“ออบีซ” ของเล่นอันตราย กลืนลงไปก็เอ็กซเรย์ไม่เจอ!

ไลฟ์สไตล์

สมัยนี้ต้องขอใช้คำว่า “การเป็นคุณพ่อคุณแม่ไม่ง่ายเลยจริงๆ” เพราะอะไรๆ ก็มีวิวัฒนาการไปเร็วมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี เอาง่ายๆ คำว่า “Install” โน้ตมารู้จักสมัยเรียนมหาวิทยาลัย สมัยนี้เด็กอนุบาลก็รู้จัก ซึ่งอีกสิ่งหนึ่งที่พัฒนาไปเร็วไม่แพ้กันคือ “ของเล่น” สมัยก่อนมีที่ไหน “สไลม์” ของเล่นประเภทนี้แพทย์ได้ออกมาเตือนแล้วเหมือนกันนะคะ ว่าเป็นอันตรายต่อเด็ก (สารเคมีที่เป็นส่วนผสม) ของเล่นอีกอย่างที่อยากจะแชร์ให้คุณพ่อคุณแม่ได้ระวังกัน (เพื่อให้ทันลูกและไม่ควรให้เล่น) ก็คือ “ออบีซ (Orbeez)” วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับออบีซกัน รวมไปถึงความร้ายกาจของของเล่นประเภทนี้กันค่ะ ไปดูกันเลย

ลักษณะของออบีซ(Orbeez)

ออบีซเป็นของเล่นที่มีเม็ดกลมที่สามารถดูดน้ำและขยายตัวใหญ่ได้ หากเด็กเผลอกินเข้าอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

อันตรายจากการกลืนออบีซ?

จากกรณีหนึ่งที่ลูกของคุณแม่ท่านหนึ่งถูกหลอกให้กินออบีซเข้าไป แล้วไปพบแพทย์แต่ก็เอ็กซเรย์ไม่พบนั้น ได้มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก นพ.ฉัตรชัย อิ่มอารมณ์ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับอันตรายของออบีซไว้ดังนี้ค่ะ

ออบีซ (Orbeez) คือ ของเล่นชนิดหนึ่งทำจากโพลิเมอร์ (Polymer) ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ชนิดหนึ่ง คุณสมบัติเด่นคือ สามารถดูดซับน้ำได้ ดูดซับของเหลวได้แม้ในปริมาณมากๆ คล้ายกับของเล่นชนิดเดียวกันอย่าง “เบบี้คริสตัล” หรือ “ไข่ไดโนเสาร์” ซึ่งเป็นวัตถุที่ดูดซับน้ำได้ หรือสามารถทำให้ขนาดของเล่นนั้นขยายใหญ่ขึ้น พองขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งลักษณะทั่วไปภายนอก จะเป็นเม็ดกลม ใส ซึ่งถ้าเด็กกลืนเข้าไปอาจทำให้เสียชีวิตได้

อาการของเด็กที่กลืนออบีซเข้าไป

อาการดังต่อไปนี้จะเป็นอาการที่เห็นได้ชัด หากเด็กกลืนออบีซเข้าไปซึ่งจะมี 2 กลุ่มอาการด้วยกัน

อุดกั้นทางเดินหายใจ

เมื่อเม็ดออบีซมีการขยายขนาดจนพอเหมาะ หรือแช่น้ำจนมีขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายเจลลี่ เมื่อเด็กกลืนเข้าไปอาจมีโอกาสสำลักเข้าหลอดลมหรือเข้ากล่องเสียง ปิดกั้นระบบทางเดินหายใจ ทำให้เด็กขาดอากาศ และเสียชีวิตได้ในเวลาไม่กี่นาที

อุดกั้นทางเดินอาหาร

หากเด็กกลืนออบีซเข้าไป ออบีซจะไปดูดซึมน้ำในที่มีอยู่ในลำไส้ จนพองตัวในลำไส้ และเมื่อมันขยายไปเรื่อยๆ จนมากพอก็จะไปอุดตันทงเดินอาหาร ทำให้ลำไส้อุดตัน เสี่ยงต่อการติดเชื้อในลำไส้อย่างรุนแรงลำไส้อาจขาดเลือด ติดเชื้อในช่องท้อง จนลำไส้ฉีกขาด หรือลำไส้อาจแตกในช่องท้องได้

ซึ่งส่วนใหญ่จะพบเด็กปัญหาเรื่องการอุดกั้นทางเดินอาหารบ่อยที่สุด เพราะเด็กจะเห็นว่าออบีซมีสีสวย ใสๆ มีลวดลาย จึงเอาเข้าปาก ซึ่งเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของเด็ก

ทำไมเอ็กซเรย์ไม่พบ?

เพราะว่าวัสดุที่ใช้ทำออบีซนั้นเป็นโพลิเมอร์ ซึ่งเวลาที่ดูดซับน้ำเข้าไปแล้วจะมีการขยายขนาด และโพลิเมอร์เหล่านี้เป็นสารหรือวัตถุไม่ทึบแสง ดังนั้น เวลาเอ็กซเรย์จึงทำให้มองไม่เห็นคล้ายกับพลาสติกที่เวลาเราเอาไปเอ็กซเรย์ก็มองไม่เห็นเหมือนกัน ซึ่งต่างจากวัตถุบางชนิด อาทิ เหรียญบาท หรือเหล็กที่ใช้ในการผ่าตัดกระดูก สร้อยคอ แหวน เป็นต้น สามารถมองเห็นได้เมื่อผ่านเข้าเครื่องเอ็กซเรย์

เมื่อเอ็กซเรย์ไม่พบ แต่เด็กยืนยันว่ากินเข้าไป หากคุณหมอได้ตรวจร่างกายและประเมินแล้วว่าเด็กยังไม่มีอาการลำไส้อุดตัน ซึ่งออบีซอาจจะยังไม่ได้ขยายใหญ่มากพอที่จะอุดตันลำไส้ คุณหมอก็จะแนะนำให้สังเกตอาการต่อ อาจะเป็นไปได้ว่าในภายหลังเด็กอาจถ่ายออกมาเอง

ออบีซของเล่นผิดกฎหมาย

ของเล่นทุกชนิดที่สามารถดูดซึมน้ำและพอตัวได้ รวมถึงออบีซ เป็นของเล่นผิดกฎหมายนะคะ ห้ามให้มีจำหน่ายไม่ว่าจะที่ไหนก็ตาม

หากลูกนำมาเล่น หรือลูกถูกเพื่อนหลอกให้กลืนเข้าไป แล้วเริ่มมีอาการผิดปกติ ควรพบแพทย์ทันที เพื่อลูกจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

อ้างอิง amarinbabyandkids.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP