ออทิสติกเทียม คืออะไร? ลูกเข้าข่ายหรือเปล่า?

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 1-3 ขวบ
JESSIE MUM

ออทิสติกเป็นพฤติกรรมที่พบได้มากในวัยเตรียมอนุบาลและวัยอนุบาล ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มากจากการเลี้ยงดู แต่พฤติกรรมไหนที่เรียกว่า “ออทิสติกเทียม” อาการเป็นอย่างไร และที่สำคัญสามารถรักษาหายไหม อันนี้คือคำถามที่คุณพ่อคุณแม่อยากรู้ วันนี้เราไปดูกันค่ะ

ออทิสติกเทียม คืออะไร?

ออทิสติกเทียม หรือพฤติกรรมที่คล้ายออทิสติกเป็นภาวะที่เกิดจากเด็กขาดการถูกกระตุ้นใน “การสื่อสารแบบสองทาง หรือ Two-Way Communication” คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงดูลูกโดยปล่อยให้เด็กอยู่กับหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว หรือ One-Way Communication ปราศจากการปฏิสัมพันธ์กันภายในครอบครัว เช่น ไม่ได้มีการเล่นกัน ไม่มีการพูดคุยกันในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น จึงส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางสังคมของเด็กที่มีความผิดปกติไป

ออทิสติก vs ออทิสติกเทียม

เด็กที่เป็นโรคออทิสติกนั้นเกิดจากความผิดปกติของสมองของเด็กเองตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในขณะที่ออทิสติกเทียมหลัก ๆ แล้วจะเกิดจากการ “ขาดการกระตุ้น” ทั้งสองอย่างแล้วดูเผิน ๆ อาจจะคล้ายกัน แต่เด็กที่เป็นออทิสเทียมหากได้รับการกระตุ้นหรือการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมและถูกต้องแล้วในระยะเวลาสั้น ๆ เด็กก็สามารถกลับมามีพฤติกรรมที่เป็นปกติได้

ส่วนเด็กที่เป็นออทิสติกจะยังมีพฤติกรรมที่ต่างจากเด็กปกติอย่างเห็นได้ชัด แต่เด็กที่เป็นออทิสติกก็ยังสามารถได้รับการกระตุ้นและพัฒนาพฤติกรรมได้เช่นกัน หากทำอย่างเหมาะสมและถูกทาง เด็กก็จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ค่ะ

อาการออทิสติก

หากคุณพ่อคุณแม่กังวลหรือไม่แน่ใจว่าลูกน้อยมีอาการออทิสติกหรือไม่ สามารถเช็คได้ ดังนี้

  • ไม่มีการสบตากับคนที่มาพูดคุยด้วย
  • ชอบทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ
  • พัฒนาการด้านการพูดช้า แม้อายุ 2 ขวบแล้วก็ยังพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง จับใจความไม่ได้ รวมถึงพูดไม่เป็นภาษา
  • ไม่มีการส่งเสียงอ้อแอ้ แม้ว่าถึงวัยที่จะต้องพูด
  • ไม่มีการแสดงท่าทางหรือแสดงความพยายามที่จะส่งเสียงร้อง
  • ไม่ตอบสนองต่อแสง สี เสียงที่คุณพ่อคุณแม่พยายามเอามาเป็นสิ่งเร้า
  • เรียกแล้วไม่หัน ไม่ใส่ใจ ไม่สนใจต่อเสียงกระตุ้น แม้จะเป็นเสียงของคุณพ่อคุณแม่
  • ไม่มีพฤติกรรมที่จะพยายามเลียนเสียงหรือท่าทางอื่น ๆ ของคนรอบข้างที่มาพูดคุยด้วย
  • ไม่รู้จักบทบาทสมมติ เล่นตามบทบาทสมมติไม่เป็น เช่น เล่นเป็นแม่ค้า หรือเล่นเป็นคุณหมอ
  • ชอบเล่นคนเดียว ปลีกตัว ไม่ชอบเข้าสังคมกับเด็กคนอื่น
  • ไม่สามารถบอกหรืออธิบายความต้องการของตัวเองได้ ดังนั้นจึงมักใช้วิธีการโวยวาย และอาละวาดแทน
  • มีวิธีการในการแสดงออกที่ต่างจากเด็กคนในวัยเดียวกันหรือไล่เลี่ยกัน
  • ร้องไห้งอแงแบบไม่มีเหตุผล มีพฤติกรรมเวลาที่ไม่ได้ดั่งใจแรงกว่าเด็กคนอื่น ๆ

ทั้งนี้ หากคุณพ่อคุณแม่เช็คดูแล้วมีอาการที่มากกว่า 2-3 ข้อ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยที่ถูกต้องอีกครั้งนะคะ เพราะหากลูกได้รับการกระตุ้นอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง อาการก็จะดีขึ้นได้ภายใน 6 เดือน และกลับมาเป็นปกติได้

วิธีป้องกันออทิสติกเทียม

อาการออทิสเทียมสามารถป้องกันได้ค่ะ

  • ไม่ควรให้ลูกหรือเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ รู้จักหน้าจอไม่ว่าจะเป็นทีวี สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต แต่หากลูกมีอายุมากกว่า 2 ขวบ สามารถให้เล่นได้ แต่ควรกำหนดเวลาโดยที่ไม่ควรเกิน 1 ชม. ต่อวัน
แม่โน้ต

ข้อนี้คุณพ่อคุณแม่ควรกำชับกับลูก พูดให้ลูกเข้าใจก่อนเล่น และเมื่อใกล้ถึงเวลาเลิก ควรเตือนเขาก่อนว่า “อีก 10 นาที เลิกเล่นนะลูก” เพื่อให้เขาได้รู้ตัวก่อน จะได้ไม่งอแงเมื่อต้องเลิกเล่น

  • ชวนลูก ๆ ทำกิจกรรมอื่น เช่น หากิจกรรมทำ หรือหาของเล่นที่เสริมพัฒนาการมาเล่นกับลูกแทน เช่น วาดรูป ระบายสี เล่นเกมกระดาน ต่อบล็อก ฯลฯ
  • คุณพ่อคุณแม่ควรชักชวนลูก ๆ พูดคุยบ่อย ๆ อย่างน้อย ๆ วันละ 30 นาที ถึง 1 ชม. เพื่อฝึกลูกในเรื่องการตอบโต้ และรู้จักการสื่อสารกับผู้อื่น
  • หาโอกาสพาลูก ๆ ได้ไปเข้าสังคมกับเด็ก ๆ ในวัยเดียวกันด้วยนะคะ เพื่อให้ลูกได้ฝึกการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • หมั่นสังเกตพฤติกรรมลูกอยู่เสมอ เพราะถ้าหากพบอาการที่คล้ายว่าจะเป็นออทิสติก จะได้พาลูกไปปรึกษาแพทย์ได้ทันท่วงที เพราะถ้ารู้แล้ว หายเร็วค่ะ

อาการออทิสติกเทียมเป็นอาการที่สามารถรักษาให้หายได้ หากลูกรับการกระตุ้นอย่างเหมาะสมและถูกต้อง
ข้อมูลอ้างอิง bangkokhospital.com, Motherhood.co.th

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP