5 สิ่งที่คิด vs สิ่งที่เป็น เรื่องการกินของลูก

ไลฟ์สไตล์
JESSIE MUM

หลายเรื่องในชีวิตเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยากจริง ๆ โดยเฉพาะเรื่องของลูก ซึ่งเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่อาจเคยเจอเหตุการณ์เหล่านี้มาบ้างไม่มากก็น้อย เกี่ยวกับการกินของลูก ที่แม้ว่าเราเองซึ่งเป็นพ่อเป็นแม่ และคิดว่ารู้ใจลูกที่สุดแล้ว ก็ยังคาดการณ์ผิดเลย ไปดูกันค่ะกับสิ่งที่คิด vs สิ่งที่เป็น เกี่ยวกับการกินลูก ว่ามีอะไรบ้าง

5 สิ่งที่คิด vs สิ่งที่เป็น

เรื่องราวเกี่ยวกับลูก ยังมีอีกหลายด้านที่แม้ว่าคนเป็นพ่อเป็นแม่ก็คาดไม่ถึงค่ะ เรียกได้ว่าถ้าไม่มีลูกจะไม่มีทางได้ล่วงรู้ความลับของจักรวาลเรื่องนี้เด็ดขาด ว่าแล้วไปดูกันค่ะว่าในเรื่องการกินของลูกมีอะไรที่คาดไม่ถึงกันบ้าง

แพ้ทางข้าวเหนียว ไก่ย่าง

แพ้ทางข้าวเหนียวไก่ย่าง

สิ่งที่คิด

ขนาดว่าเมื่อวานลูกบอกเองนะ ว่าอยากกินสปาเก็ตตี้ อยากกินข้าวผัด แถมด้วยแพนเค้ก เราก็ทำอย่างสุดฝีมือ แต่ก็รู้สึกแปลก ๆ อยู่ เพราะอย่างแพนเค้ก ลูกไม่เคยกิน ก็เลยเข้าใจไปว่า เขาคงอยากลองมั้ง และเราก็คิดว่าลูกน่าจะชอบ ก็ทำเต็มที่เลย ตั้งใจอย่างมาก คิดว่าลูกขอเอง น่าจะกินได้

สิ่งที่เป็น

พอได้เวลาทานข้าว เราก็เอาอาหารที่ลูกอยากกินมาจัดวางที่โต๊ะ…เท่านั้นแหละพอเห็นพ่อซื้อข้าวเหนียวไก่ย่างมา ทิ้งทุกอย่างที่ขอเองเมื่อวานเลยค่ะ หันไปอร่อยกับข้าวเหนียวแทนซะอย่างนั้น

ฝึกให้ลูกกินเอง

ฝึกลูกกินเอง

สิ่งที่คิด

เค้าว่ากันว่าเมื่อลูกสามารถที่จะกำมือ หยิบจับอาหารได้แล้ว มีฟันขึ้นบ้างแล้ว แบบเพียงพอที่จำสามารถกัดอาหารที่นิ่ม ๆ ได้แล้ว ให้ลองฝึกลูกให้กินด้วยตัวเอง หรือ BLW (Baby-Led Weaning) ในสิ่งที่เราคิด เราก็ว่าลูกคงจะกินเลอะเทอะบ้าง มีอาหารเข้าปากบ้าง มากบ้างน้อยบ้างก็ไม่เป็นไร เพราะถือว่าเป็นการฝึกพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กของลูก แต่ที่ไหนได้…

สิ่งที่เป็น

ลูกหยิบอาหารเข้าปากคำเดียว นอกนั้นหยิบขว้างทางโน้นที ทางนี้ที สนุกเลย แต่แม่อย่างเราก็ได้เรียนรู้ไปด้วยค่ะ ว่าถ้าให้ลูกฝึกกินแบบนี้ เราต้องเตรียมอาหารสำหรับการป้อนลูกอีกหนึ่งจาน เรียกได้ว่าสำหรับการกินจริง 555

เมนูใหม่อาจไม่เวิร์ค

เมนูใหม่อาจไม่เวิร์ค

สิ่งที่คิด

ด้วยหลักทฤษฎีบอกไว้ว่า ถ้าลูกเบื่อข้าว, เป็นเด็กที่เลือกกิน รวมถึงเป็นเด็กกินยาก ให้คุณแม่ลองทำอาหารเมนูใหม่ ๆ จัดหน้าตาอาหารให้ดูน่าทาน มีสีสันจากผักธรรมชาติที่ดึงดูดความสนใจ เราก็คิด ๆ ๆ ว่าจะทำอะไรที่ลูกกินดี

สิ่งที่เป็น

พอถึงเวลากินข้าว ด้วยความหวังของเราผู้ซึ่งเป็นแม่และทุ่มเทในการทำอาหารให้ลูกกิน ก็หวังว่าลูกจะตื่นเต้น และกินกันได้เยอะขึ้น เพราะถึงแม้ว่าหน้าตาจะดูใหม่ แต่ส่วนผสมอื่น ๆ ก็ไม่ได้ต่างจากเดิมที่เขาชอบเท่าไหร่ สุดท้ายลูกนั่งกินไม่กี่คำ เรียกได้ว่าน้อยกว่าปกติอีก แม่ก็เลยคิดว่าสงสัยจะ….ไม่อร่อย 555

อิ่มข้าว ไม่อิ่มขนม

อิ่มข้าว ไม่อิ่มขนม

สิ่งที่คิด

คนเป็นพ่อเป็นแม่ ร้อยทั้งร้อยนะคะ เชื่อเลยค่ะว่าถ้าได้เห็นลูกกินข้าวได้เยอะนี่คือ เป็นอะไรที่อิ่มเอมใจมาก เพราะนั่นแปลว่าลูกก็จะกินขนมได้น้อยลง ซึ่งวันหนึ่งเราก็เห็นว่าลูกกินข้าวได้เยอะ กินหมดจาน แถมเติมอีกด้วย เราก็กระหยิ่มยิ้มย่องในใจว่า “เสร็จแม่ล่ะ…กินขนมได้น้อยแน่เลย ดีแล้ว” ที่ไหนได้…

สิ่งที่เป็น

พอลูกกินข้าวเสร็จ ร้องขอกินขนมต่อเลย แม่อย่างเราก็เตรียมตัวเตรียมใจไว้แล้ว คิดว่ากินน้อยแน่ ๆ เพราะเพิ่งกินข้าวเสร็จ เราก็เอาขนมมาให้ลูกเรียกว่าก็หลายอย่างดู พอลูกกินได้ไปอย่างหนึ่ง จะขอกินโดนัทต่อ เราก็เลยถามลูกว่า “เมื่อกี้หนูบอกว่าหนูอิ่มข้าวแล้วไม่ใช่หรอลูก?” ลูกตอบมาซะแม่ไปเป็นเลย “ก็หนูอิ่มข้าวค่ะ…ไม่ได่อิ่มขนม”

ชอบแบ่งปัน

ชอบแบ่งปัน

สิ่งที่คิด

เวลาเข้าร้านสะดวกซื้อ ลูกก็มักจะหยิบขนมที่คุ้นเคยที่เค้าชอบกิน แต่ก็จะมีบางอย่างที่เค้าอยากลองสิ่งใหม่ ๆ ขนมใหม่ ๆ พอเราเริ่มเห็นลูกหยิบอย่างมีความสุข ขนมเริ่มเยอะ เราก็เริ่มกลัว กลัวว่าลูกจะกินไม่หมด ก็เลยถามลูกว่า “หนูกินกี่วันลูก กินหมดหรอคะ?” ลูกตอบ “หมดค่ะ” ที่ไหนได้…

สิ่งที่เป็น

พอลูกกินขนมอย่างแรกหมดเรียบร้อย พอเริ่มอย่างที่ 2 อย่างที่ 3 หรือเจอบางอย่างที่ไม่อร่อย ลูกเริ่มมาแล้วค่ะ “หม่าม้า…หนูให้” “ป่าป๊า…หนูให้” ตอนแรกคิดว่าใจดี ลูกเริ่มเรียนรู้เรื่องการแบ่งปัน แต่พอเริ่มแบ่งปันเยอะ ๆ เข้าจนหมดถุง ลูกมาสารภาพว่า “ไม่อร่อย”

นี่แหละค่ะ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเจอเมื่อมีลูก แต่ยังไม่ได้มีแค่เท่านี้นะคะ ยังมีอีกหลายเรื่องราวเลยที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องเจอ และต้องอึ้ง จะเป็นเรื่องอะไรอีกบ้างอย่าลืมติดตามกันนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP