EDUCA ผนึก TPF เปิดความสำเร็จโรงเรียนแนวคิด PLC หนุนสร้างระบบโค้ชชิ่งยกระดับการเรียนรู้นักเรียนอย่างมีคุณภาพ

ข่าวประชาสัมพันธ์
JESSIE MUM

แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC (Professional Learning Community) เป็นการทำงานแบบร่วมมือรวมพลังของครูและผู้อำนวยการโรงเรียนเพื่อดำเนินงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย โดยเป็นหนึ่งในนโยบายที่กระทรวงศึกษาธิการมอบหมายให้สถานศึกษานำกระบวนการ PLC ไปใช้ในการการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพของนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

แนวคิดนี้ยังเป็นประเด็นที่ บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ผู้จัดงานมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู (EDUCA) ให้ความสำคัญ และนำไปเป็นหัวข้อเวิร์คชอปงาน EDUCA หลายครั้ง รวมถึงเป็นประเด็นของการอบรมในกลุ่มผู้อำนวยการผู้นำ (Thailand Principals Forum: TPF) ผ่านงานสัมมนา “ถอดบทเรียนความสำเร็จในการใช้ PLC ยกระดับคุณภาพของเด็กไทย” ซึ่งจัดขึ้นที่สามย่านมิตรทาวน์เมื่อเร็วๆ นี้

งานสัมมนาถอดบทเรียนความสำเร็จในการใช้ PLC ยกระดับคุณภาพของเด็กไทย

“กระทรวงศึกษาธิการมอบหมายให้ทุกโรงเรียนทำ PLC แต่คำว่า PLC ของแต่ละแนวคิดหรือแต่ละสำนักไม่เหมือนกัน ซึ่งไม่มีใครผิด จะทำแนวทางไหนก็ได้ สำคัญอยู่ที่ว่าต้องมีจุดมุ่งหมายว่าต้องการแก้ปัญหาอะไร ในส่วนของกลุ่ม TPF เราต้องการยกระดับคุณภาพของเด็กทุกคน และยกระดับคุณภาพห้องเรียน ดังนั้น PLC ของเราจึงลงไปถึงห้องเรียนที่ส่งเสริมให้เด็กทุกคนช่วยเหลือซึ่งกันและกันผ่านการเรียนเป็นกลุ่มที่คละระหว่างเด็กเก่ง เด็กเรียนได้ดีปานกลาง และเด็กอ่อน เพื่อเกิดการดูแลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปด้วยกัน ซึ่งต้องทำให้เกิดเป็นนิสัยที่ติดตัวไปตลอด เพราะเป็นทักษะชีวิตที่ต้องนำไปใช้กับการทำงานด้วย”

รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตพัฒนาและประธานกลุ่ม TPF

รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตพัฒนาและประธานกลุ่ม TPF ให้ความคิดเห็นต่อแนวทาง PLC ในไทย

โดย TPF เป็นกลุ่มผู้อำนวยการโรงเรียนที่รวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาของไทยผ่านการสนับสนุนของ บมจ. ปิโก (ไทยแลนด์) ซึ่งที่ผ่านมาได้จัดกิจกรรมประชุมและสัมมนาให้กับครูและผู้อำนวยการในประเด็นต่างๆ ทั้งนั้น TPF มองว่า PLC เป็นเครื่องมือที่สามารถแก้ปัญหาการศึกษาไทยและปฏิรูปโรงเรียนให้เข้มแข็งได้ เพราะนักเรียนจะได้รับการดูแลจากครูอย่างเสมอภาคและทั่วถึง

“โรงเรียนจะเปลี่ยนแปลงได้ก็ต่อเมื่อมีการขยับไปทั้งองคาพยพ ดังนั้น ผู้บริหารหรือผู้อำนวยการโรงเรียนต้องเข้าใจเรื่อง PLC อย่างถ่องแท้ และต้องเปลี่ยนตัวเองก่อนไปปรับกลุ่มครูให้พวกเขาปรับการสอนจากเดิมที่ต่างคนต่างสอนมาเป็นการจับคู่บัดดี้กันของเพื่อนครู แล้วช่วยกันปรับหรือหาแผนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนให้ได้มากที่สุด ซึ่งการดำเนินงานตามแนวคิด PLC จะทำให้ครูเปลี่ยนการเรียนการสอนในห้องเรียนที่สามารถทำให้นักเรียนทุกคนได้รับความรู้อย่างเท่าเทียม”

ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและประสบความสำเร็จจากการนำแนวคิด PLC ไปใช้คือการพลิกโฉมโรงเรียนเมืองกระบี่ จากเดิมเป็นโรงเรียนที่ประสบปัญหาและขาดแคลนในหลายเรื่องมาเป็นโรงรียนอันดับต้นๆ ของจังหวัด ที่ผู้ปกครองเลือกส่งลูกหลานเข้าเรียนต่อ เพราะนักเรียนมีการเรียนรู้และพฤติกรรมที่ดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดย ผอ.วสันต์ ปัญญา ผู้อำนวยการ ร.ร.เมืองกระบี่ บอกว่าผู้บริหารไม่ควรใช้การสั่งหรืออำนาจในการสร้างการเปลี่ยนแปลง แต่ต้องเริ่มจากการเปิดหัวใจเพื่อนครูให้เห็นถึงความสำคัญของ PLC ก่อนขยับไปสู่การปรับการสอน หลังจากนั้นเป็นการเปิดหัวใจนักเรียนผ่านกิจกรรมต่างๆ ซึ่งการทำโรงเรียนให้เป็นฐานการเรียนรู้ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับนักเรียนทั้งด้านวิชาการและเกิดพฤติกรรมเชิงบวกอีกด้วย

“การทำ PLC ของเราเริ่มจากการจัดเวิร์คชอปให้กับเพื่อนครู โดยครูทุกคนต้องนำแผนการสอนมาดูข้อมูลร่วมกัน แล้วให้วางแผนการโค้ชชิ่งกันว่าในหนึ่งภาคเรียนจะมีการจับคู่กันอย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะให้ครูต่างวิชาจับคู่กันเพื่อให้พวกเขาได้รับคำแนะนำจากมุมมองของคนที่สอนต่างกัน หลังจากนั้น เมื่อสอนจบในแต่ละเดือนจะมีการจัดประชุมเพื่อสรุปกิจกรรม ก็จะให้ครูทุกคนมาร่วมกันถอดบทเรียน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการปรับการสอนต่อไป”

ผอ.วสันต์ มองว่า กระบวนการ PLC นั้นเชื่อมโยงกับมิติทางสังคม เพราเป็นเหมือนการสร้างกิจกรรมที่ทำให้ครูได้ใช้เวลาด้วยกัน จากเดิมต่างคนต่างอยู่หรือต่างคนการสอน แต่การโค้ชชิ่งทำให้พวกเขาได้มาเจอกันบ่อยครั้งมากกว่าเดิม ได้ฝึกการเป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี เสริมให้เกิดความเข้าใจกัน พร้อมทำงานเป็นทีมได้ รวมถึงส่งผลดีต่อปฏิสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีตามมา

สอดคล้องกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนสาธิตพัฒนา ซึ่ง ครูณัฐนันท์ ชาติสกุลศักดิ์ หัวหน้าระดับชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนสาธิตพัฒนา บอกว่า การทำ PLC ทำให้ครูมีการพูดคุยอย่างเปิดใจมากขึ้น จากเมื่อก่อนที่อาจมีความเกร็งเมื่อเพื่อนครูมาสังเกตการสอน หรือวิจารณ์แผนการสอนของตน รวมถึงเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ของกลุ่มครู เพราะบางครั้งครูต่างวัยได้มาจับคู่เป็นโค้ชให้กัน ทำให้พวกเขามีการปรับตัว และเปิดกว้างทางความคิดในการฟังเสียงสะท้อนด้านการสอนจากคนที่มีประสบการณ์การสอนไม่เหมือนกัน

ดังนั้น เมื่อมีเพื่อนครูมาช่วยแนะนำแผนการสอน ก็จะทำให้เกิดการปรับวิธีการสอนที่สอดรับกับการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเด็กจะได้เจอกับกระบวนการสอนแบบ active learning ได้ลงมือทำ เกิดการเรียนรู้ ตั้งคำถาม และตอบคำถาม โดยครูอาจเริ่มจากการให้เด็กเรียนแบบเดี่ยวก่อนและเพิ่มปรับเป็นการเรียนแบบคู่ ก่อนที่จะขยายไปเป็นการเรียนเป็นกลุ่มสำหรับเด็กโต ซึ่งการเรียนรูปแบบนี้จะเสริมเรื่องการเข้าสังคมของเด็ก ขณะเดียวกัน การทำกิจกรรมกลุ่มบ่อยๆ เป็นเหมือนการสร้าง PLC ให้กับนักเรียนด้วย เพราะพวกเขาจะรับฟังกัน สังเกตว่าเพื่อนชอบหรือไม่ชอบสิ่งไหน และเกิดการยอมรับในที่สุด

“ปีที่ผ่านมาเราเริ่มทำ symposium ในโรงเรียน โดยให้ครูทุกระดับมาร่วมพูดคุยกันว่าประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหนในการทำ PLC ซึ่งเป็นข้อมูลที่รวบรวมมาจากแต่ละระดับชั้น เพื่อให้เห็นภาพเล็กและภาพใหญ่ไปพร้อมกัน หลังจากประชุมกันแล้วจะมีการสรุปกันว่าแผนการสอนของปีหน้าจะเป็นอย่างไร ครูสามารถนำแผนที่ถูกปรับไปใช้ในปีการศึกษาถัดไปได้เลย โดยร.ร.สาธิตพัฒนาคาดว่าอีก 2-3 ปี เราจะมีแผนการสอนที่สมบูรณ์ ซึ่งเกิดจากการระดมความคิดของครูทุกคน เพื่อเป็นแนวทางให้กับครูในการไปปรับใช้กับแผนการสอนของตนเอง”

การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้แสดงให้เห็นว่า PLC เป็นเหมือนวัฒนธรรมองค์กรในแง่ของการช่วยเหลือกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการสอนหรือประเด็นอื่นๆ ซึ่งครูและผู้อำนวยการโรงเรียนก็จะช่วยกันคิดและหาวิธีแก้ไข ซึ่งในด้านหนึ่งถือว่าเป็นการสานความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งในองค์กร พร้อมทั้งส่งผลเชิงบวกต่อการพัฒนาเด็ก ห้องเรียน และโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP