ไฮเปอร์กับสมาธิสั้นต่างกันอย่างไร

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 3-5 ขวบ

จะว่ากันตามจริงแล้วยังมีคุณพ่อคุณแม่อีกหลายคนที่ยังแยกไม่ออกหรือดูไม่ออกว่าไฮเปอร์กับสมาธิสั้นต่างกันอย่างไร จะใช้อะไรเป็นตัววัดผล วันนี้เรามีวิธีสังเกตมาฝากค่ะ

รู้จักกับโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น (ADHD – Attention Deficit Hyperactivity Disorder) คือ ภาวะที่ผิดปกติทางจิตเวชส่งผลให้มีสมาธิสั้นกว่าปกติ ไม่สารถควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวเองได้ จึงแสดงออกในทางซุกซน วอกแวกง่าย ไม่ค่อยอยู่นิ่ง เก็บรายละเอียดไม่ค่อยได้ จะพบมากในเด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 3-7 ปี แต่บางรายหากเป็นไม่มากก็จะมักจะแสดงอาการออกมาเมื่ออายุขึ้น 7 ปีไปแล้ว

อาการของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น

1.อาจมี A หรือ B

A.อาการขาดสมาธิ คือ เด็กต้องมีอย่างน้อย 6 ข้อหรือมากกว่าจากด้านล่างนี้ และเป็นระยะเวลาต่อเนื่องติดต่อกันนาน 6 เดือน โดยที่ระดับของพัฒนาการไม่ได้เป็นไปตามวัย

  • ไม่รอบคอบเวลาทำงานหรือทำการบ้าน
  • ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมหรือเล่น
  • ดูเหมือนไม่ได้ฟังสิ่งที่คนอื่นกำลังพูดกับตน
  • มักทำไม่ครบตามคำสั่ง ไม่ว่าจะเป็นการบ้าน งานหรือกิจกรรมที่โรงเรียน (แต่ไม่ใช่เพราะต่อต้าน หรือไม่เข้าใจ)
  • มีปัญหากับการจัดระบบงาน ทำงานไม่เป็นระเบียบ
  • มักเลี่ยงหรือไม่เต็มใจในงานที่ต้องในความคิด
  • มักทำของหายอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะที่โรงเรียน
  • วอกแวกมองสิ่งเร้านอกห้องได้ง่าย
  • หลงลืมกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำบ่อยครั้ง

B.อาการอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) คือ อาการของเด็กที่อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น เป็นอย่างนี้ติดต่อกันนาน 6 เดือน โดยที่ระดับของพัฒนาการไม่ได้เป็นไปตามวัย

  • อยู่ไม่สุข มักขยับตัว ขยับเท้าไปมา
  • มักลุกออกจากที่นั่งในขณะที่ควรนั่งอยู่กับที่
  • วิ่งไป วิ่งมา ปีนป่ายกับสิ่งที่ไม่ควรทำ
  • ไม่สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมที่เงียบ ๆ ได้
  • พร้อมที่จะ “วิ่ง” ไปอยู่ตลอดเวลา
  • ชอบพูด พูดไม่หยุด
  • มีอาการหันพลันแล่น (Impulsivity)
  • มักโพล่งคำตอบออกมาก่อน โดยที่ฟังคำถามยังไม่จบ
  • ไม่ชอบการเข้าคิวหรือการรอคอย
  • มักพูดแทรกคนอื่นอยู่เสมอ

2.พบอาการเหล่านี้ก่อนอายุ 7 ขวบ
3.พบความบกพร่องเหล่านี้ได้ในสถานที่ต่าง ๆ อย่างน้อย 2 แห่ง คือ บ้านและโรงเรียน
4.อาจต้องมีความรุนแรงของอาการจนกระทั่งเป็นอุปสรรคต่อการเรียน การเข้าสังคม และการทำงานอย่างเห็นได้ชัด

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

  • ผลการเรียนต่ำลงอย่างมีนัย โดยพบมากตั้งแต่ช่วง ป.1-ป. 2 และผลการเรียนลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเข้า ป. 4
  • คุณครูมีรายงานพฤติกรรมความผิดปกติของเด็กให้คุณพ่อคุณแม่ฟัง
  • คุณพ่อคุณแม่เริ่มเห็นความผิดปกติได้ชัดเจนขึ้น
  • เริ่มเล่นรุนแรงกับเพื่อนจนเพื่อนได้รับบาดเจ็บ
  • ลูกเริ่มแยกตัวอยากอยู่คนเดียว ไม่ชอบการสื่อสาร และไม่ชอบการเข้าสังคม (จากการที่ถูกเพื่อนปฏิเสธหรือรังแก)

โรคไฮเปอร์ต่างกับโรคสมาธิสั้นอย่างไร

เด็กที่เป็นไฮเปอร์ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคสมาธิสั้นเสมอไป เนื่องจากไฮเปอร์คือ อาการที่อยู่ไม่นิ่ง เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคสมาธิสั้น ซึ่งเป็นเพียงสาเหตุหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีเด็กที่มีไอคิวสูง เด็กที่มักมีความวิตกกังวล เด็กที่มีพัฒนาการทางประสาทล่าช้า ฯลฯ เพราะเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หากคุณพ่อหรือคุณแม่เป็น ลูกมีโอกาสเป็นได้ถึง 50%

การป้องกันลูกไม่ให้เป็นโรคสมาธิสั้น

  • หลีกเลี่ยงให้ลูกสัมผัสหน้าจอหากลูกยังอายุไม่ถึงเกณฑ์
  • ถ้าจะให้ลูกสัมผัสหน้าจอ ลูกควรมีอายุมากกว่า 2 ขวบครึ่ง และไม่ควรปล่อยให้ลูกดูตามลำพัง
  • จำกัดการดูวันละ 1 ชั่วโมง
  • หากิจกรรมอื่น ๆ ทำร่วมกันในครอบครัว อาทิ การเล่นกีฬา เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง ปั่นจักรยาน หรืออาจเป็นการเล่นดนตรี เช่น เปียโน หรือแม้แต่การร้องเพลงเล่นกันก็ได้

จากที่กล่าวมาทั้งหมด หากคุณพ่อคุณแม่คนไหนยังไม่มั่นใจ ว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไฮเปอร์ แนะนำไปปรึกษาคุณหมอนะคะ เพื่อรับการวินิจฉัยให้ถูกต้อง ซึ่งถ้าลูกเป็นโรคดังกล่าว แล้วสามารถรักษาให้หายได้ ลูกจะเติบโตขึ้นมาและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข เขาจะมีความภาคภูมิใจในตัวเองอย่างมากทีเดียวค่ะ

อ้างอิง โรงพยาบาลกรุงเทพ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP