ควรฝึกลูกทานข้าวเองตอนไหน

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 0-1 ขวบ
JESSIE MUM

คุณแม่ที่กำลังนั่งป้อนข้าว ป้อนน้ำลูกน้อย คงกำลังคิดอยู่ว่าลูกน้อยจะต้องฝึกทานข้าวเองเมื่อใด ตอนลูกฝึกทานอาหารลูกจะทานเองได้หรือไม่ จะฝึกอย่างไรให้ลูกทานอาหารได้จนหมด หากลูกน้อยติดเล่น

คุณแม่อาจจะยังไม่ทราบถึงพัฒนาการอีกอย่างหนึ่งที่ควรฝึกลูกไว้ตั้งแต่ทารก พัฒนาการด้านนี้เป็นพัฒนาด้านกล้ามเนื้อ ทารกวัย 3 – 5 เดือน จะขยับนิ้วได้ และในวัย 6 – 12 เดือน ลูกจะขยับมือมากขึ้น หยิบจับสิ่งของได้มั่นคงขึ้น จึงเป็นวัยที่เหมาะที่สุดกับการฝึกจับอาหาร หรือช้อน คุณแม่อาจจะสบายขึ้น มีเวลามาขึ้น หากคุณแม่ฝึกลูกทานอาหารได้ก่อนลูกอายุ 2 ขวบ

วัย 6 – 12 เดือน

ลูกน้อยวัยนี้ชอบการหยิบจับสิ่งของมากขึ้น การฝึกลูกทานอาหารจึงเหมาะสมกับตอนนี้ โดยคุณแม่ให้ลูกทานอาหารโดยการใช้มือจับ เช่น ผลไม้ อย่างมะละกอสุก หันเป็นชิ้นขนาดพอดีมือ ให้ลูกได้หยิบจับทานเอง กล้วยที่ปลอกเปลือกแล้วก็ให้ลูกฝึกทานได้เช่นกัน

ช่วงแรกอาจจะยังไม่ต้องใช้ช้อนส้อมในการตักอาหาร แต่เมื่อสังเกตแล้วลูกใช้นิ้วใช้มือได้ดีขึ้นลองให้ลูกจับช้อนตักข้าวที่บด ให้กลืนง่าย ๆ หรือจะเป็นเส้นสปาเกตตี ที่ต้มจนนิ่ม ให้ลูกฝึกใช้ตักอาหารด้วยช้อนส้อม
** ช้อนส้อมควรเป็นพลาสติก มีขนาดเล็กจับได้เหมาะมือลูก และมีความมนเพื่อป้องกันไม่ให้ปาดปากลูก

วัย 1 ขวบ

หากฝึกลูกให้จับช้อนส้อมช่วงวัย 6 – 12 เดือนมาก่อนแล้ว เมื่ออายุ 1 ขวบ ลูกจะมีการพัฒนาในการทานด้วยช้อนส้อมอย่างเห็นได้ชัด และในวัยนี้อย่าลืมที่จะฝึกให้ลูกยกแก้วดื่มน้ำเอง โดยแก้วจะต้องมีขนาดเล็ก เป็นพลาสติก มีหูจับ 1 ข้าง ให้ลูกดื่มน้ำเปล่าเพื่อป้องกันการสำลัก

วัย 2 ขวบ

การจับช้อนส้อม และการจับแก้วยกดื่มน้ำของลูกจะพัฒนาขึ้นมาก ลูกจะทานอาหารโดยไม่หกเลอะเทอะเหมือนตอนฝึกใหม่ ๆ แล้ว อาจจะมีหกบ้าง หรือเลอะปากบ้างเป็นธรรมดา

การฝึกลูกทานอาหารแม้จะมีหกบ้างเลอะบ้าง แต่นั้นก็เป็นการฝึกลูกที่ดี ลูกจะมีการพัฒนาทั้งด้านกล้ามเนื้อ และทักษะการรับประทานอาหารได้อย่างดี คุณพ่อคุณแม่เพียงแค่ยิ้มรับ เอ่ยชมลูกในการฝึกทานลูกก็จะภูมิใจ และอยากทานเอง

การฝึกลูกทานอาหารไม่ได้ง่าย และเหนื่อยน้อยลงแต่อย่างใด คุณแม่อาจพบอุปสรรคบ้าง แต่ปัญหาเหล่านั้นแก้ง่าย และฝึกให้ลูกทานอาหารตรงเวลา และหมดจาน

ลดมื้อว่างระหว่างมื้ออาหาร

ของว่างเป็นส่วนที่ทำให้อิ่มท้อง ควรงดของว่าง 3 – 4 ชั่วโมง ก่อนมื้ออาหาร

ปรับเมนูอาหาร

ไม่ควรทำอาหารแบบเดิมให้ลูก ลูกจะเบื่อง่าย คุณแม่จึงจะต้องคอยปรับเปลี่ยนเมนู หรือคิดเมนูใหม่ ๆ ให้เหมาะสมกับอายุของลูก และยังได้ประโยชน์ต่อร่างกาย

จัดปริมาณอาหารให้เหมาะสม

ลูกยังทานได้ไม่มาก ทั้งยังต้องดื่มนม ควรจัดปริมาณอาหารให้พอเหมาะกับวัย จะได้ไม่เกิดการไม่กินข้าว อมข้าว หรือทานมากจนน้ำหนักเกิน

ไม่ดูโทรทัศน์ หรือกิจกรรมอื่น ๆ

งดการดูโทรทัศน์ ดูการ์ตูน เพราะสิ่งนี้จะไปดึงความสนใจของลูก จนทำให้ลูกไม่ทานอาหาร หรือทานช้า การดูโทรทัศน์ไม่ใช่สิ่งที่จะยึดให้ลูกอยู่นิ่งบนโต๊ะอาหารได้ หรือแม้กระทั่งการเล่นของเล่น ก็ไม่ควรมีอยู่บริเวณโต๊ะอาหาร หรือระยะสายตาลูก วัยนี้จะติดแล่นเป็นพิเศษควรเก็บของเล่นให้พ้นสายตาลูก และคุณพ่อคุณแม่จะต้องงดการเล่นโทรศัพท์มือถือเช่นกัน

กินข้าวพร้อมกัน

คุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยที่ทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตา ไม่ควรจัดแบ่งอาหารลูกออกมา ให้พ่อแม่และลูกได้ตักทานอาหารร่วมกัน ลูกวัยนี้จะได้เรียนรู้การรับประทานอาหารวิธีการทานของพ่อแม่ และเลียนแบบการทานของพ่อแม่ และสอนให้ลูกทานผักผลไม้ตาม
ข้อควรระวัง

  1. ต้องไม่กดดันให้ลูกฝึกใช้ช้อนส้อม ให้ลูกได้ทดลองทำเอง
  2. ห้ามใจอ่อนเมื่อเห็นลูกตักทานไม่ได้ และเข้าไปป้อนเอง
  3. ไม่บังคับให้ลูกทานอาหารที่ไม่ชอบ วันนี้ไม่ทานอีกวันอาจจะทานก็ได้ เพียงแค่นำสิ่งที่ลูกไม่ทานปรับเมนูใหม่
  4. อย่าปล่อยลูกทานโดยลำพัง อาจเกิดติดคอ หรือสำลักได้

อย่าปล่อยให้วัยฝึกการเรียนรู้ของลูกหมดไปกับการป้อนข้าว หากป้อนข้าวลูกประจำไม่ฝึกลูกให้ช่วยเหลือตัวเอง เมื่อถึงวัยที่ต้องช่วยเหลือตัวเอง ลูกจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ การพัฒนาทักษะนี้จะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน เมื่อฝึกช้าแล้วถึงวัยเข้าเรียนเด็กจะไม่มีความมั่นใจ หากทานช้า หรืทานหกมากกว่าเพื่อนคนอื่น

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP