ล้างจมูกลูกอย่างไร แบบปลอดภัยและถูกต้อง

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 1-3 ขวบ
JESSIE MUM

พูดถึงการเจ็บไข้ได้ป่วย ถ้าเป็นผู้ใหญ่เราก็ยังพอทน ยังมียารักษา หรือรู้จักการดูแลตัวเองได้ แต่ถ้าลูกเราป่วยล่ะ? คุณพ่อคุณแม่ก็ทั้งสงสาร ทั้งอยากจะป่วยแทนลูก ยิ่งเวลาเค้าร้องไห้โยเย หรือหงุดหงิดขึ้นมาเพราะความไม่สบายตัว หายใจติดขัด ไม่เต็มปอด เพราะมีน้ำมูกเข้ากรรมมาขวางทางเดินหายใจ ซึ่งในเด็กเล็ก ไม่มียาลดน้ำมูกโดยเฉพาะซะด้วยสิ เพราะฉะนั้นถ้าลูกมีน้ำมูกมาก ๆ วิธีเดียวที่จะช่วยให้เค้าสบายตัวขึ้นก็คือ “การล้างจมูก” เท่านั้น

แต่…มันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะลูกเอาแต่ดิ้น และขัดขืนจนสำลัก เพราะฉะนั้นวันนี้ผู้เขียนมีวิธีการล้างจมูกที่ถูกต้อง รวมไปถึงข้อมูลรอบด้านที่เกี่ยวกับการล้างจมูกมาฝากค่ะ

การล้างจมูก คือ อะไร?

การล้างจมูก คือ การทำความสะอาดโพรงจมูกด้วยการใส่หรือหยอดน้ำเข้าไปในจมูก การล้างจมูกจะช่วยชะล้างมูก คราบมูก หรือหนองบริเวณโพรงจมูกออก ทำให้โพรงจมูกสะอาด บรรเทาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ทั้งที่ไหลออกมาข้างนอก และที่ลงคอ น้ำที่ใช้ล้างแนะนำให้เป็นน้ำเกลือที่มีความเข้มข้น 0.9% เนื่องจากมีคุณสมบัติช่วยลดความเหนียวของน้ำมูก และที่สำคัญ ทำให้เชื้อโรคไม่สามารถเติบโตได้ค่ะ

ล้างจมูก ลูกขัดขืน จะทำให้สำลักลงปอดหรือเปล่า?

น้ำเกลือที่ใช้ล้างจมูกนั้นเป็นน้ำเกลือที่มีความอ่อนโยนมาก มากถึงขั้นสามารถใช้ล้างคอนแทคเลนส์ได้ ส่วนการจะสำลักนั้น โดยธรรมชาติของร่างกายคนเรา เวลาที่มีของเหลวเข้าจมูก ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถสำลักได้เช่นกัน แต่…
กรณีจะสำลักลงปอด เพราะลูกร้องและขัดขืนนั้น ต้องอธิบายแบบนี้ก่อนค่ะว่า เวลาที่เราใช้เสียงพูด กล่องเสียงจะปิด เราจึงไม่สามารถหายใจเข้าไป พูดไปพร้อมกันได้ค่ะ ดังนั้น ถ้าลูกจะสำลักลงปอด แสดงว่าลูกไม่ได้ใช้เสียงร้อง

ข้อดีของการล้างจมูก

  • ช่วยชะล้างมูกเหนียวข้นที่ไม่สามารถระบายออกได้เอง ทำให้โพรงจมูกสะอาดและโล่ง
  • อาการหวัดเรื้อรังดีขึ้น
  • ป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคจากจมูกและไซนัสไปยังปอด
  • เพิ่มความชุ่มชื้นกับเยื่อบุจมูก
  • ถ้าต้องมีการพ่นยา การล้างจมูกจะช่วยให้การพ่นยามีประสิทธิภาพมากขึ้น
แม่โน้ต

การล้างจมูกนอกจากจะทำให้ลูกน้อยสบายตัวแล้ว ยังเป็นการทำให้คุณแม่ทราบระยะของการไม่สบายของลูกได้อีกด้วยนะคะ เช่น ถ้าลูกไปพบคุณหมอมาแล้ว เราจะรู้ได้ว่าอาการของลูกดีขึ้น ให้สังเหตจากสีของน้ำมูกนี่แหละค่ะ เช่น น้ำมูกเริ่มใสขึ้น จากเดิมที่เขียว ที่เหลือง แบบนี้ลูกใกล้หายแล้ว เป็นต้นค่ะ

ควรล้างจมูกบ่อยแค่ไหน?

เมื่อพบว่ามีน้ำมูกเหนียวข้น เป็นจำนวนมาก หากต้องมีการพ่นยา ควรล้างจมูกก่อนเพื่อให้ตัวยาที่ได้จากการพ่นยานั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ควรล้างวันละ 2 ครั้ง คือ หลังตื่นนอนตอนเช้า และก่อนเข้านอน
** ควรล้างจมูกขณะท้องว่างหรือหลังทานอาหารไปแล้ว 2 ชม. **

ควรล้างจมูกอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ช่วงตื่นนอนตอนเช้า และก่อนเข้านอน หรือก่อนใช้ยาพ่นจมูกหรือยาหยอดจมูก
ข้อมูลอ้างอิง โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

อุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูก

  1. น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% หาซื้อได้ตามโรงพยาบาลหรือร้านขายยา (น้ำเกลือที่เหลือจากการใช้ล้างจมูก ควรเททิ้ง ไม่เทกลับลงขวดน้ำเกลือ)
  2. ถ้วยสะอาดสำหรับใส่น้ำเกลือ
  3. กระบอกฉีดยาพลาสติกขนาด 10-20 ซีซี ไม่ใส่เข็ม
  4. ภาชนะรองน้ำจมูกและเสมหะ
  5. กระดาษทิชชู

วิธีล้างจมูกที่ถูกต้อง

ควรอุ่นน้ำเกลือก่อนการล้างจมูกเสมอ โดยให้มีอุณหภูมิพอเหมาะกับเยื่อบุจมูก หากล้างจมูกด้วยน้ำเกลือที่ไม่ได้อุ่น หลังล้างแล้ว อาจทำให้เกิดอาการคัดจมูกได้ ก่อนล้างควรทดสอบความร้อนที่หลังมือก่อน หากหลังมือทนได้แสดงว่าใช้ได้

สำหรับเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถสั่งน้ำมูกหรือบ้วนเสมหะเองได้

  • ใช้ผ้าห่อตัวเพื่อป้องกันการดิ้น
  • ให้ลูกนอนโดยยกศีรษะให้สูงขึ้น จับหน้าให้นิ่ง
  • ค่อยๆ หยดน้ำเกลือครั้งละ 2-3 หยด หรือ
  • สอดปลายกระบอกฉีดยาชิดด้านในของรูจมูก ค่อยๆ ฉีดน้ำเกลือเข้าไปครั้งละประมาณครึ่งซีซี (0.5 ซีซี) หรือ
  • ใช้น้ำเกลือในรูปแบบสเปรย์พ่นจมูกก็ได้ค่ะ พ่นเข้าไปในโพรงจมูกเด็ก แทนการหยดหรือฉีด
  • ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกในจมูกออกมา ทำทั้ง 2 ข้าง ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าน้ำมูกจะหมด

สำหรับเด็กที่สามารถสั่งน้ำมูกและบ้วนเสมหะได้

  • จัดให้เด็กนั่งหรือยืน แหงนหน้าเล็กน้อย
  • สอดปลายกระบอกฉีดยาให้ชิดด้านในรูจมูก
  • ค่อยๆ ฉีดน้ำเกลือเข้าไปครั้งละ 0.5-1 ซีซี หรือเท่าที่เด็กทนได้ หรือ
  • ใช้น้ำเกลือในรูปแบบสเปรย์ และบอกเด็กว่าให้บ้วนน้ำเกลือที่ไหลลงคอออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • สั่งน้ำมูกพร้อมกันทั้งสองข้าง ไม่อุดรูจมูกด้านใดด้านนึงแล้วสั่ง เพราะจะทำให้แก้วหูทะลุได้

ทำไมล้างจมูกแล้วหูอื้อ เวียนหัว เหมือนบ้านหมุน

ข้อนี้แม่โน้ตก็เคยได้ยินมานะคะ ผู้ใหญ่บางคนก็มีอาการนี้ มันเกิดขึ้นได้เพราะอะไร ไปดูสาเหตุกันค่ะ
บางคนที่ล้างจมูกแล้วมีน้ำเกลือบางส่วนที่ไหลลงคอ มีอาการหูอื้อ ปวดหู หรือบางครั้งก็มีอาการเวียนศีรษะ นั่นเป็นเพราะว่าโพรงจมูกด้านหลังของเราจะมีช่องที่ติดต่อกับคอ และหูชั้นกลาง โดยผ่านทางท่อซึ่งเป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่าง “หูชั้นกลาง” และ “โพรงหลังจมูก” เพราะฉะนั้น เวลาที่เราล้างจมูกจึงมีน้ำเกลือบางส่วนที่อาจไหลลงมาที่คอได้ ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด ส่วนอาการหูอื้อ หรือปวดหูนั้นเป็นเพียงอาการชั่วคราวเท่านั้นค่ะ เพียงแต่ก่อนล้างจมูกในคราวถัดไปนั้น คุณแม่อาจต้องสังเกตสักหน่อยค่ะว่าทิศทางไหนที่ทำให้เกิดอาการหูอื้อ ควรเลี่ยงทิศทางดังกล่าวค่ะ

สำหรับคุณแม่ที่มีลูกน้อยอายุต่ำกว่า 6 เดือนแล้วต้องการล้างจมูกลูก แต่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร กลัวว่าลูกจะสำลักลงปอด สามารถติดตามได้จากบทความนี้ค่ะ “ล้างจมูกทารก 6 เดือน และมากกว่า 6 เดือนอย่างไรให้ถูกต้อง ไม่สำลักลงปอด


ลูกอายุ 3 เดือน ไม่สบาย น้ำมูกเยอะมาก จะล้างจมูกลูกได้ไหม จะสำลักจนลงปอดหรือเปล่า? การล้างจมูกเป็นเรื่องดีทำให้ลูกหายใจได้คล่องขึ้น ล้างจมูกอย่างไรให้ถูกวิธี คลิกที่นี่เลยค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP