สิ่งที่ต้องระวังในการเล่นโซเชียลมีเดีย จากสร้างสุขอาจกลายเป็นสร้างทุกข์ให้ตัวเองและลูกได้

ไลฟ์สไตล์

มา ณ วันนี้คงต้องยอมรับกันว่าเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้น และจะมากขึ้นไปอีกเรื่อย ๆ เราเองในฐานะที่เป็นพ่อเป็นแม่คงไม่สามารถที่จะต้านทานการหลั่งไหลของเข้ามาของมันได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราต้องทำต่อไปก็คือ “ทำอย่างไรให้โซเชียลมีเดียสร้างสุขให้เราและลูกมากกว่าความทุกข์

ทุกอย่างมี 2 ด้านเสมอ “โซเชียลมีเดีย” ก็เป็นดาบสองคม ลูกเกิดในยุคดิจิทัลจะไม่ให้เขารู้จักกับหน้าจอเลยก็คงจะลำบาก (เพราะหลักสูตรของอนุบาลก็มีให้เรียนแล้ว) อ่ะ…เดี๋ยวมาดูกันในรายละเอียดเลยค่ะที่ว่าทุกข์นั้นทุกข์อย่างไร

เรื่องจริงจากพ่อแม่ในทุกวันนี้

คุณแม่ท่านหนึ่งมาถามว่า

“ลูกเขียนอักษร ก-ฮ ได้หรือยัง? แล้วภาษาอังกฤษล่ะค่ะ? เขียนได้ไหม?”

ความจริงแล้วเด็กที่อยู่ในวัยอนุบาล 1 พัฒนาการที่สำคัญที่คุณพ่อคุณแม่และทางโรงเรียนจะช่วยกระตุ้นได้ก็คือ เรื่องของการฝึกใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และค่อย ๆ พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ต่อไป เพราะฉะนั้นเรื่องของการเขียนตัวอักษรได้นั้นยังไม่จำเป็นสำหรับเด็กในวัยนี้

คำถามคือ

“เพราะอะไรคุณแม่ท่านนั้นถึงได้กังวลเรื่องนี้?”

เพราะ…คุณแม่ท่านนั้นไปเห็นลูกของเพื่อนที่อยู่ในวัยเดียวกันบนโลกโซเชียล สามารถเขียนได้แล้ว และยังสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากเกินวัย เห็นลูกของคนอื่นทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ดีกว่าลูกของตัวเอง พูดภาษาอังกฤษได้เป๊ะมาก รู้ด้วยแบบไหนสำเนียงอเมริกัน แบบไหนสำเนียงอังกฤษ รวมถึงเรียนได้ที่ 1 เล่นกีฬาก็ชนะตลอด เหล่านี้จึงทำให้คุณแม่เกิดอาการพารานอยด์

“แบบนี้จะบอกว่าโซเชียลมีเดียนั้นอันตรายทำให้เรามีความทุกข์ หรือตัวเราเองที่พาตัวเข้าไปเสพมัน?”

5 สิ่งที่พึงระวังในการเล่นโซเชียลมีเดีย

การเปรียบเทียบ

การเปรียบเทียบในข้อนี้หมายถึง การที่คุณแม่เอาตัวเราไปเปรียบเทียบกับแม่คนอื่น ๆ และเอาลูกเราไปเปรียบเทียบกับลูกของคนอื่น

โน้ตจะพูดอยู่เสมอค่ะว่า “แม่ทุกคนเป็นแม่ที่เก่งและดีที่สุดอยู่แล้ว” แต่…จนกระทั่งเราเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคอื่นนี่แหละ เทียบในทุกด้าน เช่น ความสวย ความรวย สิ่งนั้นเขามี เราไม่มี ทำไมเราไม่มีอย่างเขา ยิ่งคิดก็ยิ่งเป็นทุกข์ ทั้ง ๆ ที่บางครั้งสิ่งที่เรามีก็ดีอยู่แล้ว แบบนี้ยิ่งจะทำให้คุณแม่เป็นทุกข์ มองไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่มี

หรือแม้แต่ในเรื่องของลูก เช่น ทำไมเด็กคนนั้นพูดภาษาอังกฤษได้เป๊ะเลย เด็กคนนั้นได้เรียนเปียโนด้วย ทำไมลูกเราไม่มีอะไรแบบนี้บ้างนะ ทีนี้คุณแม่ก็พยายามไขว่ขว้า ทั้งผลัก ทั้งดันให้ลูกได้ทำบ้าง ทั้ง ๆ ที่ ก่อนหน้านี้ลูกก็มีความสุขดีอยู่แล้ว

การเชื่ออย่างขาดการพิจารณา และแชร์อย่างไม่กลั่นกรอง

ในทุกวันนี้ทุกคนมีสื่ออยู่ในมือ(ถือ) จะโพสต์หรือจะเสพข่าวอะไรก็ได้ แต่…ก่อนจะเชื่อหรือจะแชร์อะไร ควรฉุกคิดนิดหนึ่งว่าข้อมูลนั้น ๆ จะจริงเท็จแค่ไหน ถ้าไม่มั่นใจไม่แชร์เลยดีกว่าค่ะ เพราะอาจผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งเป็นคดีอาญาด้วยนะคะ

เสพข้อมูลเรื่องการเลี้ยงลูกที่มากเกินไป

สำหรับข้อมูลในการเลี้ยงลูกนั้น โน้ตจะคิดอย่างนี้เสมอค่ะว่า “มันคือไกด์ไลน์เท่านั้น” ไกด์ไลน์คืออะไร? สำหรับโน้ตมันก็คือเป็นแค่แนวทาง เป็นตัวเลือก เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้ปรับใช้ให้เหมาะกับลูกของคุณพ่อคุณแม่

แต่การที่คุณพ่อคุณแม่เสพข้อมูลในการเลี้ยงลูกมากไปจนทำให้เกิดความเครียดนั่นแสดงว่า คุณพ่อคุณแม่กำลังพยายามทำให้ตรงตามทฤษฎีทุกอย่าง ซึ่งบางอย่างหรืออาจจะหลายอย่างไม่สามารถใช้ได้กับลูกของคุณพ่อคุณแม่ เพราะฉะนั้น เสพข้อมูลเยอะได้แต่ที่สำคัญ คือ การนำไปประยุกต์ใช้กับลูกต่างหากค่ะ

การโพสต์ภาพลูกในโซเชียลมีเดีย

เรื่องนี้คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องพึงระวังค่ะ จริงอยู่ความที่เราเป็นพ่อแม่เด็ก มีรูปลูกที่น่ารัก แม้จะงอแง ร้องไห้ ภาพที่ลูกโป๊ ลูกทำอะไรตลก ๆ แต่ภาพนั้นจะอยู่บนโลกโซเชียลตลอดไป

เมื่อลูกโตขึ้นและมาเห็นภาพดังกล่าว อาจทำให้ลูกอับอายได้ และอาจโดนกลั่นแกล้งจากสังคม ซึ่งกลายเป็นลูกถูกละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวโดยที่เขาเองไม่สามารถลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิของตัวเองได้เลย

ที่สำคัญ ภาพเหล่านั้นอาจนำไปสู่อันตรายใหญ่หลวงที่คุณพ่อคุณแม่อาจคิดไม่ถึงได้ เช่น การลักพาตัว การล่วงละเมิดทางเพศ ฯลฯ เพราะอย่าลืมว่าในภาพเหล่านั้นมีรายละเอียดของชื่อโรงเรียน ชื่อเด็ก ที่อยู่ รวมถึงกิจวัตรที่เด็กทำเป็นประจำ

ออกไปหาประสบการณ์จากภายนอก

“ความคิดสร้างสรรค์หาไม่ได้จากโต๊ะทำงานหาไม่ได้ฉันใด ความคิดสร้างสรรค์ของลูกก็หาไม่ได้จากในบ้านฉันนั้น”

การได้ออกไปหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ข้างนอกในวันหยุดกับครอบครัว ใช้เวลาคุณภาพด้วยกันจะดีกว่าค่ะ

เพราะความสุขที่ได้จากยอดไลค์ไม่ยั่งยืนเท่ากับความสุขที่มีให้กันภายในครอบครัวค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP