BLW (Baby-Led Weaning) คืออะไร? พร้อมวิธีการฝึกที่ถูกต้อง

เลี้ยงลูก
JESSIE MUM

ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ อยากมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อยแล้ว มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเรียนรู้เทคนิค BLW (Baby-Led Weaning) หรือเป็นที่รู้จักกันว่า BLW ซึ่งหมายถึง การฝึกลูกน้อยของเราทานข้าวเอง เพื่อเป็นการฝึกทักษะการใช้มือ ตั้งแต่การหยิบจับอาหารอย่างไรไม่ให้หลุดมือ, การนำอาหารเข้าปากทำอย่างไร และความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เป็นการฝึกทั้งทักษะทางร่างกาย และทักษะทางสมอง จะทำให้ลูกน้อยของเรานั้น มีการพัฒนาการที่รวดเร็ว

อาหาร BLW สำหรับลูกน้อยมีอะไรบ้าง

สำหรับอาหาร BLWที่นำมาฝึกลูกน้อยนั้น ควรเป็นอาหารที่มีโภชนาการอาหารที่ดีต่อลูกน้อย โดยเรายกตัวอย่าง แยกเป็นหมวดหมู่ให้ดังนี้

  • อาหาร BLW ประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่, เนื้อหมู, เนื้อวัว, ไข่ต้ม, เต้าหู้ และเนื้อปลาแบบไม่มีก้าง
  • อาหาร BLW ประเภทผัก เช่น บรอกโคลี, กะหล่ำ, แครอท, กะหล่ำปลี, หน่อไม้ฝรั่ง และ ผักคะน้า
  • อาหาร BLW ประเภทผลไม้ เช่น กล้วย, แอปเปิล, ส้ม, สตรอเบอร์รี่, สับปะรด, มะละกอ, แตงโม และลูกพลัม
  • อาหาร BLW ประเภทแป้ง เช่น มันฝรั่ง, ข้าว, พาสต้า, ขนมปัง,

ข้อดีของ BLW (Baby-Led Weaning) สำหรับลูกน้อย

  1. ได้ฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของลูกน้อย ตั้งแต่ การมองเห็น, การสัมผัส, การดมกลิ่น, การรับรู้รสชาติ และการได้ยินเสียง
  2. ฝึกทักษะการช่วยเหลือตัวเอง ของลูกน้อย เรียนรู้ว่าตอนไหนหิว ก็รู้ว่าทำอย่างไร ถึงจะหายหิว แล้วตอนไหนที่อิ่ม ทานในปริมาณเท่าไหร่ ใช้เวลานานเท่าไหร่ เค้าถึงจะหยุดกิน
  3. ได้ฝึกทักษะการจดจำ เสริมสร้างการรับรู้ทางสมอง อย่างเช่น รสชาติผลไม้ที่ชอบ, ผักที่ไม่ชอบ, เนื้อมีผิวสัมผัสอย่างไร
  4. ได้เรียนรู้การฝึกทานอาหารอย่างอิสระ พร้อมเสริมความภาคภูมิใจให้กับลูกน้อย ที่สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง
  5. ได้ฝึกการทานอาหารที่ครบถ้วน โดยการกำหนดเมนูในอาหารแต่ละมื้อ ที่เหมาะสม เลี่ยงปัญหาโรคอ้วน และช่วยควบคุมแคลอรีให้กับลูกน้อย อีกทั้งยังเป็นการฝึกให้ลูกน้อย ทานผักเป็นตั้งแต่เด็กอีกด้วย

ข้อเสีย BLW (Baby-Led Weaning) สำหรับลูกน้อย

  1. เมื่อลูกน้อยทานเอง อาจจะส่งผลให้มื้อนั้น เลอะเทอะเป็นพิเศษ คุณพ่อคุณแม่ ต้องเสียเวลาทำความสะอาดนาน
  2. หากเราตามใจลูกน้อย ในการเลือกหยิบทานอาหารในเมนูนั้น อาจจะทำให้ลูกน้อย ได้สารอาหารไม่ครบถ้วนได้ และอาจจะทำให้ลูกน้อย มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
  3. ต้องนั่งเฝ้าอย่างใกล้ชิด ไม่สามารถปล่อยให้ลูกน้อย นั่งทานอาหารเองได้
  4. อาจจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้ มีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเรียนรู้การช่วยเหลือลูกน้อยในเบื้องต้น อย่างเช่น หากมีอาหารติดคอ หรือลูกสำลักอาหาร จะทำอย่างไร

วิธีการฝึกลูกน้อย ตามแบบฉบับ BLW (Baby-Led Weaning) ยากไหม?

การที่ฝึกให้ลูกของเรา ฝึกทักษะในการทานอาหารด้วยตัวเอง อย่างBLW (Baby-Led Weaning)นั้น จะทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้เห็นพัฒนาการของเค้าดีขึ้นเรื่อยๆ แล้วเราจะภูมิใจในตัวลูกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ ที่เค้าสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มีความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดีขึ้นไปด้วย เรามาดูกัน ว่าควรทำอย่างไรบ้าง

ฺBLW เริ่มฝึกได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่

โดยปกติ ทางผู้เชี่ยวชาญ แนะนำให้สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ ลูกน้อยอายุ 6 เดือนขึ้นไป แต่เราควรคำนึงถึงเรื่องอื่นเพิ่มเติมดังนี้ว่า ลูกน้อยของเราจะต้อง สามารถเริ่มจับคว้า สิ่งของอะไรเองได้แล้ว แล้วลูกเราสามารถนั่งเองได้หรือยัง เพราะกระบวนการทานอาหารแบบ BLWนั้น หากลูกน้อยนอนทาน จะส่งผลเสียต่อระบบกระเพาะอาหาร และลำไส้ได้

BLW มื้อแรกให้ลูกน้อย

เราควรเลือก อาหารที่นิ่ม เช่น กล้วยสุก, อะโวคาโดเนื้ออ่อนนิ่ม, มะม่วงสุก หรือหากอาหารนั้นมีความแข็ง หรือใหญ่จนเกินไป เราสามารถนำไปต้มให้อ่อนนิ่ม แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ทรงเต๋า อย่าง ไข่ต้ม, เนื้อหมู, เนื้อไก่, เนื้อปลา เพื่อให้ทานง่าย หรือฝานเป็นทรงบางๆ เพื่อให้ลูกน้อยสามารถทานได้ง่ายอย่างเช่น, มันต้ม, แครอทต้ม, บรอกโคลีต้ม เพื่อให้ลูกน้อยบดเคี้ยวด้วยเหงือกง่ายยิ่งขึ้น

พ่อแม่ช่วยลูกน้อย ให้ BLW (Baby-Led Weaning) ได้อย่างไร

หากต้องการให้ลูกน้อยเก่ง และสามารถฝึก BLW (Baby-Led Weaning) ได้อย่างต่อเนื่อง เราควรเลี่ยงอาหารอย่าง ถั่ว, องุ่น, เชอร์รี่, มะเขือเทศราชินี, แอปเปิลดิบ, ผลไม้แห้ง, เนยถั่ว, ฮอตดอก, เนื้อสัตว์ชิ้นใหญ่, ชีสชิ้นใหญ่, ปลาที่มีก้าง, ป๊อปคอร์นและ ขนมขบเคี้ยวกรุบกรอบ ไม่ควรนำมาฝึก BLW ให้กับลูก และต้องเฝ้าลูกน้อยอย่างใกล้ชิด ในระหว่างที่ทานอาหารเพื่อสังเกตว่ามีอาการอะไรผิดปกติหรือไม่ เพื่อที่เราจะช่วยเหลือได้ทันนั่นเอง

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP