เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกคนคงอยากให้ลูกสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ใช่มั้ยล่ะคะ? เพราะคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ต่างก็รู้กันดีว่าการให้ลูกสูงได้ดั่งใจอยาก นอกจากปัจจัยเรื่องกรรมพันธุ์แล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่…จะมีอยู่ช่วงอายุนึงของลูก (ที่ไม่ได้นานนัก) ที่เราจะสามารถช่วยให้เค้าสูงได้อีก ปัจจัยต่าง ๆ และเทคนิคที่จะทำให้ลูกสูงมีอะไรบ้าง? ไปดูกันเลยค่ะ
สารบัญ
ปัจจัยเพิ่มความสูงมีอะไรบ้าง
โกรทฮอร์โมน (Growth Homone)
ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโต มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับการช่วยเพิ่มความสูง
ร่างกายจะหลั่งโกรธ ฮอร์โมนออกมาที่สุดในช่วงเที่ยงคืน – ตี 1 แต่บนเงื่อนไขที่ว่าต้องหลับลึกแล้วเท่านั้นนะคะ
ไทรอยด์ (Thyroid Gland)
โดยเฉพาะฮอร์โมนไทร็อกซิน (Thyroxin) จะทำหน้าที่กระตุ้นกระดูกให้มีพัฒนาการดี ถ้าขาดฮอร์โมนตัวนี้ไป ร่างกายจะเตี้ย ไม่สมส่วน
ฮอร์โมนเพศ อย่างเอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง) และเทสโทสเตอโรน (ฮอร์โมนเพศชาย)
กลุ่มนี้ก็มีส่วนช่วยกระตุ้นในการเจริญเติบโตได้เช่นกัน โดยเฉพาะช่วงที่เริ่มเข้าสู่วัยหนุ่มสาว เพราะฮอร์โมนนี้ไปช่วยกระตุ้นการหลั่งของโกรทฮอร์โมนให้เพิ่มมากขึ้น ช่วยให้กระดูกยืดยาว…และนี้จึงเป็นเหตุว่าทำไมวัยรุ่นจึงโตเร็วค่ะ
นายแพทย์ วรวัฒน์ เอี่ยวสินพานิช แพทย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงพยาบาลปิยะเวท แนะนำว่า เด็กจะมีการเพิ่มความสูงใน 2 ช่วงวัย คือ
- ช่วงแรกเกิด – 2 ปีแรก
- ช่วงเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งผู้หญิงจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นเมื่ออายุ 11.5 – 16 ปี ส่วนผู้ช่ายเริ่มตั้งแต่ 13 – 20 ปี โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงจะหยุดสูงเมื่อประจำเดือนมา
สาเหตุของความเตี้ย
- กรรมพันธุ์
เป็นสาเหตุหลักที่พบมากที่สุด ถ้าคุณพ่อคุณแม่สูงทั้งคู่ ลูกก็สูงแน่นอน แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสูง ลูกก็จะสูงปานกลาง ซึ่งกรรมพันธุ์ของคุณแม่มีผลมากกว่าของุคุณพ่อ - ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่
- ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำในวัยเด็ก
- ความเครียด
ไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม เพราะจะส่งผลให้นอนไม่หลับ โกรทฮอร์โมนไม่หลั่งมากเท่าที่ควร - ไม่สบายบ่อยๆ
เช่น การเป็นโรคหอบหืด เพราะยาบางตัวมีผลต่อการเจริญเติบโต - ฮอร์โมนที่ช่วยในการเติบโตไม่สมดุล
ทำให้ร่างกายไม่รับการกระตุ้นกระดูกให้ยืดตามวัย ดังนั้นลูกจึงได้รับความสูงไปตามกรรมพันธุ์
4 วิธีเพิ่มความสูงให้ลูก
ดื่มนม
ให้ได้วันละ 2 แก้ว (เช้าและก่อนนอน) เพราะในนมอุดมไปด้วยแคลเซียม ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการในการสร้างเสริมกระดูกและการเจริญเติบโต
ออกกำลังกาย
หรือทำให้มีการยืดของร่างกายวันละประมาณ 30-60 นาที ไม่ว่าจะเป็นเล่นบาสเกตบอล กระโดดเชือก ว่ายน้ำ หรือการโหนบาร์ เป็นต้น
จะดีที่สุดหากเลือกกีฬาที่ต้องอาศัยการกระโดด เพราะการกระโดดจะทำให้กระดูกข้อต่อสั่นสะเทือน ซึ่งมีส่วนโดยตรงในการสร้างมวดกระดูกให้แข็งแรง ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกอ่อน นอกจากนี้ยังมีผลในการสร้างโกรธ ฮอร์โมนอีกด้วยค่ะ
ทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่
ทั้งมื้อเช้า มื้อกลางวัน มื้อเย็น และที่ขาดไม่ได้เลยคือ โปรตีนกับแคลเซียม ควรทานคู่กัน ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้
นอนหลับให้เพียงพอและเป็นเวลา
เด็กๆ ควรนอนให้ได้วันละ 8-10 ชั่วโมง แนะนำว่าไม่ควรนอนเกิน 4 ทุ่ม เพราะโกรทฮอร์โมนจะหลั่งในเวลา เที่ยงคืน – ตีหนึ่งครึ่ง เท่านั้น และจะหลั่งก็ต่อเมื่อเราหลับลึก
ดื่มนม…ช่วยให้สูงได้จริงหรือ?
จะว่ากันตามตรงแล้ว นมไม่ได้มีส่วนทำให้สูงได้โดยตรง และไม่ใช่ว่าต้องทานแต่นมอย่างเดียว เพราะการที่ลูกจะสูงขึ้นได้นั้น ต้องมีการสร้างกระดูก ซึ่งกระดูกจะเกิดขึ้นได้ก็มาจากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่ที่สำคัญ คือ ต้องอาศัยจากโกรทฮอร์โมนที่สร้างมาจากโปรตีนที่มีกรดอะมิโนครบและเพียงพอ
“แคลเซียม” ไม่ใช่ตัวการสำคัญในการเร่งความสูงก็จริง แต่ถ้าร่างกายขาดแคลเซียมก็ทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงักได้ ดังนั้น เด็กๆ ควรดื่มนมเป็นประจำทุกวัน เพื่อกระดูกที่แข็งแรง พร้อมกับทานโปรตีนให้เพียงพอก็จะช่วยในเรื่องของความสูงได้
อัตราความสูงที่เพิ่มขึ้นในแต่ละช่วงวัย
ปกติแล้วเด็กผู้หญิงจะโตเร็วกว่าเด็กผู้ชาย โดยเฉพาะในช่วงอายุ 10 – 11 ปี แต่เมื่ออายุได้ 16 ปี (โดยประมาณ) เด็กผู้หญิงก็จะหยุดสูง ในขณะที่เด็กผู้ชาย จะเริ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 12 – 15 ปี และหยุดสูงราว ๆ อายุ 18 – 20 ปี ทั้งนี้อัตราความสูงที่มาตรฐานตามช่วงวัยมีดังนี้
- ช่วงแรกเกิด – 1 ปี : ความสูงที่เพิ่มขึ้นจะประมาณ 25 ซม. ต่อปี
- ช่วงอายุ 1 – 2 ปี : ความสูงที่เพิ่มขึ้นจะประมาณ 10 – 12 ซม. ต่อปี
- ช่วงอายุ 2 – 4 ปี : ความสูงที่เพิ่มขึ้นจะประมาณ 7 – 8 ซม. ต่อปี
- ช่วงอายุ 4 – 10 ปี : ความสูงที่เพิ่มขึ้นจะประมาณ 5 – 6 ซม. ต่อปี
การเพิ่มความสูงมีหลายวิธี ซึ่งหนึ่งในหลาย ๆ วิธีที่สำคัญนั่นก็คือ อาหารที่ช่วยเพิ่มความสูง ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น คุณแม่สามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมแบบเจาะลึกได้ใน “สุดยอด 6 ผักใบเขียว กับ 9 อาหารช่วยเพิ่มความสูงให้ลูกได้” ได้นะคะ