ตอนที่แม่โน้ตท้องก็คิดว่าของใช้เด็กแรกเกิดมีเยอะแหละ แต่คงไม่ได้เยอะมากเท่าไหร่ แต่โชคดีที่มีฝาชี เอ้ย! สามีคอยดูแลให้ พอเราเอาของรวบรวมแล้วกองรวมกัน ที่ไหนได้…เอาเรื่องเหมือนกันแห๊ะ คุณแม่ทั้งหลายอย่าชะล่าใจเด็ดขาด ไปค่ะ ไปดูกันว่าของใช้เด็กที่ต้องเตรียมมีอะไรบ้าง
สารบัญ
หมวดเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
- เสื้อป้ายแบบผูกหน้า สวมใส่ง่าย และเนื้อผ้าเบาสบายสำหรับทารก
- เสื้อป้ายแบบผูกหน้าแขนสั้น พร้อมกางเกงขาสั้น 4-5 ชุด
- เสื้อป้ายแบบผูกหน้าแขนสั้น พร้อมกางเกงขาสามส่วน 4 ชุด
- เสื้อป้ายแขนยาว พร้อมกางเกงขายาว 4 ชุด
- เสื้อ สำหรับเที่ยว ข้อนี้เตรียมไว้ไม่ต้องเยอะนะคะ เพราะในช่วง 3 เดือนแรก คุณหมอและพยาบาลกำชับเลยค่ะว่าอย่าเพิ่งให้ลูกน้อยได้ออกไปไหน
- ถุงมือและถุงเท้า อย่างละ 4-5 คู่ (สำหรับมือของลูกน้อย ให้คุณแม่หมั่นตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ ซึ่งถุงมือก็จะไม่ได้สวมอยู่ตลอด เพราะจะมีผลต่อพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กค่ะ) ส่วนถึงเท้าอาจเลือกขนาดให้ใหญ่ขึ้นมานิดหน่อย เพราะจะได้ไม่หลุดง่าย ผนวกกับเด็กโตไวค่ะ
- หมวกเด็กอ่อน 2 ใบ
- ผ้ากันเปื้อน 2-3 ผืน (บทความแนะนำ : รีวิว ผ้ากันเปื้อนเด็ก 10 ยี่ห้อ แบบไหนเหมาะกับวัยใด)
- ผ้าห่อตัว แนะนำเป็นผ้าสาลูเพราะแม้ซักไปแล้วบ่อยครั้ง ผ้าจะไม่มีขนเหมือนผ้าสำลี ซึ่งผ้าสำลีจะจะทั้งแข็งและมีขนเยอะ ทั้งนี้ ผ้าสาลูความีขนาด 30×30 เซนติเมตร จำนวน 1-2 โหล
- กางเกงผ้าอ้อม 1 โหล ถ้าคุณแม่คนไหนที่ไม่ต้องการให้ลูกใช้แต่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพราะกลัวผดผื่น สามรถใช้กางเกงผ้าอ้อมได้ค่ะ แต่ต้องเตรียมเยอะนิดหนึ่ง เพราะเมื่อลูกปัสสาวะออกมาแล้วเราต้องนำไปซักทันที
แม่โน้ตเคยใช้ค่ะ แค่ครึ่งวันใช้ไปแล้ว 6 ตัว ซักไม่ทันเลยทีเดียว
- เข็มกลัดซ่อนปลาย
- ผ้าอ้อมสำเร็จรูป สำหรับเด็กแรกเกิด จำนวน 1 ห่อ (บทความแนะนำ : รีวิว 10 แบรนด์ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ยี่ห้อไหนดี แห้งเร็ว ซึมไว คุ้มราคา)
หมวดชะล้าง ทำความสะอาด
- อ่างอาบน้ำเด็ก แนะนำซื้อใบใหญ่เลยค่ะ เลือกที่มีรูระบายน้ำออกด้านล่าง (บทความแนะนำ : รีวิว 10 อ่างอาบน้ำเด็ก ยี่ห้อไหนดี ใช้ดี คุณภาพเยี่ยม สมราคา)
ปัจจุบันนี้มีที่รองให้ทารกนอนสำหรับอาบน้ำจำหน่ายแล้ว เพราะฉะนั้นคุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าจะอาบน้ำแล้วลูกหลุดมือ เพราะอ่างใหญ่
- เก้าอี้สำหรับอาบน้ำ 1 ตัว
- สบู่ แชมพู Top to toe ขวดเดียวจบทั้งสระผมและถูตัว สูตรอ่อนโยนหรือ สูตร No more tear แนะนำเป็นขวดปั๊ม เพราะสะดวกต่อการใช้งาน (บทความแนะนำ : รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์)
ก่อนซื้อให้คุณพ่อคุณแม่อ่านฉลากข้างบรรจุภัณฑ์นะคะ เพราะแต่ละแบรนด์จะมีระบุว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เหมาะกับเด็กอายุเท่าไหร่
- โลชั่นหรือเบบี้ออยล์ (บทความแนะนำ : 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่)
- แป้งเด็ก (บทความแนะนำ : รีวิว 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี คุ้มค่า พร้อมวิธีการเลือก)
ข้อนี้กากบาทตัวโต ๆ ว่าการทาแป้งให้ลูกน้อยไม่ควรโรยผงแป้งลงโดยตรงที่ผิวลูก เพราะด้วยผงที่มีอนุภาคเล็ก อาจเกิดการสะสมที่ระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้ลูกมีปัญหาด้านการหายใจได้ แนะนำให้โรยที่มือคุณแม่ก่อนแล้วแบ่งทาที่ตัวลูกทีละส่วนค่ะ
- สำลีก้านเล็ก สำหรับเช็ดรูจมูก
- สำลีก้านใหญ่ สำหรับเช็ดรูหู และใบหู
- สำลีก้านธรรมดา ไว้สำหรับเช็ดสะดือ
หรือ…ด้วยปัจจุบันเศรษฐกิจแบบนี้ คุณแม่สามารถใช้สำลีก้านเล็กแบบเดียวเลยก็ได้ค่ะ เพราะประเด็นอยู่ที่บริเวณและน้ำหนักมือในการเช็ดทำความสะอาดมากกว่า ประหยัดได้ก็ดีกว่าเนอะ
- สำลีก้อน ผ่านการฆ่าเชื้อโรคและไม่มีเส้นใยตกค้าง
- ทิชชู่เปียกสำหรับเช็ดก้น แนะนำว่าเตรียมไว้เยอะ ๆ เลยค่ะ
- ผ้าขนหนูเช็ดตัว 2 ผืน ผืนหนึ่งเช็ดตัว อีกผืนหนึ่งเอาไว้ห่อตัวหลังอาบน้ำเสร็จ
- ผ้าขนหนูผืนเล็ก
- น้ำยาซักผ้าเด็ก
- น้ำยาปรับผ้านุ่มเด็ก
- แปรงล้างขวดนมและแปรงล้างจุกนม (บทความแนะนำ : รีวิว 10 แปรงล้างขวดนม ยี่ห้อไหนดี ล้างได้สะอาด ทนทาน)
- แปรงล้างไส้หลอด สำหรับล้างที่ดูดน้ำมูก และหลอดต่าง ๆ
- น้ำยาล้างขวดนม (บทความแนะนำ : รีวิว 10 น้ำยาล้างขวดนม ยี่ห้อไหนดี สะอาด ไร้สารตกค้าง)
หมวดเครื่องนอน
- เตียงไม้
- เบาะนอน แนะนำเป็นเบาะที่ไม่แข็งและไม่นุ่มจนเกินไป ลองกะน้ำหนักลูกทีเมื่อนอนลงไปที่เบาะแล้วไม่ยวบลงไปมาก
- ผ้าปูที่นอน
- ผ้าห่ม
- ผ้ายาง
- มุ้งเตียง
- มุ้งครอบ
- เปลโยก
- หมอนหนุน (บทความแนะนำ : 10 หมอนสำหรับเด็ก ยี่ห้อไหนดี ที่คุณแม่เลือกใช้)
- หมอนข้าง เพื่อกันตัวเด็กขณะหลับ
- รถเข็นเด็ก
- คาร์ซีท จำเป็นมากค่ะ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
หมวดอุปกรณ์กินอาหารและนม
- เครื่องปั๊มนมคุณแม่ (บทความแนะนำ : 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี)
- แผ่นซับน้ำนม แนะนำให้ซื้อแบบใช้แล้วทิ้งค่ะ เพราะถ้าหากใช้แบบซักแล้วนำกลับมาใช้ใหม่อาจมีเชื้อโรคสะสมอยู่ ไม่ดีต่อลูกน้อย (บทความแนะนำ : รีวิว 10 แผ่นซับน้ำนม ยี่ห้อไหนดี ไม่อับชื้น ไม่ระคายเคือง)
- ขวดนมแบบ 4 ออนซ์ และ 8 ออนซ์ อย่างละ 4 ขวด (บทความแนะนำ : 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี)
- ถุงเก็บน้ำนม
- ปากกาเขียน CD สำหรับเขียนรายละเอียดบนถุงเก็บน้ำนม
- ชุดป้อนยา จะซื้อแบบที่เหมือนจุกขวดนม หรือจะใช้ syringe ก็ได้ค่ะ
แม่โน้ตก็ใช้ syringe ค่ะ เพราะน้องมินคุ้นเคย เวลาไม่สบายแล้วต้องเข้า รพ. ซึ่งก็จะช่วยประหยัดเงินคุณแม่ไปได้เยอะเลย
- เครื่องนึ่งขวดนม
- หมอนรองให้นม
- กระเป๋าเก็บอุณหภูมิ
- ครีมทาหัวนมแตก (ข้อนี้ยังไม่ต้องซื้อก่อนก็ได้ค่ะ ถ้าคุณแม่ให้ลูกเข้าเต้าอย่างถูกวิธีนะ)
- กันเปื้อนแบบพลาสติก (ข้อนี้ซื้อตอนที่ลูกอายุ 6 เดือนแล้วก็ได้ค่ะ)
- ผ้าคลุมให้นม
หมวดของใช้เบ็ดเตล็ด
- ตะกร้าใส่ของของลูก
- กรรไกรตัดเล็บสำหรับเด็ก
- ที่ดูดน้ำมูก หรือลูกยางแดง
- กระเป๋าใส่ของใช้เด็กเล็ก
- ปรอทวัดไข้
- เจลแปะหัวลดไข้
- มหาหิงส์
ข้อนี้แม่โน้ตแชร์ให้เพื่อประกอบการพิจารณาของคุณพ่อคุณแม่นะคะ ตอนที่น้องมินจะออกจาก รพ. เพื่อกลับบ้าน หัวหน้าพยาบาลห้องเด็กแรกเกิดบอกกับแม่โน้ตว่า มหาหิงส์ ไม่ควรทา เพราะด้วยกลิ่นที่ฉุนจะมีผลต่อเยื่อบุจมูกของลูกได้ ซึ่งเราเองก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ แต่ก็ทำตามที่พยาบาลแนะนำค่ะ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละครอบครัวนะคะ
- วาสลีน
- โลชั่นหรือครีมทากันยุงสำหรับเด็ก
- ตู้เสื้อผ้า หรือที่เก็บเสื้อผ้าลูก
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับของใช้เด็กแรกเกิดที่แม่โน้ตนำมาเข้าในเช็คลิสต์วันนี้ น่าจะครบถ้วนกระบวนความแล้วค่ะ ลองนำไปใช้กันดูนะคะ