ทารกท้องผูก แก้อย่างไรดี?

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 0-1 ขวบ
JESSIE MUM

แม่มือใหม่มีอะไรหลายๆ อย่างที่ต้องเรียนรู้อีกมากมายเกี่ยวกับการดูแลลูกน้อย แม้กระทั่งลูกนอนก็ยังต้องตื่นมาดูว่าเค้าหลับดีมั้ยจะหนาวรึเปล่า จะร้อนไปไหม ฯลฯ และที่สำคัญที่แม่ต้องดูแลคือ สุขภาพของลูกน้อย ซึ่งถ้าวันหนึ่งลูกน้อยมีอาการท้องผูกล่ะ? จะมีวิธีดูแลหรือแก้ไขอย่างไรให้ถูกต้อง? วันนี้ผู้เขียนมีข้อมูลมาฝากค่ะ ไปดูกันเลย

ทารกท้องผูก

เพราะความที่เป็นทารก ลูกจึงยังไม่สามารถพูด เพื่ออธิบายได้ นอกจากการร้องไห้งอแงอย่างเดียว ดังนั้น พ่อแม่ต้องสังเกตอาการของทารกด้วยนะคะ ว่าเค้ามีอาการร้องงอแงจนผิดปกติหรือเปล่า ถ้าพบว่าลูกท้องผูก พ่อแม่ควรเรียนรู้วิธีดูแลรักษาที่ถูกต้องให้ลูกน้อยหายจากอาการท้องผูกและกลับมาถ่ายได้อย่างปกติ

การขับถ่ายของทารกโดยทั่วไป

  • ทารกแรกเกิด – 3 เดือน : อาจมีการถ่ายประมาณ 2-3 ครั้ง/วัน หรือ 5-40 ครั้ง/สัปดาห์
  • อายุ 3 – 6 เดือน : ถ่ายประมาณ 2-4 ครั้ง/วัน
  • อายุ 6 เดือน ขึ้นไป : อาจถ่าย 1-2 ครั้ง/วัน หรือ 5-28 ครั้ง/สัปดาห์

ทั้งนี้ หากวันไหนที่ลูกไม่ถ่าย ก็ไม่ต้องตกใจนะคะ เพราะอาการท้องผูกต้องสังเกตอาการอื่นร่วมด้วย

อาการทารกท้องผูก

ปกติแล้ว การขับถ่ายของทารกแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าทารกทานอะไรเข้าไปบ้าง นมแม่หรือนมผสม โดยให้พ่อแม่สังเกตอาการอื่นๆ ดังนี้ค่ะ

ไม่ค่อยถ่าย

ปกติแล้วความถี่ในการขับถ่ายของทารกจะไม่แน่นอน โดยเฉพาะในช่วงที่เริ่มทานอาหารเสริมใหม่ๆ เพราะร่างกายยังต้องอาศัยการปรับตัวเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตาม หากทารกไม่ขับถ่ายเลย 2-3 วัน ติดกัน อาจเป็นการส่งสัญญาณว่า “หนูเริ่มท้องผูกแล้ว”

มีการเบ่งอุจจาระ

พ่อแม่ควรสังเกตว่าระหว่างการขับถ่าย ลูกมีอาการเบ่งมากกว่าปกติหรือไม่ รู้สึกหงุดหงิด หรือร้องไห้ระหว่างขับถ่ายหรือไม่ หากลูกมีอาการเหล่านี้ เป็นไปได้ว่าท้องผูกค่ะ

มีเลือดปนออกมากับอุจจาระ

เพราะเกิดจากการฉีกขาดของผนังทวารหนักซึ่งเกิดจากการเบ่งนั่นเอง

ไม่ยอมกินอาหาร

ทารกจะไม่กินอาหาร หรือกินแต่ก็อิ่มเร็ว เพราะรู้สึกอึดอัดไม่สบายท้อง ไม่สบายตัว

ท้องแข็ง

ท้องของทารกจะมีลักษณะที่ตึง แน่น หรือแข็ง ในบางรายอาจมีอาการท้องอืดร่วมด้วย

สาเหตุที่ทำให้ทารกท้องผูก

ถ้าลูกน้อยมีอาการท้องผูก อาจมาจากหลาย ๆ ปัจจัย คุณแม่ลองมาดูกันนะคะว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุใด ดังต่อไปนี้

ลูกน้อยดื่มนมผสมหรือนมผง

หนึ่งในหลาย ๆ ข้อดีของการที่ลูกดื่มนมแม่คือ ลูกจะท้องไม่ผูก เพราะในน้ำนมแม่จะมีไขมันและโปรตีนที่ช่วยให้อุจจาระไม่แข็งตัว ซึ่งต่างจากนมผสมหรือนมผงที่แม้จะมีสารอาหารต่าง ๆ ค่อนข้างครบถ้วน แต่ด้วยสารอาหารบางตัวนี้เองที่ทำให้ย่อยช้า ส่งผลให้อุจจาระแข็งได้ นอกจากนี้สัดส่วนการชงนมผงก็สำคัญค่ะ หากเข้มข้นมากไปหรือเจือจางมากไป ทารกก็ท้องผูกได้เช่นกัน

แพ้นมวัว

เป็นอีกหนึ่งปัญหาของทารกที่ดื่มนมวัว คุณแม่ควรสังเกตการขับถ่ายของลูกน้อยด้วยนะคะ หากนมผงที่ทานอยู่เดิมทำให้ลูกท้องผูก ให้ลองเปลี่ยนยี่ห้อแล้วสังเกตอาการทารกดูค่ะว่ายังท้องผูกอยู่หรือไม่ หากยังมีอาการอยู่ แนะนำควรปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันอาการท้องผูกเรื้อรัง

สารอาหารที่ได้จากคุณแม่ไม่เพียงพอ

ทารกที่ทานนมแม่ สารอาหารส่วนใหญ่จึงมากจากในน้ำนม ดังนั้น คุณแม่ทานอะไรลูกก็จะได้ทานอย่างนั้น ถ้าคุณแม่ทานผักหรือผลไม้น้อย จึงส่งผลให้ทารกท้องผูกได้

ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย

เพราะการที่ทารกได้เคลื่อนไหวร่างกาย จะเป็นการช่วยเร่งระบบการย่อยอาหารและระบบการเผาผลาญให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้การลำเลียงของของเสียเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

คลอดก่อนกำหนด

ทารกที่มีอายุราว 1 เดือน สามารถท้องผูกได้ เนื่องจากระบบการย่อยอาหารยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ จึงยังไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ อาหารที่เข้าสู่ร่างกายจะเคลื่อนตัวไปสู่ลำไส้ได้ช้า จึงทำให้อุจจาระแห้งและแข็ง

ยาบางชนิดหรือโรคประจำตัว

ข้อนี้จะพบได้ไม่บ่อยค่ะ โดยมากมักจะพบในทารกที่มีโรคประจำตัวมาตั้งแต่แรกคลอด เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง ยาระงับประสาท รวมถึงโรคบางโรคก็ส่งผลให้ท้องผูกได้เช่นกัน อาทิ โรคต่อมไทรอยด์ หรือโรคอื่น ๆ ที่ทำให้แคลเซียมในเลือดสูง

ทารกท้องผูก แก้ไขอย่างไร

เมื่อลูกมีอาการท้องผูก พ่อแม่ควรปรับเปลี่ยนเรื่องการกินลูก โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงวัย ดังนี้ค่ะ

ทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน

โดยมากทารกในวัยนี้จะไม่ค่อยพบอาการท้องผูก เพราะจะทานนมแม่เป็นหลัก ถ้าจะท้องผูกก็จะเป็นจากการที่แม่ทานอาหารนั้นๆ เข้าไป แล้วส่งผ่านไปทางน้ำนม ดังนั้น แม่ควรใส่ใจและดูแลเรื่องอาหารการกินของตัวเองด้วยนะคะ

ทารกอายุมากกว่า 6 เดือน ขึ้นไป

ทารกในวัยนี้เริ่มทานอาหารเสริมได้แล้ว พ่อแม่จึงต้องใส่ใจปรับเรื่องอาหารการกินของลูก ดังนี้

เปลี่ยนการให้นม

ทารกบางคนอาจแพ้ส่วนผสมบางอย่างในนมผง พ่อแม่ควรสังเกตอาการและเปลี่ยนยี่ห้อนม แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์นะคะ

เติมน้ำผลไม้เล็กน้อยในนม

อาทิ น้ำแอปเปิ้ล น้ำลูกแพร์ หรือน้ำพรุน ลงในนมชงหรือนมแม่ วันละประมาณ 30-60 มิลลิลิตร

เสริมด้วยใยอาหาร

อาทิ ข้าว แครอทสุก หรือกล้วยน้ำว้า เป็นต้น

ให้ดื่มน้ำเปล่าสะอาดมากขึ้น

อาจไม่ต้องใหลูกดื่มน้ำเยอะ ๆ ในคราวเดียว แต่ให้จิบน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ และบ่อยก็จะช่วยลดอาการท้องผูกของทารกได้

วิธีกระตุ้นให้ลูกขับถ่าย

ช่วยขยับร่างกาย

การเคลื่อนไหวร่างกายจะช่วยเร่งการย่อยอาหาร ช่วยให้ของเสียลำเลียงออกไปได้เร็ว สำหรับทารกที่ยังไม่ได้หัดเดิน พ่อแม่อาจช่วยลูกทำท่าปั่นจักรยานกลางอากาศก็ได้นะคะ

นวดเบาๆ บริเวณท้อง

เริ่มจากท้องด้านซ้ายของลูกซึ่งอยู่ใต้สะดือไป 3 นิ้ว ใช้ปลายนิ้วกดลงไปเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ 3 นาที และควรนวดวันละหลายๆ ครั้ง เพื่อช่วยกระตุ้นการขับถ่ายค่ะ

ทาว่านหางจระเข้

ทารกที่ยังถ่ายไม่ออก และมีการเบ่งมาบ้างแล้วก่อนหน้า อาจมีการฉีกขาดบริเวณทวารหนัก ควรพาไปพบคุณหมอ แต่ระหว่างที่ยังไม่รับการรักษา พ่อแม่ควรทาครีมที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้ให้ลูก เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด

ปรึกษาคุณหมอ

เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่ถูกต้องค่ะ

อาการท้องผูกเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสารอาหารในน้ำนมแม่ที่ไม่เพียงพอ ทารกดื่มนมผง รวมไปถึง “อาหารที่ทำให้ลูกท้องผูก” ทั้งนี้ ให้คุณแม่หมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยนะคะ หากลูกเริ่มมีอาการเบ่งเมื่อไหร่เป็นไปได้ว่าลูกเริ่มมีอาการท้องผูกแล้ว ขั้นต่อไปคือหาสาเหตุแล้วแก้ไขค่ะ


ลูกท้องผูก มีอาหารอะไรบ้างที่ทำให้ลูกท้องผูก? กล้วยหอมแม้จะมีประโยชน์มากแต่ก็ทำให้ลูกท้องผูกได้เช่นกัน นอกจากกล้วยหอมแล้ว ยังมีอาหารอะไรอีกที่ทำให้ลูกท้องผูก คลิกที่นี่

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP