทางออกที่ดีในการทำให้ลูกอยู่นิ่งในที่สาธารณะ ไม่วิ่งเล่นปีนป่ายไปทั่ว หรือการให้ลูกอยู่นิ่งในมื้ออาหาร และค่อยป้อนอาหาร จนอาจทำให้ลูกใช้ช้อนส้อมทานเองไม่เป็น

อยากให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านนึกถึงวัยเด็กของตน พ่อแม่เลี้ยงของตนเลี้ยงมาอย่างไร ในวัยที่ยังไม่มีโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต อินเตอร์เน็ตทั่วถึง ในตอนนั้นได้ทำกิจกรรมอะไร หรือตอน 3 – 6 ขวบ ไปเที่ยวไปทานอาหารนอกบ้านอย่างไรโดยไม่มีการ์ตูนดู ของเล่นที่บ้านมีอะไรให้เล่นบ้าง ลองตัดโทรศัพท์ออกแล้วเลี้ยงลูกอย่างยุคไร้โทรศัพท์กันค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP