โรคชิคุนกุนยาคืออะไร? จะป้องกันได้อย่างไร ?

เลี้ยงลูก
JESSIE MUM

โรคชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อ โรคร้ายที่คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกน้อยภายในครรภ์ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เป็นโรคที่เกิดจากพาหะนำโรคอย่างยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคเดียวกันกับโรคไข้เลือดออก จะพบได้ค่อนข้างมากในช่วงหน้าฝน ผู้ใหญ่บางคนยังไม่เข้าใจว่าโรคนี้คืออะไร แตกต่างกับโรคไข้เลือดออกอย่างไรบ้าง ซึ่งมันเป็นโรคที่เมื่อรักษาหายแล้ว แต่จะยังพบอาการบางอย่างที่ยังคงไม่หายไป

โรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก

โรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก มีพาหะนำโรคชนิดเดียวกัน นั่นก็คือยุงลาย มีความรุนแรงคล้าย ๆ กัน แต่จะไม่ร้ายแรงถึงชีวิต ซึ่งจะสามารถจำแนกออกจากกันได้ และหากพบโรคชิคุนกุนยาในวัยเด็กอาจส่งผลกระทบถึงขั้นร้ายแรงกับอวัยวะภายในร่างกายได้

โรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกสามารถจำแนกอาการได้ดังนี้

อาการของโรคชิคุนกุนยา

  • ไข้สูงอย่างเฉียบพลัน อาจวัดไข้ได้ถึง 40 องศาเซลเซียส แต่สามารถมีอาการดีขึ้นได้ภายใน 2-3 วัน
  • ปวดข้อต่อ ปวดกล้ามเนื้อ แบบเฉียบพลัน หรืออาจพบว่ามีภาวะข้ออักเสบ หากพบโรคชิคุนกุนยาในผู้ใหญ่
  • ตาแดง
  • ผื่นแดง ขึ้นตามตัว แขน และ ขา ไม่มากนัก
  • ไม่มีเกล็ดเลือดต่ำ
  • เบื่ออาหาร อาจมีคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย

อาการของโรคไข้เลือดออก

  • ไข้สูง มากกว่า 38 องศาเซลเซียส และจะมีไข้มากกว่า 4 วันขึ้นไป
  • ผื่นแดง พบได้เป็นจำนวนมากบนร่างกาย
  • มีเกล็ดเลือดต่ำ
  • มีอาการปวดเมื่อยเล็กน้อย

จากข้อสังเกตที่จะสามารถจำแนกทั้ง 2 โรคนี้ออกจากกันได้ นั่นก็คืออาการปวดข้อที่มีมากเกินกว่าปกติแม้จะดูเหมือนว่าโรคชิคุนกุนยาจะมีอาการที่มากกว่าไข้เลือดออก แต่ก็สามารถรักษาตามอาการให้หายได้ ในขณะที่โรคไข้เลือดออกจะต้องรีบพบแพทย์อย่างเร่งด่วน

ข้อแตกต่างระหว่างโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออก

  • โรคชิคุนกุนยา ไม่เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตเหมือนกับไข้เลือดออก แต่หลังจากรักษาจนหายจากโรคได้แล้ว จะยังพบว่ามีอาการปวดข้อเรื้อรัง ซึ่งอาจใช้เวลารักษาที่ยาวนานมากกว่า 2 ปี
  • โรคชิคุนกุนยา ไม่ทำให้เกิดอาการช็อคกับผู้ป่วยได้ เนื่องจากไม่มีสารพลาสม่าหรือสารน้ำรั่วออกจากเส้นเลือดอย่างรุนแรง ที่อาจเกิดขึ้นได้กับโรคไข้เลือดออก
  • โรคชิคุนกุนยา ไม่พบว่ามีเกล็ดเลือดต่ำอย่างเช่นโรคไข้เลือดออก ซึ่งมีผลทำให้เลือดออกรุนแรง

ข้อควรรู้ของโรคชิคุนกุนยา

  • หากคุณแม่ที่ได้รับเชื้อไวรัสของโรคชิคุนกุนยาอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ อาจมีการถ่ายทอดเชื้อไวรัสสู่ลูกน้อยในครรภ์ได้
  • โรคชิคุนกุนยาไม่สามารถติดต่อได้ผ่านคนสู่คน

การวินิจฉัยโรคชิคุนกุนยา

การวินิจฉัยที่ดีที่สุดของโรคนี้ คือการเจาะเลือดของผู้ป่วยเพื่อส่งเข้าตรวจกับทางห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นการยืนยันที่แม่นยำที่สุด โดยภายในห้องปฏิบัติการจะสามารถตรวจสอบได้หลายวิธี ได้แก่

การวินิจฉัยด้วยการเพาะเชื้อจากเลือดของผู้ป่วย

วิธีนี้จะสามารถพบเชื้อได้ หากเชื้อไวรัสในเลือดของผู้ป่วยมีมากเพียงพอ นั่นหมายความว่า หากมีเชื้อน้อยก็จะไม่สามารถพบเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาได้

การวินิจฉัยด้วยการ PCR จากเลือดของผู้ป่วย

แพทย์จะทำการเจาะเลือด และนำไปตรวจหาเชื้อในห้องทดลองต่อไป

การวินิจฉัยด้วยการตรวจซีโรโลยี

เป็นการตรวจหาแอนติบอดี้ที่ร่างหายสร้างขึ้น เมื่อมีการติดเชื้อไวรัสของโรคชิคุนกุนยา

วิธีรักษาโรคชิคุนกุนยา

ในปัจจุบันยังไม่มีตัวยาที่สามารถรักษาได้ รวมไปถึงวัคซีนที่จะสามารถป้องกันโรคได้นี้ ซึ่งหากพบว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสของโรคชิคุนกุนยา จะใช้วิธีในการรักษาตามอาการของผู้ป่วย และดูแลตนเองรวมถึงเด็กเล็กที่มีอาการด้วยวิธี ดังต่อไปนี้

  • เมื่อมีอาการไข้สูง ให้เช็ดตัวเป็นระยะเพื่อลดไข้
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟู
  • รับประทานอาหาร ผัก ผลไม้ ที่ช่วยเสริมวิตามินและแร่ธาตุให้แก่ร่างกาย
  • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง

การป้องกันโรคชิคุนกุนยา

เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากพาหะนำโรคจากยุงลาย ดังนั้น สิ่งที่ควรทำเพื่อไม่ให้เกิดโรคชิคุนกุนยาในผู้ใหญ่และในเด็ก และห่างไกลจากโรคร้ายนี้ได้ ได้แก่

กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง

ยุงลายมักจะวางไข่บริเวณที่มีน้ำขัง หากภายในบ้านมีถังน้ำ บ่อน้ำ แนะนำให้นำฝามาปิดไว้ เพื่อป้องกันยุงลงไปวางไข่ได้

ใช้ยากันยุงหรือสมุนไพรไล่ยุง

หากเป็นผู้ใหญ่สามารถใช้ยากันยุงเพื่อป้องกันได้ แต่สำหรับเด็กเล็กแนะนำให้ใช้สมุนไพรที่มีสรรพคุณในการไล่ยุงแทน เนื่องจากปลอดสารเคมีและไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก

มุมอับของบ้านเป็นแหล่งพักอาศัยของยุง

เก็บบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ พยายามอย่าให้มีมุมอับภายในบ้าน เนื่องจากเป็นแหล่งที่ยุงมักจะอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม แม้จะพบว่าโรคชิคุนกุนยาไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วย รวมถึงมีอาการที่รุนแรงน้อยกว่าไข้เลือดออกอยู่มาก แต่ยังส่งผลกระทบและผลเสียระยะยาวให้กับร่างกายของผู้ป่วยได้เป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าเกิดขึ้นกับเด็ก อาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นกับอวัยวะภายในร่างกาย อย่างเช่น ตับ ไต และ หัวใจได้ เพราะฉะนั้นหากพบอาการตามข้างต้น แนะนำให้รีบพบแพทย์อย่างเร่งด่วนเพื่อวินิจฉัยและเพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP