วัคซีนนับสิ่งจำเป็นมากที่คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปฉีดให้ครบตามกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีลูกเล็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี เพราะหากลูกเล็กได้รับวัคซีนไม่ครบอาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงตามมาได้ ซึ่งวัคซีนมีทั้งวัคซีนจำเป็นและวัคซีนเสริม ซึ่งเยอะมาก แต่ไม่เป็นไรค่ะ วันนี้โน้ตมีข้อมูลวัคซีน 2563 ซึ่งอัปเดทแล้วมาฝากค่ะ
**หากช่วงนี้บางพื้นที่อาจจะยังออกจากบ้านยากสักหน่อยทำอย่างไรดี?
- หากเป็นเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี ควรใส่หน้ากากอนามัยไปด้วย แต่หากลูกไม่ยอมใส่ ให้อุ้มเขาโดยพยายามให้เขาหันหน้าเข้าหน้าอกคุณแม่ แล้วใช้ผ้าคลุมอีกชั้น
- หากเป็นเด็กที่อายุมากกว่า 1 ปี สามารถเลื่อนฉีดวัคซีนได้ แต่ไม่เกิน 1 เดือน
สารบัญ
ความแตกต่างระหว่าง วัคซีนจำเป็น และ วัคซีนเสริม
วัคซีนจำเป็น คือ
วัคซีนที่เด็กทุกคนควรได้รับตามคำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย สามารถรับได้ที่โรงพยาบาลรัฐ ฟรี!
วัคซีนเสริม คือ
วัคซีนที่สามารถป้องกันโรคได้ แต่ไม่ได้อยู่ในแผนงานของกระทรวงสาธารณสุข ส่วนใหญ่จะสามารถป้องกันได้หลายโรคในเข็มเดียว ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะให้ลูกฉีดหรือไม่ฉีดก็ได้ เพราะมีราคาค่อนข้างสูง
ทารกแรกเกิด
วัคซีนจำเป็น
- วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG)
- วัคซีนป้องกันตับอักเสบบี (HBV) ควรได้รับอย่างน้อย 3 ครั้ง โดยอาจฉีดเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 1 เดือน
อายุ 2 เดือน
วัคซีนจำเป็น
- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ (DTwP-HB-Hib-1)
- โปลิโอ ชนิดกิน (OPV1)
- โรต้า ชนิดกิน (ROTA1) เชื้อที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียในเด็ก
วัคซีนเสริม
- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์ ตับอักเสบบี โปลิโอชนิดฉีด ฮิบ (DTaP-HB-IPV-HIB1)
- นิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (PCV1) สำหรับป้องกันโรคปอดบวมและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
อายุ 4 เดือน
วัคซีนจำเป็น
- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ (DTwP-HB-Hib-2)
- โปลิโอชนิดกิน (OPV2)
- โรต้าชนิดกิน (ROTA2) เชื้อที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียในเด็ก
วัคซีนเสริม
- คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์-ตับอักเสบบี-โปลิโอชนิดฉีด-ฮิบ (DTaP-HB-IPV-HIB2)
- นิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (PCV2) สำหรับป้องกันโรคปอดบวมและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
อายุ 6 เดือน
วัคซีนจำเป็น
- ตับอักเสบบี (HBV) (ครั้งที่ 3)
- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ (DTwP-HB-Hib-3)
- โปลิโอชนิดกิน OPV3)
- โรต้าชนิดกิน (ROTA3) เชื้อที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียในเด็ก
- ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ฉีดครั้งแรก 2 เข็ม ถัดไปห่างกัน 1 เดือน จากนั้นปีละครั้ง
วัคซีนเสริม
- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์ ตับอักเสบบี โปลิโอชนิดฉีด ฮิบ (DTaP-HB-IPV-HIB3)
- นิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (PCV3) สำหรับป้องกันโรคปอดบวมและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- ไข้สมองอักเสบเจอีเชื้อไม่มีชีวิต (Inactivated JE) ถัดไปอีก 4 สัปดาห์ฉีดเข็มที่ 2 และอีก 1 ปี ฉีดเข็มที่ 3
อายุ 9-15 เดือน
วัคซีนจำเป็น
- หัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR1) ฉีดครั้งแรก
- ไข้สมองอักเสบเจอีเชื้อมีชีวิต (Live JE1) ฉีดครั้งแรก
- ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) (ถ้ายังไม่ได้ฉีดตอนอายุ 6 เดือน)
วัคซีนเสริม
- ไข้สมองอักเสบเจอีเชื้อไม่มีชีวิต (Inactivated JE) (ถ้ายังไม่ได้ฉีดตอนอายุ 6 เดือน)
- นิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (PCV4) สำหรับป้องกันโรคปอดบวมและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (ฉีดกระตุ้นตอนอายุ 12-15 เดือน)
- ตับอักเสบเอชนิดเชื้อไม่มีชีวิต (HAV) ฉีด 2 เข็ม โดยให้ห่างกัน 6-12 เดือน (อายุ 12 เดือนขึ้นไป)
- อีสุกอีใส (VZV1) หรือวัคซีนรวมหัด หัดเยอรมัน คางทูม อีสุกอีใส (MMRV1) ฉีดเข็มแรกเมื่ออายุ 12 เดือนขึ้นไป
อายุ 18 เดือน
วัคซีนจำเป็น
- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP) ฉีดกระตุ้นครั้งที่ 1
- โปลิโอชนิดกิน (OPV4) โดยกินกระตุ้นครั้งที่ 1
- หัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR2) ฉีดครั้งที่ 2
- ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
วัคซีนเสริม
- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์ โปลิโอชนิดฉีด ฮิบ (DTaP-IPV-HIB4) ฉีดกระตุ้นครั้งที่ 1
- ไข้สมองอักเสบเจอีเชื้อไม่มีชีวิต (Inactivated JE) (ถ้ายังไม่ได้ฉีดตอนอายุ 6 เดือนและ 9-15 เดือน
- อีสุกอีใส (VZV1) หรือวัคซีนรวมหัด หัดเยอรมัน คางทูม อีสุกอีใส (MMRV1) ถ้ายังไม่ได้ฉีดเข็มแรกต้องฉีดภายในเดือนนี้
- ตับอักเสบเอชนิดเชื้อมีชีวิต (HAV) ฉีดเข็มเดียว ทดแทนวัคซีนตับอักเสบเอชนิดเชื้อไม่มีชีวิตได้
อายุ 2 – 2.5 เดือน
วัคซีนจำเป็น
- หัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR2) ฉีดครั้งที่ 2
- ไข้สมองอักเสบเจอีเชื้อมีชีวิต (Live JE2) ฉีดครั้งที่ 2
- ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
วัคซีนเสริม
- ตับอักเสบเอ (HAV) ถ้ายังไม่เคยได้รับการฉีดเลย
- อีสุกอีใส (VZV2) หรือวัคซีนรวมหัด หัดเยอรมัน คางทูม อีสุกอีใส (MMRV2) เข็มที่ 2
อายุ 4 – 6 เดือน
วัคซีนจำเป็น
- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP) ฉีดกระตุ้นครั้งที่ 2
- โปลิโอชนิดกิน (OPV5) กินกระตุ้นครั้งที่ 2
วัคซีนเสริม
- คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์-โปลิโอชนิดฉีด (DTaP-IPV / Tdap-IPV ) ฉีดกระตุ้นครั้งที่
- อีสุกอีใส (VZV2) หรือวัคซีนรวมหัด หัดเยอรมัน คางทูม อีสุกอีใส (MMRV2) (ต้องฉีดไม่เกิน 4 ขวบ ถ้ายังไม่ได้ฉีดเข็มที่ 2 ตอน 2-2.5 ขวบ)
- ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) (ฉีดทุกปี ปีละครั้ง)
อายุ 11 – 12 ปี
วัคซีนจำเป็น
- คอตีบ บาดทะยัก (Td) ฉีดกระตุ้น และฉีดทุก ๆ 10 ปี
- ป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) (2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน ฉีดในเด็กผู้หญิง ตอน ป.5)
วัคซีนเสริม
- คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (TdaP หรือ Tdap) และฉีด Tdap ทุก 10 ปี
- ไข้เลือดออก (DEN) 3 เข็ม ห่าง 6 และ 12 เดือน (ถ้าเคยติดเชื้อมาก่อน)
- ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) (ฉีดทุกปี ปีละครั้ง)
อายุ 9 และ 15 ปี
วัคซีนเสริม
- ป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) (2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน)
- ไข้เลือดออก (DEN) 3 เข็ม ห่าง 6 และ 12 เดือน (ถ้าเคยติดเชื้อมาก่อน)
สรุปจำนวนวัคซีนจำเป็นที่เด็กควรได้รับ
- ป้องกันวัณโรค (BCG) : 1 ครั้ง
- ตับอักเสบบี (HBV) : 3 ครั้ง
- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ ตับอักเสบบี (DTwP-HB) : 5 ครั้ง
- โปลิโอชนิดกิน (OPV) : 5 ครั้ง
- โรต้า (ROTA) : 3 ครั้ง
- หัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR) : 2 ครั้ง
- ไข้สมองอักเสบเจอีเชื้อเป็น (Live JE) : 2 ครั้ง
- ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) : 2 เข็ม โดยห่างกัน 1 เดือน ในช่วงอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี จากนั้นฉีดปีละ 1 เข็ม
- ป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) : 2 เข็ม โดยห่างกัน 6-12 เดือน
สรุปจำนวนวัคซีนเสริมที่เด็กควรได้รับ
- คอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์ ตับอักเสบบี โปลิโอชนิดฉีด ฮิบ (DTaP-HB-IPV-HIB1) : 5 ครั้ง หลังอายุ 11-12 ปี ฉีดซ้ำทุก ๆ 10 ปี
- นิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (PCV) : 4 ครั้ง
- ไข้สมองอักเสบเจอีเชื้อตาย (Inactivated JE) : 3 ครั้ง โดย 2 เข็มแรกห่างกัน 4 สัปดาห์ ส่วนเข็มที่ 3 ห่าง 1 ปี
- ตับอักเสบเอ (HAV) ชนิดเชื้อไม่มีชีวิต : 2 ครั้ง / เชื้อมีชีวิต : 1 ครั้ง
- อีสุกอีใส (VZV) หรือวัคซีนรวมหัด หัดเยอรมัน คางทูม อีสุกอีใส (MMRV) : 2 ครั้ง
- ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) : 2 เข็ม โดยห่างกัน 1 เดือน ในช่วงอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี จากนั้นฉีดปีละ 1 เข็ม
- ป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) : 2 เข็ม โดยห่างกัน 6-12 เดือน
- ไข้เลือดออก (DEN) : 3 ครั้ง โดยห่างกัน 6 และ 12 เดือน (ถ้าเคยติดเชื้อมาก่อน)
- พิษสุนัขบ้า (Rabies) : 2 ครั้ง โดยห่างกันอย่างน้อย 7 วัน (ถ้ามีความเสี่ยงที่จะโดนหมา – แมวกัด หรือข่วน)
คุณพ่อคุณแม่ลองเช็คตามนี้ดูนะคะ ว่าลูกน้อยได้รับหรือไม่ได้รับอะไรไปบ้างแล้ว เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและเติบโตได้อย่างสมวัยของลูกน้อยนะคะ