ลูกนอนกัดฟัน เพราะอะไร? จะอันตรายไหม?

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

การนอนกัดฟันเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งเราจะได้ยินเสียงกัดฟันในช่วงของการนอนหลับซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งนอนกลางวันและหลับช่วงกลางคืน สิ่งนี้เองอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความกังวลว่าหากลูกนอนกัดฟันนาน ๆ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพฟันหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี

ลูกนอนกัดฟัน คืออะไร?

การนอนกัดฟัน คุณพ่อคุณแม่จะสามารถพบได้บ่อยในเด็กที่มีฟันกรามด้านบนและฟันกรามด้านล่างขบเข้าหากัน ทั้งนี้การนอนกัดฟันไม่นับว่าเป็นโรคนะคะ เป็นความผิดปกติทางด้านร่างกาย ซึ่งถ้าหากกล้ามเนื้อในส่วนกรามมีการเกร็งตัวมากเกินไป อาจส่งผลให้ฟันสึกได้

การนอนกัดฟัน เกิดขึ้นกับใครได้บ้าง?

จากข้อสังเกตของแพทย์ได้ระบุเกี่ยวกับการนอนกัดฟันของเด็ก ว่าการนอนกัดฟันสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก ประมาณ 14-17% และทันทีที่ฟันบนฟันล่างเริ่มโผล่พ้นจากเหงือก และเด็กส่วนใหญ่ที่เคยนอนกัดฟัน เมื่ออายุ 6 ปี พฤติกรรมนี้ก็หมดไปเอง หรือไม่ในช่วงที่ฟันแท้เริ่มขึ้น ซึ่งเด็กประมาณ 1 ใน 3 อาจมีการกัดฟันต่อไปเรื่อย ๆ จนโตเป็นผู้ใหญ่

ลูกนอนกัดฟัน เพราะอะไร?

สำหรับสาเหตุของการกัดฟันที่แท้จริงนั้นยังไม่สามารถระบุได้ ทั้งนี้ ทันตแพทย์ได้ให้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับสาเหตุของการกัดฟันไว้ในหลาย ๆ ข้อ ดังนี้

ฟันไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกัน

เด็กบางคนที่ฟันแท้ขึ้น โดยเฉพาะฟันกรามบนกับฟันกรามล่างไม่สบกัน หรือไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกันก็สามารถเกิดการกัดฟัน ขณะหลับตอนกลางคืนได้

ตอบสนองความเจ็บปวด

ระหว่างวันเด็กอาจมีการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นอาการที่ไม่รุนแรงแต่สร้างความรำคาญได้ เช่น อาการปวดหู หรือมีการงอกของฟันแท้

เพื่อบรรเทาอาการปวด

ลักษณะจะคล้ายกับเวลาที่เรามีอาการปวดที่ผิวหนัง การถูจึงเป็นการที่ช่วยบรรเทาอาการปวดได้

มีความเครียด

เด็กบางคนมีสาเหตุมาจากความเครียดสะสม ความกังวลใจ และความโกรธ ที่ได้รับมาระหว่างวัน จึงมีอาการเมื่อเขาหลับในเวลากลางคืน

จากยาบางชนิด

เด็กบางคนมีอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งอาจต้องมีการใช้ยาบางชนิดเพื่อรักษาอาการป่วย อาจส่งผลให้เด็กมีการนอนกัดฟันได้เช่นกัน

ลูกนอนกัดฟัน ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง?

อย่างที่ได้กล่าวข้างต้นค่ะว่าการนอนกัดฟัน ไม่ใช่โรค ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้มีผลที่ร้ายแรงอะไร ซึ่งเราแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ ดังนี้

ผลกระทบระยะสั้น

ลูกอาจมีอาการปวดรอบหู ปวดศีรษะ เนื่องจากแรงกดทับจากการบดกันของฟันในขณะหลับช่วงกลางคืน มีการสูญเสียของสารเคลือบฟัน เพราะฟันมีการขัดถูกันไปมา เวลาที่ลูกทานอาหารอาจส่งผลให้เกิดการปวดฟันได้ รวมถึงจะทำให้ฟันมีความไวต่อความร้อนและความเย็น ซึ่งถ้าการนอนกัดฟันของลูกเกิดจากการรักษา การใช้ยาบางชนิด ควรกลับไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ และอาจจะต้องมีการเปลี่ยนแผนเพื่อการรักษาต่อไป

ผลกระทบระยะยาว

สำหรับกลุ่มนี้จะเป็นเด็กที่นอนกัดฟันตั้งแต่เด็กและติดตัวไปจนเป็นผู้ใหญ่ ความเสียหายของฟันไม่ใช่เพียงแค่สูญเสียสารเคลือบฟันเท่านั้น แต่ฟันของลูกน้อยอาจเกิดการบิ่น แตก หรือแบนได้ ซึ่งเมื่อเราใช้ฟันในการบดเคี้ยวไปสักระยะ อาจทำให้เกิดฟันแตกได้ และถ้าฟันได้รับการกรอมาก ๆ เข้า จะส่งผลต่อการบดเคี้ยว เกิดความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร หรือ Temporomandibular Joint Disorder (TMD) อาการก็คือ ลูกจะปวดกรามมากขึ้น และจะอ้าปากหรือเคี้ยวได้ยากมากขึ้น

แนวทางการรักษา ลูกนอนกัดฟัน

หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกนอนกัดฟัน แนะนำให้ปรึกษาทันตแพทย์และทันตแพทย์จะทำการนัดในครั้งต่อ ๆ ไปหลังจากดูอาการแล้วในครั้งแรก ซึ่งกรณีที่ลูกนอนกัดฟันในเวลากลางคืน จะส่งผลให้ใบหน้าและกรามมีอาการปวด ทันตแพทย์อาจให้ลูกสวมเฝือกสบฟันหรือยางฟันที่คล้าย ๆ กับที่นักมวยใส่ แต่ทันตแพทย์จะให้ลูกสวมในเวลานอนตอนกลางคืน เพื่อลดการกระทบกันของฟันบนฟันล่าง ซึ่งอาจทำให้ลูกเลิกนอนกัดฟันได้ หรือไม่อีกกรณีคือทันตแพทย์จะรอให้ฟันน้ำนมของลูกหลุดหมดก่อน

ในช่วงกลางคืนที่ลูกนอนหลับ ลูกอาจมีการกัดฟันไม่มาก แต่มีทุกคืน แบบนี้หากคุณพ่อคุณแม่ไม่สบายใจแนะนำปรึกษาทันตแพทย์นะคะ แก้ไขไว้แต่เนิ่น ๆ จะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยที่สุดค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP