แนะวิธีการอ่านหนังสือนิทานขั้นเทพ ยิ่งอ่านบ่อย ยิ่งกระตุ้นพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 3-5 ขวบ

เพราะพัฒนาการเป็นสิ่งสำคัญ การปลูกฝังให้ลูกรักการอ่าน และเป็นเด็กที่มีจินตนาการก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน กิจกรรมการอ่านหนังสือดูเหมือนจะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยการกระตุ้นพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้ลูกได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านความจำ หรือเสริมความรู้ แต่…ปัญหาคือ เด็กไม่ค่อยสนใจฟังเท่าไหร่ สมาธิหลุดบ่อย วันนี้โน้ตมีเทคนิคการอ่านหนังสือนิทานขั้นเทพมาฝากค่ะ จะอ่านอย่างไร ไปติดตามกันค่ะ

วิธีการอ่านหนังสือนิทานขั้นเทพ

เลือกเรื่องราวให้เหมาะสม

เหมาะสม” ถ้าจะขยายความให้เข้าใจง่ายก็คือ เหมาะสมทั้งในเรื่องของวัย พัฒนาการ สิ่งที่ลูกชอบ หรือเป็นประสบการณ์ เป็นเรื่องราวใกล้ตัวของลูก อาทิ เรื่องสัตว์ ต้นไม้ หรืออาจเป็นเรื่องการทำขนม ฯลฯ รวมไปถึงความยาวของนิทานที่อ่าน เพราะเด็กยิ่งเล็กมาก สมาธิเค้าก็จะสั้นตามไปด้วยขึ้นอยู่กับช่วงวัย และถึงแม้เด็กในวัยเดียวก็มีความชอบในสิ่งต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ดังนั้น การที่คุณพ่อคุณแม่เคยอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังแล้ว แต่ลูกไม่ชอบ ก็ไม่ได้แปลว่าลูกจะไม่รักการอ่านหนังสือนะคะ

นอกจากนี้ การเลือกเรื่องราวที่สามารถคาดเดาตอนจบได้ ลูกก็จะรู้สึกเบื่อ หรือเลือกเรื่องที่ซับซ้อนเกินไปลูกก็รู้สึกว่าต้องใช้ความคิดมากไปอีก เพราะฉะนั้นก่อนตัดสินใจซื้อหนังนิทานสักเล่ม ใจเย็น ๆ ค่อย ๆ เลือกนะคะแม่

ปรับเสียงสูงต่ำให้ต่างกันไป

ข้อนี้โน้ตลองมาแล้วกับตัวเองค่ะ สมัยที่ลูกยังเป็นทารก เคยรู้มาว่าให้คุณแม่ลองทำเสียงสูง เสียงต่ำเล่นกับลูกดู ลูกจะสนใจมากกว่าเสียงของแม่ในโทนเดิม ๆ ครั้งแรกที่ลองทำ “เออ…มันได้ผลแห๊ะ” ลูกหันขวับเลย มองโน้ตด้วยสายตาว่า “เอ๊ะ…แม่ทำเสียงอะไรน่ะ?” สักพักก็นอนยิ้ม

พอโตขึ้นมาหน่อย เวลาอ่านนิทานให้ลูกฟังก็จะใช้การพากย์หลาย ๆ เสียงตามจำนวนตัวละคร เพิ่มอรรถรสในการเล่าและฟังนิทานได้มากทีเดียวค่ะ ลูกนั่งฟังได้จนจบเรื่องเลย

มีอุปกรณ์เสริม

บางครั้งการเล่านิทานอย่างเดียวอาจจะดูน่าเบื่อไปสักนิด ให้คุณพ่อคุณแม่ลองหาอุปกรณ์เสริม อาทิ ตุ๊กตามือ ตุ๊กตาสวมนิ้วเล็ก ๆ หรือจะใช้กระดาษวาดขึ้นเองก็ได้ค่ะ แล้วตัดให้ได้รูปทรง แบบนี้ก็จะทำให้ลูกเข้าใจเรื่องราวมากขึ้น ทำให้ลูกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเล่านิทานมากขึ้นมากกว่าแค่นั่งฟังอย่างเดียว นับเป็นการกระตุ้นความสนใจของลูกได้ดีทีเดียวค่ะ (ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่จำเรื่องราวในนิทานได้ สคริปต์ไม่ต้องแป๊ะมาก แล้วมาเล่าให้ลูกฟัง แบบนี้ก็จะเพิ่มสนุกได้มากขึ้นค่ะ)

กระตุ้นให้คิดตามและถามได้

ในระหว่างการอ่าน หรือจะเป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่กำลังอ่านอยู่ก็ได้ค่ะ ชักชวนลูกให้คิดตามโดยการตั้งคำถาม อาทิ

“เพื่อน ๆ เค้าไปอยู่ไหนกันแล้วนะ?”
“หนูชอบตัวละครไหนที่สุดคะ? เพราะอะไร?”
“ถ้าเป็นหนู หนูจะทำอย่างไรคะ?”

ปัจจุบัน หนังสือนิทานส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือนิทานที่เน้นสอนในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม มารยาท กาลเทศะ ความอดทน การแบ่งปัน ฯลฯ ถ้าช่วงนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องการสอนลูกในเรื่องอะไรก็ลองเลือกเรื่องให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงดูนะคะ

อ่านสม่ำเสมอ

โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถกำหนดเวลาที่แน่นอนให้ลูกเลยก็ได้ค่ะ เช่น หลังอาหารเช้า (กรณีปิดเทอม หรือเสาร์-อาทิตย์) หรือก่อนเวลาเข้านอน และเริ่มจากหนังสือที่ใช้เวลาอ่านไม่นาน จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มความยาวไปทีละนิด เป็นพฤติกรรมที่ทำทุกวัน เมื่อเกิดเป็นพฤติกรรมที่ทำทุกวัน ก็จะเคยชินเป็นนิสัย ติดการอ่านหนังสือไปเอง และ…ขณะอ่านนิทานต้องปิดสิ่งเร้าทุกอย่างด้วยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นทีวี มือถือ หรือแทปเล็ต จะได้ไม่รบกวนสมาธิของทั้งคนอ่านและคนฟังค่ะ

ยิ่งอ่านบ่อย ยิ่งดี

ไม่ได้หมายความว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องซื้อหนังสือใหม่ ๆ บ่อย ๆ ซื้อจนเต็มบ้าน หนังสือเยอะไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของลูก แต่ขึ้นอยู่กับ “ช่วงเวลาคุณภาพ” ที่คุณพ่อคุณแม่มีให้กับลูกมากกว่า ไม่เป็นไรเลย หากคุณพ่อคุณแม่จะหยิบหนังสือเดิม ๆ มาอ่านให้ลูกฟังซ้ำ ๆ กว่าจะถึงตอนนั้นโน้ตว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถคิดนิทานให้ลูกอ่านได้เองแล้วล่ะค่ะ เมื่อถึงตอนนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็ทำหนังสือนิทานได้เองจากการเขียนและวาดก็ได้ค่ะ

ชวนอ่านสิ่งต่าง ๆ รอบตัว

เวลาเราเดินทางไปที่ไหนสักแห่ง เราจะเห็นตัวอักษร ตัวเลขเต็มไปหมด นั่นแสดงว่า การอ่านไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในหนังสืออย่างเดียว ลองชี้ชวนให้ลูกอ่านไปด้วยกันนะคะ ไม่ว่าจะเป็นป้ายร้านอาหาร ป้ายฉลากสินค้า ป้ายโฆษณา ป้ายบอกทาง ฯลฯ เพื่อเป็นการยกระดับความสามารถในการอ่านของลูกค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ คุณพ่อคุณแม่คิดออกหรือยังว่าวันนี้จะอ่านนิทานเรื่องอะไรให้ลูกฟังดี^^

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP