อยู่บ้านก็จัดตารางเรียนให้ลูกได้ในระดับปฐมวัย

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

ช่วงนี้ทุกครอบครัวยังต้องเก็บตัวอยู่บ้านกันยาว ๆ ไป โรงเรียนก็หยุดกันยาว ๆ ไป คุณพ่อคุณแม่รวมถึงคุณครูก็กลัวว่าเด็กจะลืมเนื้อหาที่ได้เรียนไปเมื่อเทอมที่แล้ว แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะวันนี้เรามีไอเดียการจัดตารางเรียนให้ลูกแม้ต้องอยู่บ้านแบบง่าย ๆ มาฝากค่ะ

เตรียมความพร้อมของพ่อแม่ก่อน

อย่าคาดหวัง

ในที่นี้คือ อย่าเพิ่งคาดหวังว่าลูกจะสามารถเรียนรู้ได้มากเท่าตอนที่อยู่โรงเรียน เพราะบ้านกับโรงเรียนต่างกัน เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสอนอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอาจเริ่มสอนวันละ 2-3 ชั่วโมง ก่อนก็ได้ค่ะ ถือซะว่าเป็นการวอร์มอัพลูกเบา ๆ

มีช่วงเวลาให้ผ่อนคลายบ้าง

เพราะเด็กกับเรื่องเล่น ๆ เป็นของคู่กันอยู่แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าเพิ่งเครียดไปเองก่อนนะคะ ควรปล่อยให้ลูกได้ผ่อนคลายบ้าง ไม่อย่างนั้นจะพากันเครียดไปทั้งคู่

กำหนดตารางเวลาให้ชัดเจน

รวมถึงคำนวณระยะเวลาเรียนในแต่ละวิชาให้เหมาะสมด้วยนะคะ อย่าให้หนักเกินไป เพราะจะทำให้ลูกไม่อยากเรียน เผลอจะพาลทำให้คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่อยากสอนด้วย เพราะเยอะเกินไป

ทำความเข้าใจกับคนในครอบครัว

ข้อนี้สำคัญไม่แพ้ข้ออื่น ๆ เลยค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจและแจ้งกับคนในครอบครัวให้เข้าใจตรงกันว่า ช่วงเวลาไหนบ้างที่ต้องให้ลูกได้ทบทวนบทเรียน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องคอยบอกคนโน้นทีคนนี้ที แล้วลูกก็จะได้มีสมาธิในทบทวนมากขึ้นด้วยค่ะ

จัดบรรยากาศการเรียนให้เหมาะสม

หากที่บ้านคุณพ่อคุณแม่พอจะมีพื้นที่สำหรับการเรียนการสอน ลองหาโปสเตอร์เกี่ยวกับการเรียนมาแปะฝาผนัง อาจเป็นหมวดอักษรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรืออื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อสร้างบรรยากาศดูเป็นห้องแห่งการเรียนรู้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลูกมีสมาธิมากขึ้น

มีการเรียนแบบนอกบ้านบ้าง

เพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศและเพิ่มความสนุกสนานให้ลูก ให้เขาได้เรียนรู้จากของจริง จากนอกห้องเรียนบ้าง

จัดตารางเรียนให้ลูกสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างไรดี

07:00 – 09:00 ทำอะไรก็ได้ตามใจ

ช่วงเช้าอย่างนี้หลังจากลูกตื่นนอนและกินอาหารเช้าแล้ว ปล่อยให้เด็ก ๆ ได้เล่นอย่างอิสระก่อนค่ะ อีกด้านหนึ่งเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้จัดการงานบ้านหรือทำธุระของตัวเองให้เสร็จก่อนเช่นกัน

09:00 – 12:00 ปลุกกล้ามเนื้อมัดเล็กให้ออกกำลัง

ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กและความสัมพันธ์ระหว่างสายตากับนิ้วมือ ด้วยการขีด เขียน ระบายสี ฝึกอ่านออกเสียง พร้อมของว่าง ซึ่งระหว่างการเรียนนี้ห้ามให้ลูกดูทีวีนะคะ
ตัวอย่างการเรียนการสอน

  • สอนเกี่ยวกับเรื่องสีต่าง ๆ
  • สอนอ่านตัวอักษร
  • สอนนับเลข
  • วาดรูป ระบายสี หรือประดิษฐ์งานศิลปะต่าง ๆ
  • ต่อบล็อกไม้ หรือเล่นเรียงโดมิโน
  • ปั้นแป้งโดว์
  • ชวนลูกเข้าครัว ให้ลูกช่วยทำอาหาร
  • ร้อยเชือกไหมพรมกับกระดาษที่ตัดเป็นรูปต่าง ๆ

12:00 – 14:00 เพิ่มพลังให้ร่างกาย

เด็กปฐมวัยยังควรให้ลูกได้หลับพักผ่อนในช่วงกลางวันด้วยนะคะ เพราะการให้ลูกได้หลับพักผ่อนอย่างเพียงพอนั้นจะช่วยกระตุ้นในเรื่องความจำของลูก เสริมสร้างการเรียนรู้ รวมถึงเพิ่มทักษะในการแก้ไขปัญหาได้อีกด้วยค่ะ แต่ถ้าวันไหนลูกไม่หลับหรือตื่นก่อนเวลาก็ปล่อยให้ลูกเล่นอย่างอิสระไปก่อน

14:00 – 16:00 สนุกไปกับการใช้สื่อการสอน

ลองให้ลูกได้เลือกสื่อการเรียนการสอนเอง อาจเป็นหนังสือนิทาน ดูการ์ตูนที่เป็นประโยชน์ หรือสื่อการสอนอื่น ๆ รวมถึงอาจเป็นสื่อการสอนที่คุณพ่อคุณแม่ประดิษฐ์ขึ้นมาเองก็ได้ค่ะ ยิ่งมีสื่อการสอนที่หลากหลายมาก ลูก ๆ ก็จะเกิดความสนใจในการเรียนรู้มากขึ้นเช่นกันค่ะ

16:00 – 18:00 ชั่วโมงเรียกเหงื่อ และเพิ่มพลัง

ช่วงนี้เป็นช่วงที่ให้ลูกได้ออกไปเดินเล่น วิ่งเล่น และออกกำลังกายนอกบ้าน ลูกจะได้มีโอกาสบริหารกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จะทำให้ลูกหลับสบายมากขึ้นด้วยค่ะ

18:00 – 20:00 สุขใจ อุ่นกายไปกับครอบครัว

เป็นช่วงท้ายตารางการสอน เป็นช่วงเวลาแห่งครอบครัว คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปอาบน้ำ เพื่อให้ลูกสบายตัวหลังจากที่เล่นมาเมื่อช่วงเย็น อาจมีกิจกรรมเบา ๆ ก่อนนอน อาทิ เกมทายปัญหา หรือเล่านิทานให้ลูกฟังก่อนนอน

จากไอเดียที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมด คุณพ่อคุณแม่ลองนำไปปรับใช้กันดูตามความเหมาะสมนะคะ แต่ที่สำคัญ ไม่ควรให้การเรียนการสอนขณะที่อยู่บ้านนี้ต้องเครียดเกินไปนะคะ จะพาลให้ลูกไม่อยากเรียนจนกลายเป็นคุณพ่อคุณแม่ต้องมาเครียดเสียเอง หรือครอบครัวไหนที่มีตารางการเรียนการสอนอยู่แล้วมาแชร์กันได้นะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP