เผยสาเหตุ ลูกโตช้า ตัวเล็ก พร้อมคำแนะนำด้านโภชนาการ

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 0-1 ขวบ
JESSIE MUM

ลูกโตช้า ตัวเล็ก ทั้งที่ก็กินข้าวได้ตามปกติ แน่นอนย่อมเป็นปัญหาหนักอกของคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วน้ำหนักของเด็กสามารถลดลงได้ตามความสูง แต่ถ้าเด็กสามารถเติบโตไปได้อย่างปกติก็ไม่น่าจะต้องกังวลแต่อย่างใด ยกเว้นว่าหากน้ำหนักของลูกลดลงภายในการวัดเพียงครั้งเดียวอย่างมีนัยสำคัญ อย่างนี้ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ

เกณฑ์การวัดน้ำหนักในแต่ละช่วงวัย

เกณฑ์ในการวัดน้ำหนักและส่วนสูงนั้น องค์การอนามัยโลกได้ออกมาแนะนำให้ใช้เป็นแผนภูมิกราฟในการวัด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการประเมินที่ผิดพลาด ซึ่งเกณฑ์ในการวัด คือ น้ำหนักหรือส่วนสูงต่ำกว่า (<) 3 เปอร์เซ็นไทล์ ซึ่งเกณฑ์ที่ปกติจะมีค่าอยู่ระหว่าง P25-P75 ซึ่งตารางนี้คุณแม่จะพบได้ในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ที่ด้านในจะมีประวัติการรับวัคซีนของลูกตั้งแต่แรกเกิด

ตารางเทียบน้ำหนักและส่วนสูง

อายุ น้ำหนัก
ทารกแรกเกิด 3 กิโลกรัม โดยประมาณ
อายุ 4-5 เดือน 4-5 กิโลกรัม
อายุ 1 ปี 9 กิโลกรัม โดยประมาณ (เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า จากน้ำหนักแรกเกิด)
อายุ 2 ปี 12 กิโลกรัม โดยประมาณ (เพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า จากน้ำหนักแรกเกิด)
อายุ 3 ปี น้ำหนักเพิ่มประมาณ 2.3-2.5 กิโลกรัม/ปี

สาเหตุที่ทำให้ลูกโตช้า

ได้รับปริมาณแคลอรี่ไม่เพียงพอ

ข้อนับเป็นปัญหามากที่สุดเรียกได้ว่า 90% เลยทีเดียวที่เป็นสาเหตุทำให้ลูกน้อยโตช้า หรือน้ำหนักน้อย ลูกน้อยได้รับแคลอรี่ไม่เพียงพอในแต่ละวัน นอกจากนี้ ปัญหานี้ยังเกิดขึ้นกับเด็กที่กำลังหัดเดินที่ร่างกายมีความปกติดีทุกอย่าง เพียงแต่ว่าเขาจะห่วงเล่น จนลืมหิว ลืมกิน และกับอีกหนึ่งประเด็นคือ ทารกในช่วง 2-3 เดือนแรก ที่น้ำหนักขึ้นน้อย เป็นไปได้ว่าน้ำนมแม่ไม่เพียงพอหรือสูตรของนมผงไม่ได้สัดส่วนที่เหมาะสม

การจำกัดปริมาณอาหาร

บางครั้งลูกอาจได้รับสารอาหารที่ไม่ครบตามที่ควรจะได้รับในแต่ละวัน จึงส่งผลต่อน้ำหนักตัวของลูกได้โดยตรง หรือในกรณีโดยเฉพาะในเด็กวัยรุ่นมักจะห่วงเรื่องภาพลักษณ์ตัวเองที่กลัวว่าจะอ้วนเกินไปจึงจำกัดปริมาณของอาหารจนทำให้เกิดโรคความผิดปกติในการกินหรือโรคคลั่งผอม (Anorexia Nervosa)

มีปัญหาทางช่องปากหรือระบบประสาท

หากเด็กมีปัญหาแผลในช่องปากหรือมีความผิดปกติทางระบบประสาทก็สามารถส่งผลให้เด็กไม่สามารถกลืนอาหารได้ ยกตัวอย่างภาวะที่ผิดปกติได้แก่ สมองพิการ หรือเพดานโหว่ ในกรณีนี้ต้องได้รับคำแนะนำและรับการรักษาจากแพทย์เท่านั้น

อาเจียนบ่อย

ในทารกหรือเด็กบางรายร่างกายไม่สามารถเก็บกักสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายไว้ได้ เนื่องจากมีการอาเจียนบ่อย ซึ่งอาจเกิดจากโรคกรดไหลย้อนที่รุนแรง หรืออาจมีปัญหาทางระบประสาทบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการรับประทานอาหาร ทารกบางรายที่มีการอาเจียนบ่อยเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากช่องทางออกของกระเพาะอาหารที่ตีบ (Pyloric Stenosis) ซึ่งเป็นความพอการแต่กำเนิด ซึ่งต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยและรักษา

สำหรับทารกบางคนที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อนที่ไม่รุนแรง ก็จะมีแนวโน้มที่จะมีอาการดีขึ้นได้และหายไปเองเมื่อโตขึ้น

ตับอ่อนทำงานผิดปกติ

เด็กบางคนทีตับอ่อนทำงานผิดปกติร่างกายจะไม่สามารถย่อยอาหารได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้น้ำหนักขึ้นน้อย ซึ่งในกรณีนี้เด็กอาจมีอุจจาระขนาดใหญ่ มีกลิ่นเหม็น เป็นฟอง ควรปรึกษาแพทย์เช่นกัน

ระบบทางเดินอาหารทำงานผิดปกติ

ความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารนี้จะส่งผลต่อเยื่อบุลำไส้ ซึ่งโรคลำไส้อักเสบจะส่งผลให้เด็กมีอาการปวดท้อง ท้องร่วง อาทิ โรคโครห์น (Crohn’s disease) เป็นต้น

ปัญหาจากต่อมไทรอยด์และระบบการเผาผลาญอาหาร

บางกรณีเด็กบางคนมีการเผาผลาญแคลอรี่มากเกินไปซึ่งเป็นความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ จึงส่งผลให้สารอาหารที่อยู่ในร่างกายนั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการ

เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

ทารกที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจะมีอาการเบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย กินน้อย รวมถึงอาเจียนบ่อย เป็นผลข้างเคียงจากยาในการรักษา ส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ และน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์นั่นเอง

ไตทำงานผิดปกติ

ความผิดปกติของไตหรือไตวาย มีผลต่อการเพิ่มน้ำหนักและส่วนสูงของเด็กได้เช่นกัน แต่สาเหตุนี้พบได้ไม่บ่อย

มีความผิดปกติทางพันธุกรรม

สาเหตุนี้มีผลต่อน้ำหนักตัว ซึ่งต้องให้แพทย์เป็นผู้ตรวจวินิจฉัยและรักษาค่ะ

ลูกโตช้า กับคำแนะนำด้านโภชนาการ

  • ให้ลูกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ : ข้าว 1-2 ทัพพี/มื้อ โปรตีนคุณภาพ เช่น ไข่ 1 ฟองทุกวัน ผลไม้ เช่น ส้ม หรือมะละกอ และนม ตามแต่ละช่วงวัย
  • ไม่ให้นมมากเกินไป : เด็กอายุ 1 ปี ขึ้นไป สามารถกินข้าวได้ 3 มื้อ ส่วนนมจะเป็นอาหารเสริม โดยให้นมหลังมื้ออาหารเท่านั้น
  • ชวนลูกปรุงอาหาร : เพราะการที่ลูกได้มีส่วนร่วมในการทำอาหาร จะทำให้ลูกตื่นเต้นที่จะกินฝีมือตัวเอง
  • ห้ามดุหากลูกไม่กิน : ด้วยความหวังดีของคุณพ่อคุณแม่ กลัวลูกหิว พอลูกไม่กินก็ดุ ก็ตี แบบนี้จะยิ่งทำให้ลูกไม่อยากกินข้าวมากขึ้นไปอีก แต่ควรพูดกับลูกด้วยเหตุผลค่ะว่าถ้าไม่กินจะส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
  • ปิดสื่อทุกอย่างขณะกินอาหาร : เพื่อให้ลูกได้โฟกัสกับการกินอาหารอย่างเดียว และคุณแม่จะสามารถควบคุมระยะเวลาในการกินได้อีกด้วย
  • เปลี่ยนเมนูไม่ให้ซ้ำหรือจัดจานให้น่ากิน : เพราะเด็กจะขี้เบื่อ ดังนั้น เรื่องนี้ถือเป็นชาเล้นจ์ของคุณแม่เลยค่ะ ให้คุณแม่นำทัพเลยว่าจะสร้างสรรค์อะไรให้ลูกดี
  • พาลูกออกกำลังกาย : เพราะการให้ลูกได้ออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งเล่น หรือการทำสวน ปลูกต้นไม้ ฯลฯ เป็นการให้เด็กได้ออกกำลัง ใช้พลังงาน และจะได้กินข้าวเพิ่มมากขึ้นค่ะ
แม่โน้ต

คุณพ่อคุณแม่จะเห็นได้ว่า หลักการทั้งหมดที่กล่าวมาจะเป็นหลักการที่คล้ายกับการปรับพฤติกรรมเด็กกินยาก เพราะวัตถุประสงค์หลักคือ เป็นการกระตุ้นความอยากอาหารนั่นเองค่ะ

เรื่องโภชนาการของเด็กเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนับเป็นส่วนส่งเสริมพื้นฐานที่จะทำให้ลูกได้เติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรง แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่พิจารณาดูแล้วว่าลูกกินเยอะ เล่นได้ อารมณ์ดี นอนหลับ ไม่ได้มีเรื่องของน้ำหนักลดลงอย่างมีนัย แบบนี้ก็ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ เพราะถือว่าลูกน้อยยังสุขภาพดีอยู่

อ้างอิง health.clevelandclinic.org , bumrungrad.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP