ทารกตัวเหลือง อันตรายหรือเปล่า ทำอย่างไรดี

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 0-1 ขวบ
JESSIE MUM

“ภาวะตัวเหลือง” (Jaundice) พบได้ในเด็กแรกเกิดที่คลอดตามกำหนด 50% และพบมากในเด็กแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดถึง 80% ภาวะนี้อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยเองที่บ้านได้หรือไม่ วันนี้เรามีข้อมูลมาฝากค่ะ

ภาวะตัวเหลือง คืออะไร?

ภาวะตัวเหลืองเกิดจากร่างกายมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า “บิลิรูบิน (Bilirubin)” ในเลือดมากกว่าปกติ โดยทั่วไปแล้วภาวะตัวเหลืองจะเกิดกับทารกแรกเกิดภายใน 2-3 วันหลังคลอด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาตรวจค่าจากบิลิรูบิน เพื่อดูค่าความเหลืองและจะให้การรักษาต่อไป

สาเหตุ ภาวะตัวเหลือง

สาเหตุของภาวะตัวเหลือง แบ่งออกได้เป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ ได้แก่

ภาวะตัวเหลืองปกติ (Physiologic Jaundice)

เนื่องจากตับของทารกยังพัฒนาและทำงานได้ไม่เต็มที่ เมื่อเม็ดเลือดแดงของทารกแตกไปเป็นบิลิรูบิน ซึ่งเม็ดเลือดแดงของทารกจะมีอายุสั้นกว่าของคุณแม่ จึงส่งผลให้มีบิลิรูบินมากเกินกว่าที่ตับจำกำจัดได้ จึงเกิดเป็นภาวะตัวเหลืองได้ แต่ถ้าทารกไม่มีอาการอื่นร่วมด้วยก็จะสามารถหายได้เองภายใน 1-2 วัน

ภาวะตัวเหลืองผิดปกติจากพยาธิสภาพ (Pathologic Jaundice) ก็แตกออกได้เป็นหลายสาเหตุ ดังนี้

หมู่เลือดคุณแม่กับลูกไม่เข้ากัน

ข้อนี้จะพบในกรณีที่เลือดคุณแม่เป็นโอ ลูกเป็นเอหรือบี หรือคุณแม่มีหมู่เลือด Rh ลบ ส่วนลูกมี Rh บวก

ทารกมีความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง

หรือเรียกว่าภาวะเม็ดเลือดแดงขาดเอ็นไซม์ G6PD ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายปกติ

ทารกมีจำนวนเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ

ข้อนี้จะพบมากในทารกที่คลอดจากคุณแม่ที่มีภาวะเบาหวาน

สัมพันธ์กับการกินนมแม่

กลุ่มนี้จะเป็นทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวแต่ในปริมาณที่ไม่เพียงพอ

สาเหตุอื่น ๆ

ได้แก่ ภาวะบกพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน การติดเชื้อในกระแสะเลือด และภาวะตับอักเสบ เป็นต้น

ความรุนแรงของภาวะตัวเหลือง

หากทารกมีระดับของบิริลูบินมากเกินไปจะผ่านเข้าสู่สมองและไปจับที่เนื้อสมอง ส่งผลให้สมองมีความผิดปกติ เรียกว่า “เคอร์นิกเทอรัส (Kernicterus)”
ในระยะแรกทารกจะมีอาการซึม ตัวอ่อน และการดูดนมทำได้ไม่ดี ต่อมาทารกจะมีไข้ กระสับกระส่าย ร้องเสียงแหลม ตัวเกร็ง และหลังแอ่น

การรักษา ภาวะตัวเหลือง

ภาวะตัวเหลืองสามารถรับการรักษาได้โดย

การส่องไฟ

การส่องไฟนี้ไม่ใช่ไฟตามบ้านหรือไฟ LED นะคะ แต่เป็นหลอดไฟชนิดพิเศษที่ให้แสงสีฟ้าที่มีความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสม ขณะที่ส่องไฟต้องถอดเสื้อผ้าทารก ปิดตา ซึ่งแพทย์จะคำณวนระดับบิริลูบิน ว่าถ้าทารกอยู่ระดับที่ปลอดภัยจึงเอาไฟออก แต่ผลข้างเคียงหลังจากการส่องไฟคือ น้ำหนักตัวของทารกจะลดลง เนื่องจากการสูยเสียน้ำในขณะที่ส่องไฟนั่นเอง

ให้ทารกกินนมแม่มากขึ้น

ปรับเพิ่มปริมาณนมให้ลูกน้อย โดยกินอย่างน้อยวันละ 8-12 มื้อ เพื่อเป็นการเร่งให้ทารกขับถ่ายสารสีเหลืองออกมากับอุจจาระ ก็จะช่วยลดอาการตัวเหลืองในทารกได้

การเปลี่ยนถ่ายเลือด

จะทำในกรณีที่ทารกเริ่มมีอาการทางสมอง แพทย์จำเป็นต้องเปลี่ยนเลือดที่มีบิลิรูบินสูงออกและเติมเลือดใหม่ทดแทน

วิธีสังเกตว่าทารกตัวเหลืองหรือไม่

มองด้วยตาเปล่าในสถานที่ที่มีแสงสว่างมากพอ จะเห็นได้ว่าผิวของลูกมีสีเหลืองหรือสีส้ม หรือ
ใช้นิ้วมือกดลงไปที่ผิวหนังทารกสักครู่ แล้วยกนิ้วออก หากลูกมีภาวะตัวเหลือง เราจะสังเกตเห็นว่าจุดที่เรากดลงไปมีสีเหลืองมากกว่าผิวหนังโดยรอบ
ในระยะแรกจะสังเกตเห็นได้จากใบหน้า ไล่ลงไปที่หน้าอก ท้อง แขน และขาตามลำดับ บางรายอาจเห็นว่าดวงตาที่เป็นสีขาวอาจกลายเป็นสีเหลือง

ทารกตัวเหลืองอย่างไรถึงต้องไปพบแพทย์ทันที

หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าทารกมีอาการดังต่อไปนี้ ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีนะคะ

  • มีอาการตัวเหลืองมาก จนถึงบริเวณที่ต่ำกว่าสะดือ หรือถึงฝ่ามือ ฝ่าเท้า
  • มีอาการซึม กินนมได้น้อยลง ร้องงอแงมาก
  • ผิวหนังบริเวณรอบ ๆ สะดือมีสีแดง มีหนอง หรือเริ่มมีกลิ่นผิดปกติ
  • อุจจาระมีสีซีดลง
  • หายใจลำบาก เหนื่อย หอบ
  • อาเจียนบ่อย ถ่ายเป็นน้ำ หรือมีมูกเลือดปน
  • น้ำหนักลดลง

อาการตัวเหลืองในทารก ถ้าสังเกตเห็นได้เร็วก็จะสามารถเข้ารับการรักษาได้เร็วค่ะ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยด้วยนะคะ ว่ามีอาการอะไรที่ผิดปกติไปหรือไม่ เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยและรับการรักษาได้อย่างทันท่วงทีค่ะ

อ้างอิง bangkokhospital.com , nakornthon.com , synphaet.co.th

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP