เหตุผลที่ ลูกอาเจียน ลูกแหวะนมทุกครั้ง หลังทานนม

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 0-1 ขวบ
JESSIE MUM

เชื่อเหลือเกินค่ะว่าคุณแม่หลายท่านเคยเจอปัญหาลูกน้อยอาเจียนหรือแหวะนมทุกครั้งหลังทานนมหรือแม้แต่เด็กบางคนที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไปจนถึง 1 ขวบ ที่เริ่มทานอาหารเสริมแล้วก็ยังมีอาการแหวะนมให้เห็นอยู่บ่อย ๆ วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันในเรื่องของสาเหตุการป้องกัน รวมไปถึงวิธีสังเกตอาเจียนที่ผิดปกติของลูกน้อยกันค่ะ

ลูกแหวะนม

เนื่องจากเด็กทารกแรกเกิด อวัยวะภายในต่าง ๆ ยังทำงานได้ไม่แข็งแรงนัก โดยเฉพาะในเรื่องของการแหวะนม ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก…

  1. การทำงานของ “หูรูดกระเพาะอาหาร” ที่เปิดออกในบางจังหวะ จึงทำให้มีนมที่เพิ่งทานเข้าไปไหลย้อนกลับออกมาทางหลอดอาหาร
  2. ไม่ได้จับให้ลูกเรอเพราะถ้าหากลูกน้อยได้เรอแล้ว เขาจะสบายตัว ที่สำคัญจะไม่มีลมไปดันนมให้ไหลย้อนออกมา ข้อนี้บางบ้านมีเทคนิค คือ เมื่อลูกน้อยทานไปแล้วครึ่งหนึ่ง ก็จับให้เรอก่อนหนึ่งครั้ง แล้วค่อยทานต่อจนหมด หรือจะทานนมให้หมดก่อนแล้วค่อยจับเรอก็ได้ แล้วแต่สะดวก

ลูกอาเจียน

ลูกน้อยอาเจียนพุ่งออกมาอย่างแรงเหมือนน้ำพุ (บางรายอาจมีออกมาทางรูจมูกร่วมด้วย)คุณแม่โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ไม่ต้องตกใจนะคะ ให้ตั้งสติ และมาดูกันค่ะว่าสาเหตุส่วนใหญ่มีอะไรบ้าง

หูรูดกระเพาะอาหารของทารกไม่แข็งแรง

ซึ่งหูรูดนี้เป็นส่วนที่ต่อกับกระเพาะอาหาร ดังนั้น หลังดื่มนมหากมีอะไรไปกดทับบริเวณช่องท้อง อาจส่งผลให้ทารกอาเจียนได้

ลูกน้อยเอามือเข้าปาก

ด้วยความที่ทารกยังไม่สามารถควบคุมทิศทางของกล้ามเนื้อได้ไม่ว่าจะเป็นมัดเล็กหรือมัดใหญ่ เวลาที่ยกมือเข้าปากแล้ว ทำให้นิ้วไปโดนที่โคนลิ้น ทำให้อาเจียนได้เช่นกันค่ะ

ให้ลูกทานนมมากเกินไป

ลองมาใช้วิธีคำนวณปริมาณนมคร่าวๆ ที่จะให้ลูกในแต่ละมื้อดูนะคะโดยคำนวณจากนมที่ใส่ในขวด คือ ประมาณ20-25 มิลลิลิตร ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น ถ้าลูกน้อยมีน้ำหนักตัวอยู่ที่3 กิโลกรัม ปริมาณนมในแต่ละมื้อที่จะให้ลูกทานควรอยู่ที่ประมาณ60-65 มิลลิลิตรแต่ไม่ว่าลูกน้อยจะทานนมน้อยไปหรือมากไป คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลหรือเครียดไปนะคะ คอยสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยและปรับเปลี่ยนเอาตามความเหมาะสมค่ะ

แม่โน้ต

กลับกัน จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกทานพอมั้ย? หรือให้น้อยไปมั้ย?
ง่ายๆ ค่ะ เพียงคุณแม่สังเกตดูว่า หากนมหมดขวดแล้วแต่ลูกน้อยยังคงดูดขวดเปล่าอยู่ ลืมตากว้างหรือร้องไห้ เพื่อต้องการจะฟ้องว่าไม่อิ่ม มื้อถัดไปค่อยเพิ่มปริมาณนมทีละ 5-10 มิลลิลิตร

ลูกน้อยร้องไห้ เป็นให้นมทุกครั้ง

การให้นมลูกน้อยควรห่างกันประมาณ 2-3 ชั่วโมง ไม่ควรติดกันทุกชั่วโมง เพราะนมในกระเพาะทารกยังคงมีอยู่ ซึ่งข้อนี้อาจควบคุมได้ยากหน่อย หากบ้านไหนมีพี่เลี้ยงที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของทารก ยึดหลัก “ร้องปุ๊บ กินนมปั๊บ” ก็อาจทำให้ทารกไม่สบายตัวและอาเจียนได้

ลูกอาเจียนจากอาหารเป็นพิษ

อีกหนึ่งสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ลูกอาเจียนได้ก็คือ อาหารเป็นพิษ โดยทั่วไปแล้วอาหารเป็นพิษมักจะเกิดขึ้นภายใน 30 นาที – 24 ชั่วโมง หลังจากได้รับอาหารเข้าไป อาการทั่วไปที่เกิดขึ้น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และตะคริว ท้องร่วง ปวดหัว และมีไข้ ซึ่งอาการจะรุนแรงในเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต

อาการท้องเสียมักเกิดขึ้นภายใน 30 นาที – 24 ชั่วโมง หลังจากรับอาหารเข้าไป อาการโดยทั่วไป เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และตะคริว ท้องร่วง ปวดหัว และมีไข้

โดยปกติอาการมักจะเกิดขึ้น 30 นาทีถึง 24 ชั่วโมงหลังจากกินอาหารนั้นเข้าไป
ข้อมูลจาก : thaichildcare.com

ลูกอาเจียนแบบไหนผิดปกติ

หากลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที

  1. อาเจียนที่มีสีเขียวปนเหลือง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นภาวะลำไส้อุดตัน ควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน
  2. อาเจียนอย่างแรง (ออกทั้งทางจมูกด้วย) หลังจากที่ไอมาก ๆ ในช่วง 2-3 วันแรก อาจมีภาวะไอกรน ควรไปปรึกษาแพทย์ทันที
  3. มีทั้งอาเจียนและท้องเสียร่วมด้วย ให้คุณแม่สันนิษฐานเอาไว้ก่อนว่าอาจมีสิ่งผิดปกติ หรืออาจเกิดการอักเสบในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
  4. อาเจียนและมีอาการซึม ทั้ง ๆ ที่หัวไม่ได้ถูกกระทบกระเทือนอะไร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเช่นกันค่ะว่าอาจเป็นไข้สมองอักเสบได้

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เมื่อรู้ถึงสาเหตุและวิธีป้องกันแล้ว คุณแม่ก็อย่าลืมสังเกตอาการอาเจียนที่ผิดปกติของลูกน้อยกันด้วยนะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีเรื่องของอาหารเป็นพิษเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งมีอาหารอะไรบ้างที่ควรระวังก่อนให้ลูกน้อยกิน สามารถอ่านได้ในบทความนี้ค่ะ


หน้าร้อนทำให้เด็กมีอาการอาหารเป็นพิษได้ง่าย อยากรู้ไหมว่ามาจากเมนูอาหารอะไรบ้าง? เป็นเมนูที่แม่ ๆ อาจคิดไม่ถึงกับ 10 เมนูอาหารที่ควรเลี่ยง คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่นี่เลยค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP