พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะมีผลต่อลูกอย่างไร

ไลฟ์สไตล์

เมื่อคนสองคนชายและหญิงมาเจอกัน รักกัน อยู่ด้วยกันตามประเพณีแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย อยู่ด้วยกันจนมีลูกแต่มาวันหนึ่งแยกกันอยู่ คำถามคือ “ลูกเป็นสิทธิ์ของใคร?” และการไม่ได้จดทะเบียนนี้จะส่งผลต่อลูกอย่างไรบ้าง

สารบัญ

พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส

ทนายเกิดผล แก้วเกิด ได้ออกมาให้ข้อมูลและไขข้อข้องใจไว้ดังนี้ค่ะ

“หากในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่แยกทางกัน แล้วฝ่ายชายเอาลูกไปเลี้ยง โดยที่ฝ่ายหญิงไม่ยินยอม ฝ่ายจะดึงดันทำได้หรือไม่ และจะมีความผิดอะไรหรือไม่?”

สำหรับกรณีนี้มีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนค่ะ อ้างถึงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 บัญญัติไว้ว่า…
มาตรา 1546 เด็กที่เกิดจากหญิงที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น
ซึ่งหมายความว่า บุตรทุกคนเป็นบุตรของฝ่ายหญิงฝ่ายเดียว ฝ่ายชายไม่มีสิทธิ์ในตัวบุตร ดังนั้นมารดาจึงมีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวตามกฎหมาย และมีอำนาจ ดังนี้
มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ…

  1. กำหนดที่อยู่ของบุตร
  2. ทำโทษบุตรตามสมควร เพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
  3. ให้บุตรได้ทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
  4. เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ทั้งนี้ คำว่า “บุคคลอื่นหมายรวมถึงชายที่เป็นบิดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสด้วย” ตามฎีกาที่ 3461/2541 วินิจฉัยไว้ว่า…
ฎีกาที่ 3461/2541
บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(4) หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองซึ่งได้แก่ บิดา มารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร จำเลยผู้มิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์จำเลยจึงไม่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมายย่อมไม่มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(1) ถึง (4) การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เป็นมารดาของผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้
…หรือแม้มารดาจะเคยให้ความยินยอมหรือตกลงให้บุตรไปอยู่กับฝ่ายบิดา ข้อตกลงดังกล่าวก็สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกคำสั่งได้เสมอ ฝ่ายบิดาจะยกเอาเหตุนี้มาอ้างเพื่อให้พ้นผิดไม่ได้ ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 3780/2543

ความสำคัญของการจดทะเบียนสมรส

ทะเบียนสมรส” แม้เป็นเพียงกระดาษใบเดียวก็จริง แต่สิ่งนี้จะเป็นหลักฐานสำคัญทางกฎหมายที่สามารถยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างกันได้โดยมีกฎหมายรับรองสิทธิไว้อย่างถูกต้องและชัดเจนโดยมีความสำคัญในแง่ต่างๆ ทางกฎหมาย ดังนี้

แง่สามีภรรยา

  • สามารถเรียกร้องสิทธิได้ อาทิ ต้องการฟ้องร้องกันเนื่องจากสามีนอกใจหรือภรรยามีชู้
  • ต่างฝ่ายต่างสามารถดำเนินคดีอาญาแทนกันได้ กรณีสามีหรือภรรยาถูกทำร้ายร่างกาย
  • นำไปใช้เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี

แง่ของการมีลูก

  • ลูกที่เกิดมาจะเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของสามีทันที
  • มีสิทธิได้รับมรดกของผู้เป็นพ่อ
  • หากเกิดกรณีหย่าร้างกัน ภรรยาสามารถเรียกร้องค่าเลี้ยงดูจากสามีได้

หากไม่ได้จดทะเบียนสมรส

หากคู่สมรสคู่ไหนไม่ได้มีการจดทะเบียน แล้วหากมีลูกด้วยกันจะทำให้ลูกที่เกิดมาเป็น “ลูกนอกสมรส” แล้วจะส่งผลต่อลูกอย่างไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

ลูกนอกสมรส จะถือเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้เป็นแม่ฝ่ายเดียวเท่านั้น

ถึงแม้ว่าลูกจะใช้นามสกุลของผู้เป็นพ่อก็ตาม เพราะการให้ใช้นามสกุลนับเป็นการรับรองบุตรโดยพฤติการณ์เท่านั้นแต่ลูกนอกกฎหมายนี้มีสิทธิต่อผู้เป็นพ่อเช่นเดียวกันกับลูกถูกกฎหมายทุกอย่าง แต่ไม่ถือว่าเป็นพ่อลูกกันตามกฎหมาย

ลูกนอกสมรสไม่มีสิทธิได้รับมรดกจากผู้เป็นพ่อ

เพราะถือเป็นลูกนอกกฎหมายยกเว้นว่าผู้เป็นพ่อมีการรับรองว่าให้ใช้นามสกุลหรือจดทะเบียนรับรองการเป็นบุตรเท่านั้น

ลูกนอกสมรส ไม่มีสิทธิฟ้องร้องเพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่ละเมิดผู้เป็นพ่อจนบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตได้

ยกเว้นจะได้รับการรับรองบุตร และในขณะเดียวกันผู้เป็นพ่อก็ไม่สามารถเรียกร้องหรือฟ้องร้องดำเนินคดี หากมีผู้ละเมิดร่างกายลูกจนบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตได้ แต่ผู้เป็นแม่สามารถฟ้องร้องได้คนเดียวเท่านั้น

หากต้องการจดทะเบียนรับรองบุตร

กรณีที่ 1 : ได้รับความยินยอมจากบุตรและมารดา

หากเป็นอย่างกรณีนี้ คือได้รับความยินยอมของทั้งลูกและผู้เป็นแม่ คุณพ่อสามารถไปจดทะเบียนรับรองได้เลย โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียมไปด้วย ดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • สูติบัตรของลูก
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • หนังสือแสดงความยินยอมทั้งของบุตรและมารดา

กรณีที่ 2 : ไม่ได้รับความยินยอมจากบุตรและมารดา

หากเป็นในกรณีนี้ที่บิดาไม่ได้รับความยินยอมจากทั้งลูกและผู้เป็นแม่ บิดาต้องยื่นฟ้องต่อศาล เพื่อให้ศาลตัดสินและมีคำพิพากษาให้บิดาจดทะเบียนรับรองบุตรได้ก่อน แล้วจึงนำคำพิพากษาดังกล่าวไปยื่นขอจดทะเบียนในขั้นตอนต่อไป พร้อมกับนำเอกสารตามกรณีที่ 1 ไปด้วย
ถ้าเป็นกรณีที่ 2 นี้ ต้องใช้ระยะเวลานานซักหน่อย (กินระยะเวลาเป็นปี) กว่าศาลจะพิจารณาคดีและมีคำพิพากษาออกมา เพราะต้องใช้หลักฐานต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อประกอบคำพิพากษา และมีหลายขั้นตอนกว่าสำเร็จลุล่วง

พ่อจะมีสิทธิดูแลบุตรได้ในกรณีใดบ้าง?

ผู้เป็นพ่อจะมีสิทธิที่จะได้เลี้ยงดูบุตรใน 3 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 – จดทะเบียนรับรองบุตร

ข้อนี้ไม่ใช่กรณีที่คุณพ่อมีชื่อในใบเกิดลูกนะคะ เป็นคนละกรณีกัน แต่กรณีนี้ หมายถึง คุณพ่อต้องไปจดทะเบียนรับรองบุตรที่อำเภอ โดยมีคุณแม่และลูกให้ความยินยอมด้วย แต่ถ้าหากลูกยังเล็กเกินไปที่จะตัดสินใจ ศาลจะเป็นผู้ตัดสินให้ โดยพิจารณาจากเหตุผลที่ว่าถ้าคุณพ่อได้เซ็นรับรองบุตรแล้ว บุตรจะได้ปรับประโยชน์สูงสุดอย่างไรบ้าง

กรณีที่ 2 – พ่อแม่สมรสหลังลูกเกิด

หมายความว่า แม่คลอดลูกออกมาก่อน แล้วค่อยจะทะเบียนกับคุณพ่อภายหลัง ลักษณะเช่นนี้คุณพ่อจะมีสิทธิในการเลี้ยงดูลูก

กรณีที่ 3 – ศาลให้สิทธิพ่อ

กรณีนี้คุณพ่อต้องฟ้องศาล เพื่อให้ศาลช่วยพิจารณาและตัดสินค่ะ ซึ่งต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้คุณพ่อมีสิทธิเลี้ยงดูลูกได้

มีลูก มีได้จดทะเบียน เรียกค่าเลี้ยงดูได้ไหม?

กรณีที่คุณแม่มีลูกด้วยกัน ต้องการเรียกร้องค่าเลี้ยงดูบุตร แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส คุณพ่อของบุตรจึงไม่ได้เป็นคุณพ่อที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น หากคุณแม่ต้องการค่าเลี้ยงดูบุตรจากคุณพ่อ สามารถทำได้โดยจะต้องมีการจดทะเบียนกันในภายหลัง หรือคุณพ่อต้องจดรับรองบุตร หรือกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ของบุตรไม่ยินยอมให้ทำการจดทะเบียนรับรองบุตร ดังนั้น ต้องใช้วิธีการฟ้องศาล เพื่อให้ศาลเป็นผู้พิพากษาว่าลูกที่เกิดมานี้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของคุณพ่อ

หลักเกณฑ์การฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร

สำหรับหลักเกณฑ์ในการฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรมี ดังนี้

จดทะเบียนรับรองบุตร

การจดทะเบียนรับรองบุตรสามารถจดได้ที่อำเภอ และคุณพ่อคุณแม่รวมถึงลูกต้องให้การยินยอม แต่หลายคนเข้าใจว่า เพียงแค่ลูกใช้นามสกุลของคุณพ่อ ลูกก็มีสิทธิได้ค่าเลี้ยงดูซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด สิ่งนี้ไม่ได้เรียกว่าเป็นการรับรองบุตร ซึ่งการจะได้ค่าเลี้ยงดูจากคุณพ่อจะใช้การจดทะเบียนรับรองบุตรเท่านั้น ซึ่งจะเป็นเอกสารที่มีผลทางกฎหมาย

ฟ้องศาล

การฟ้องศาลเพื่อเรียกค่าเลี้ยงดู สามารถฟ้องเป็นค่าเลี้ยงดูแบบรายเดือนก็ได้ หรือถ้าหากคู่กรณีตกลงกันกับคุณแม่ว่าต้องการจ่ายเป็นก้อนก็สามารถทำได้เช่นกัน การฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูนั้น บุตรจะได้รับจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะหรือจนกว่าบุตรจะเรียนจบในระดับปริญญาตรี ทั้งนี้การฟ้องเพื่อขอเรียกค่าเลี้ยงดูนั้น นับเป็นคดีแพ่ง และจะต้องฟ้องศาลเยาวชนและครอบครัวในจังหวัดที่ลูกมีภูมิลำเนาเกิด

มีนัดไกล่เกลี่ย

หลังจากที่ทนายส่งเรื่องฟ้องแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นนัดไกล่เกลี่ย หากตกลง เจรจากันได้ก็จะจบภายใน 2-4 เดือน ซึ่งส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 90 จะสามารถตกลงกันได้ในขั้นตอนนี้ แต่ถ้าหากตกลงกันไม่ได้ ศาลก็ต้องขอหลักฐานเพิ่มเติม ได้แก่ ใบสูติบัตรที่มีชื่อคุณพ่อ, ใบยินยอมให้ลูกใช้นามสกุลพ่อ และผลตรวจ DNA เป็นต้น โดยมากแล้วค่าเลี้ยงดูรายเดือนจะไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท โดยพิจารณาจากฐานะ, อาชีพ และรายได้ของคุณพ่อคุณแม่ เพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อบุตร

ขอศาลบังคับคดี

หากศาลมีคำพิพากษาแล้วว่าให้คุณพ่อส่งค่าเลี้ยงดูบุตร แต่คุณพ่อยังเพิกเฉยไม่ชำระ คุณแม่สามารถยื่นขอคำบังคับคดีจากศาล เพื่อออกคำสั่งให้อายัติเงินเดือน หรือทรัพย์สินอื่น ๆ มาเป็นค่าเลี้ยงดูบุตรได้ และ/หรือ คุณพ่อมีเงินที่จะจ่าย แต่ไม่ยอมจ่าย สามารถขอให้ศาลสั่งจำคุกได้เลยชั่วคราวเป็นครั้ง ๆ ไป จนกว่าคุณพ่อจะชำระค่าเลี้ยงดูบุตรตามที่ศาลพิพากษาก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ หากในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงค่าเลี้ยงดูที่มากขึ้น คุณแม่สามารถยื่นต่อศาลขอให้เปลี่ยนแปลงค่าเลี้ยงดูบุตรตามค่าใช้จ่ายที่มีอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงบุตรเป็นหลัก

บางครอบครัวอาจมองว่าทะเบียนสมรสเป็นเพียงกระดาษใบเดียว จริงค่ะเป็นกระดาษใบเดียวแต่กระดาษแผ่นนี้จะมีผลในทางกฎหมายเป็นอย่างมาก ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลดีต่อคุณแม่และลูกน้อยทั้งนั้นนะคะ

อ้างอิงข้อมูล; punpro.com, nitilawandwinner.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP