7 เรื่องการนอนของลูกที่พ่อแม่ควรรู้

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 0-1 ขวบ

วันนี้โน้ตจะชวนคุณพ่อคุณแม่มาพูดคุยกันเรื่องของ “การนอน” กันค่ะ จริงๆ แล้วโน้ตว่าเรื่องของการนอนเป็นสิ่งสำคัญของคนทุกเพศทุกวัยนะ แม้กระทั่งวัยรุ่นหรือวัยทำงานหากได้รับการพักผ่อนหรือการนอนไม่พอ นานๆ เข้าร่างกายเราทนไม่ไหวก็อาจเกิดโรคอื่นตามมาได้

ซึ่ง “การนอน” นี้จะยิ่งสำคัญมากๆ โดยเฉพาะกับทารก เพราะร่างกายของเค้ายังคงต้องการการนอนหรือการพักผ่อนให้ได้เต็มที่ เพื่อช่วยให้กระบวนการของพัฒนาการด้านต่างๆ เติบโตและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ วันนี้เรามาดูกันค่ะที่โน้ตว่า 7 สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับการนอนของลูกนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

7 เรื่องการนอนของลูกที่พ่อแม่ควรรู้

ท่านอนที่เหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย

ทารกแรกเกิด – 4 เดือน
ทารกแรกเกิด–4เดือน
ทารกในวัยนี้ยังนอนและตื่นไม่เป็นเวลา ซึ่งเวลาที่ทารกต้องการในการพักผ่อนให้เพียงพอจะอยู่ที่ประมาณ 16 – 20 ชั่วโมง สามารถนอนได้นานในเวลากลางวันพอๆ กับการนอนในเวลากลางคืน โดยท่าที่เหมาะสำหรับทารกวัยนี้คือ ท่าที่นอนตะแคงหรือนอนหงาย เพราะเนื่องจากพัฒนาการกล้ามเนื้อที่คอยังไม่แข็งแรง จึงทำได้เพียงแค่หันซ้ายหรือหันขวาเท่านั้น

ทารก 5 – 6 เดือน
ทารก5–6เดือน
ทารกวัยนี้เริ่มคอแข็งมากขึ้น สามารถนอนคว่ำได้ แต่แนะนำนะคะถ้าจะให้ลูกนอนคว่ำควรทำในขณะที่ลูกตื่นอยู่ ไม่ควรให้ลูกหลับในท่าคว่ำ เพราะลูกอาจเกิดอาการ Sudden Infant Death Syndrome (SIDS) หรือโรคไหลตายในเด็กได้ สำหรับช่วงเวลาในการนอน ทารกจะเริ่มนอนเป็นเวลามากขึ้น (คือเริ่มนอนได้ขึ้นในเวลากลางคืน การนอนกลางวันจะน้อยลง)

ทารก 7 – 12 เดือน
ทารก7–12เดือน
สำหรับทารกในวัยนี้ เค้าเริ่มพลิกตัวกลับไปกลับมาได้เองแล้ว เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องคอยสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัวลูกก็พอค่ะ เช่น ไม่ให้หมอนหรือผ้าห่มไปหิดจมูกลูก เป็นต้น

ท่านอนที่เหมาะสม

ท่านอนที่เหมาะสม

“ท่านอนที่เหมาะสม คือ นอนหงาย ท่านอนที่เสี่ยงอันตราย คือ นอนคว่ำ”

จากผลงานการวิจัยในหลายๆ แห่ง พบว่าการที่เด็กนอนคว่ำนั้นมีความเสี่ยงต่อการกดทับจมูกและปาก จนทำให้ขาดอากาศหายใจมากกว่าการนอนหงายถึง 2 – 7 เท่าตัว การนอนคว่ำนับเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างมากต่อโรคไหลตายในทารก (SIDS)

อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถให้ลูกนอนคว่ำได้นะคะ เพียงแต่ต้องคอยดูแลใกล้ๆ และควรให้ลูกนอนคว่ำได้ในเวลาที่ลูกตื่นอยู่จะดีที่สุดค่ะ

ท่านอนที่ทำให้หัวทุย

ท่านอนที่ทำให้หัวทุย
บางครอบครัวอยากให้ลูกหัวทุย เลยจับให้นอนตะแคงตลอดเวลาเลยแต่อาจสลับซ้ายบ้างขวาบ้าง ก็ถูกนะคะ แต่ถูกแค่ครึ่งเดียว จริงๆ แล้วเราสามารถให้ลูกนอนหงายก็ได้เพียงแต่ให้หันหน้าไปซ้ายกับขวา เพราะถ้าให้ลูกนอนตะแคงอย่างเดียวลูกอาจเจ็บที่ไหล่ได้ค่ะ เพราะเวลาที่เราตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง ไหล่อีกข้างต้องรับน้ำหนักไว้ ซึ่งนั่นจะหมายถึงลูกต้องห่อตัวตลอด อาจส่งผลต่อโครงสร้างร่างกายลูกได้

ลูกนอนไม่พอมีผลอย่างไร

ลูกนอนไม่พอมีผลอย่างไร
เรื่องนี้จะเห็นได้ชัดและง่ายมากทีเดียว เพราะลูกจะร้องงอแง เจ้าอารมณ์ หงุดหงิดง่าย เลี้ยงยากขึ้น และสำคัญจะส่งผลต่อพัฒนาการที่อาจไม่ดีเท่าที่ควรทั้งร่างกายและจิตใจ

ไม่นอนเตียงเดียวกับพ่อแม่

ไม่นอนเตียงเดียวกับพ่อแม่
คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้ลูกนอนเตียงเดียวกันนะคะ เพราะผู้ใหญ่อาจเผลอนอนทับลูกได้ หรือไม่ผ้าห่มอาจไปปิดกั้นทางเดินหายใจของลูกได้ ทางที่ดีให้ลูกนอนที่เตียงของลูกเองที่อยู่ใกล้กับเตียงพ่อแม่ในระยะที่เอื้อมถึง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดค่ะ

การเลือกที่นอนให้ลูก

การเลือกที่นอนให้ลูก
ไม่ควรเลือกเบาะนอนของลูกที่แข็งหรือนิ่มหรือยวบจนเกินไป เพราะนิ่มเกินไปเวลาที่ลูกนอนอาจทำให้หน้าของลูกจมไปกับเบาะ ทำให้ปิดกั้นทางเดินหายใจได้ และที่สำคัญก็ไม่ควรมีเครื่องนอนเยอะเกินไป ผ้าห่มไม่ควรเป็นผ้านวมนะคะ นิ่มไปก็ทำให้ปิดจมูกและปากลูกได้เช่นกัน

จัดห้องนอนให้เหมาะกับการนอนของลูก

จัดห้องนอนให้เหมาะกับการนอนของลูก
ห้องนอนของลูกควรเป็นห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก โปร่ง ไม่อับ หรือหากจะใชเครื่องปรับอากาศควรให้อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 25 – 27 องศาเซลเซียส

หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ อารมณ์ดี พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา ควรให้ลูกได้หลับพักผ่อนอย่างเต็มที่นะคะ แล้วความสุขที่คุณพ่อคุณแม่จะได้รับก็คือ รอยยิ้มและเสียงหัวเราะของลูกนั่นเองค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP