ลูกยังพูดจาเป็นภาษาต่างดาว เพราะอะไร? สาเหตุใกล้ตัวที่ไม่ควรละเลย

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 1-3 ขวบ
JESSIE MUM

ปกติแล้วเด็กเมื่อเข้าวัย 2 ขวบ จะเริ่มมีการพูดสื่อสารได้บ้างเป็นคำสั้นๆ เช่น ไม่ได้ ไม่เอา ไม่ไป และจะเริ่มพูดได้เป็นประโยคที่ยาวมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุได้ประมาณ 2-3 ขวบ

“โดยทั่วไปพัฒนาการด้านการพูดของเด็กจะเริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 8 เดือน – 1 ขวบครึ่ง เด็กจะเริ่มเรียนรู้และจดจำคำศัพท์และฝึกพูดคำสั้นๆ อาทิ พ่อ แม่ ไม่ ไป บาย หรือจุ๊บ เป็นต้น”

จริงอยู่ค่ะ เด็กแต่ละคนต่างกัน มีพัฒนาการในด้านต่างๆ ช้า-เร็วต่างกัน โดยเฉพาะพัฒนาการด้านภาษาและการพูด คุณพ่อคุณอาจไม่ต้องกังวลมากก็จริงแต่ก็ไม่ควรละเลยนะคะ เพราะบางกรณีอาจเป็นไปได้ว่าลูกมีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้น ซึ่งเด็กควรได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องและตรงจุด

Youtube : ลูกยังพูดจาเป็นภาษาต่างดาว เพราะอะไร? สาเหตุใกล้ตัวที่ไม่ควรละเลย

สาเหตุที่ทำให้ลูกพูดจาภาษาต่างดาว

ความผิดปกติทางร่างกาย

ความผิดปกติทางร่างกาย

จากนี้ไปให้คุณพ่อคุณแม่ลองใส่ใจสังเกตดูว่าทำไมลูกไม่ยอมพูดหรือพูดออกมาแล้วแต่สื่อสารไม่เข้าใจซักที โดยพิจารณาอาการอื่นๆ ร่วมด้วยนะคะ เช่น ลูกมีอาการหูหนวก เป็นโรคสมาธิสั้น หรือมีภาวะออทิสติกหรือเปล่า

หากพบว่ามีข้อผิดปกติดังกล่าวหรือหากคุณพ่อคุณแม่ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่พบนั้นจะใช่สาเหตุที่ทำให้ลูกพูดจาภาษาต่างดาวหรือเปล่า แนะนำควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ

ความผิดปกติจากพันธุกรรม

ความผิดปกติจากพันธุกรรม

โรคติดต่อทางพันธุกรรมไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการติดต่อกันโดยตรงจากคุณพ่อคุณแม่นะคะ แต่อาจเป็นมรดก (เอ…เรียกมรดก จะดีไหมน้า^^) ที่ตกทอดมาจากรุ่นคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยายก็ได้ค่ะ ซึ่งท่านมีพัฒนาการเรื่องการพูดและการสื่อสารที่ช้า หรืออาจติดนิสัยพูดด้วยภาษาต่างดาวที่ไม่มีความหมาย ลูกๆ หลานๆ จึงมีพฤติกรรมเหล่านี้ติดมาด้วย

แต่ข้อนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยกระตุ้นและช่วยฝึกลูกได้ค่ะ สอนคำศัพท์ลูก พูดคุยกับลูก ฝึกลูกพูดอย่างสม่ำเสมอ เมื่อถึงวัยที่ลูกจะพูด เค้าจะสามารถพูดได้และสื่อสารได้เองตามปกติค่ะ

พูดหรือเล่นกับลูกด้วยภาษาต่างดาวเช่นกัน

พูดหรือเล่นกับลูกด้วยภาษาต่างดาวเช่นกัน

พ่อแม่รังแกฉันสุดๆ” ค่ะ เพราะอะไร? เพราะบางครอบครัวเห็นว่าลูกพูดภาษาต่างดาวมา ก็เอาแต่ขำ แถมพูดตามลูกอีกต่างหาก เห็นว่าลูกขำ ก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่ขำกับลูกด้วยเห็นเป็นเรื่องสนุก ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ จะทำให้ลูกยิ่งเข้าใจว่า “อ๋อ…หนูสื่อสารอย่างนี้พ่อแม่เข้าใจแน่ๆ อย่างนั้นหนูก็ไม่จำเป็นต้องฝึกพูดแบบคนทั่วไปสินะ” ทำให้ลูกไม่เปิดรับภาษาที่ถูกต้อง และที่สำคัญจะทำให้ลูกเข้าใจผิดว่าการพูดภาษาต่างดาวนี้ คุณพ่อคุณแม่ก็เข้าใจ จึงทำให้เด็กยังคงพูดต่อไปเรื่อยๆ
ดังนั้น เมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้ยินลูกพูดภาษาต่างดาว ควรแก้คำที่ลูกพูดเสียใหม่ให้ถูกต้อง เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ ได้จดจำคำศัพท์ต่างๆ พร้อมทั้งการออกเสียงที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ เหล่านี้จะทำให้ลูกเรียนรู้ จดจำ และสื่อสารได้ไวขึ้นค่ะ

ให้ลูกอยู่กับหน้าจอมากเกินไป

ให้ลูกอยู่กับหน้าจอมากเกินไป

อย่างที่เรารู้กันว่าหน้าจอก็คือ แทปเล็ต มือถือ โทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์ หากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกอยู่กับสิ่งเหล่านี้มากเกินไป จะทำให้ลูกเลียนแบบการพูดเร็ว หรือพูดไม่เป็นภาษาแบบตัวการ์ตูน

สำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 0-2.6 ขวบ ยังไม่ควรให้ลูกรู้จักสิ่งเหล่านี้เด็ดขาดนะคะ ยกเว้นว่าถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากให้เด็กได้รู้จักบ้าง แนะนำว่าไม่ควรเกิน 1 ½ ชม. ต่อวัน และที่สำคัญ ควรมีคุณพ่อคุณแม่อยู่ด้วยทุกครั้ง เพื่อสอนเค้าในสิ่งที่ถูกต้อง แต่หากให้ลูกดูเกินเวลาตามที่ได้กล่าวไปอาจทำให้ลูกสายตาสั้นหรือสมาธิสั้นได้ค่ะ

ปล่อยให้ลูกเล่นคนเดียวนานเกินไป

ปล่อยให้ลูกเล่นคนเดียวนานเกินไป

ต้องบอกว่าบางครอบครัวคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้มีเวลามาดูแลลูกทั้งวัน จึงทำให้ลูกต้องอยู่กับตัวเอง เล่นคนเดียว ดังนั้น จึงทำให้คุณพ่อคุณแม่พลาดโอกาสที่จะได้เรียนรู้ว่าวันๆ หนึ่งลูกของเราได้เรียนรู้หรือได้ฝึกเรื่องอะไรไปบ้าง เพราะลูกไม่มีคนช่วยฝึก ไม่มีใครสอน ทำให้ลูกไม่รู้วิธีการสื่อสาร ไม่มีคำศัพท์ในหัว ไม่รู้ว่าสิ่งนี้เรียกว่าอะไร บอกความรู้สึกตัวเองไม่ถูก สุดท้ายลูกก็จะหงุดหงิดตัวเอง เมื่อเป็นอย่างนี้ สิ่งเดียวที่ลูกจะทำได้ก็คือ ร้องไห้ เพราะหงุดหงิดตัวเองไม่รู้จะสื่อสารอย่างไรให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจ ส่งผลต่อสุขภาพจิตลูกอีกด้วยนะคะ

เบื้องต้นหากคุณพ่อคุณแม่ไม่มีเวลาดูแลลูกด้วยตัวเอง คงต้องอาศัยการขอความร่วมมือจากผู้เลี้ยงให้ช่วยฝึกลูกแทน แต่หากคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงลูกเอง แนะนำให้พูดคุยกับลูกอย่างสม่ำเสมอ สอนคำศัพท์ให้เค้า เริ่มง่ายๆ จากสิ่งรอบตัวที่เห็นก่อนก็ได้ค่ะ แบบนี้ก็จะทำให้ลูกมีพัฒนาการและทักษะการพูดที่ไวขึ้น สื่อสารได้ดีขึ้นตามวัยค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP