ทำไมลูกชอบเถียง? ชวนพ่อแม่ทำความเข้าใจก่อนปรับพฤติกรรม

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

ทุกคนเคยผ่านการเป็นเด็ก ทุกคนเคยผ่านการที่ถูกมองว่า “เถียง” มาก่อน แต่มาวันนี้ วันที่เราเป็นคุณพ่อคุณแม่แล้ว โน้ตก็อยากจะชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของ “ลูกชอบเถียง” กันสักหน่อย เมื่อเราเข้าใจสาเหตุและไปถึงต้อนตอของพฤติกรรมแล้ว เราก็จะแก้ไขพฤติกรรมได้ง่ายขึ้น แต่เดี๋ยวก่อน…คำว่า “ง่ายขึ้น” ไม่ได้หมายความว่าจะปรับพฤติกรรมได้ภายในวันเดียวนะคะ ต้องอาศัยเวลาค่ะคุณพ่อคุณแม่

พัฒนาการด้านภาษา

ก่อนอื่นเลยเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า พัฒนาการของเด็กโดยปกติแล้ว เด็กที่มีอายุระหว่าง 3-5 ปี นั้น เขาจะมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ได้ดีและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้รวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของภาษา

อายุ 3 ขวบ

เป็นวัยที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนปวดหัว เจ็บคอ ไม่ใช่อะไรนะคะ แต่เป็นเพราะความช่างพูด ช่างซักถาม ของเขานั่นเอง เป็นวัยที่เห่อการพูด สงสัยอะไรก็จะถามไปซะหมด สามารถจดจำเพลงและเนื้อเพลงได้ดี

อายุ 4 ขวบ

เริ่มจดจำตัวอักษร เริ่มอ่านได้มากขึ้นและคล่องขึ้น รวมทั้งยังสามารถร้องเพลงที่มีท่วงทำนองที่สนุกสนานได้มากขึ้นอีกด้วยค่ะ

อายุ 5 ขวบ

เข้าใจคำสั่งได้มากขึ้น เข้าใจความหมายตรงกันข้าม เรียนรู้วิธีการเขียนได้เร็ว บางคนเริ่มอ่านคำที่ตัวเองเห็นบ่อย ๆ ได้แล้วทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

สาเหตุที่ลูกชอบเถียง

จากหัวข้อที่ผ่านมา แม้ว่าเด็กจะเรียนรู้คำศัพท์ได้มากแค่ไหน แต่เด็กยังมีคำศัพท์ในหัวไม่มากพอและยังไม่สามารถเรียบเรียงคำพูดให้ดูสละสลวยได้ จนทำให้การที่ลูกพยายามที่จะอธิบายเหตุผลให้คุณพ่อคุณแม่ฟังนั้นจึงดูเป็นการเถียงไปซะอย่างนั้น

การเถียงของลูกนั้นเกิดจากการที่ลูกต้องการจะอธิบายว่าไม่ได้เป็นอย่างที่คุณพ่อคุณแม่เข้าใจสักหน่อย ถ้าย้อนดูในอดีต มีหลายครั้งที่คุณพ่อคุณแม่มักเหมารวมพฤติกรรมของลูกไปในทางลบ และต่อว่าลูกด้วยการใส่อารมณ์ เช่น

“เอาอีกแล้ว ทำไมเล่นของเล่นแล้วไม่ชอบเก็บนะ”

ซึ่งทางที่ถูกควรจะเข้าไปคุยกับลูกดี ๆ ประมาณว่า “คราวหน้าถ้าหนูเล่นของเล่นแล้วไม่ยอมเก็บ หนูอยากให้แม่ทำอย่างไรดีคะ” เป็นต้น วิธีนี้ก็จะเป็นการฝึกให้ลูกได้คิดวิเคราะห์อีกด้วยนะคะ
ถ้ามองกันอีกด้านโน้ตว่าการที่ลูกแสดงความคิดเห็นออกมาเลย ก็ดีกว่าการนั่งพยักหน้าหงึก ๆ เหมือนจะเชื่อฟัง แต่ในใจลูกนั้นคิดไปคนละทางกับคุณพ่อคุณแม่ แบบนี้เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าลูกคิดอะไรอยู่

“เถียง” vs “แสดงความคิดเห็น”

ระหว่างการ “เถียง” กับ “แสดงความคิดเห็น” บางครั้งมันใกล้กันอย่างที่เรียกได้ว่าแยกยาก แต่…ก็ไม่ได้หมายความว่าจะแยกไม่ได้เลยซะทีเดียว วันนี้เรามาดูกันชัด ๆ ค่ะ ว่าแบบไหนของลูกที่เรียกว่า “เถียง” และแบบไหนที่เรียกว่า “แสดงความคิดเห็น”

เถียง

  • พูดและแสดงออกอย่างมีอารมณ์
  • ใช้เสียงดังเข้าข่ม
  • พูดแบบข้าง ๆ คู ๆ
  • ไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
  • จะเอาชนะอย่างเดียว

แสดงความคิดเห็น

  • พูดด้วยน้ำเสียงราบเรียบ ไม่ขึ้นเสียง
  • ไม่แสดงออกถึงความไม่พอใจ ไม่ชักสีหน้า
  • ไม่ใช้อารมณ์
  • พูดหรืออธิบายอย่างมีเหตุผล
  • พูดเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน

ถ้าจะสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ หรือวิธีสังเกตที่ง่ายสำหรับคุณพ่อคุณแม่ก็คือ ดูว่าลูกใช้ “อารมณ์” ในการพูดหรือเปล่านั่นเองค่ะ เพราะอารมณ์คือตัวแปรสำคัญ หากมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องจะส่งผลต่อคำพูดและพฤติกรรมทันที

เทคนิคการปรับพฤติกรรมลูกชอบเถียง

การเลี้ยงลูกไม่ใช่ว่าเป็นหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งที่ต้องปรับ แต่ต้องปรับไปด้วยกันทั้งคุณพ่อคุณแม่และคุณลูกนะคะ

ไม่ใช้อารมณ์นำทาง

เริ่มจากคุณพ่อคุณแม่ก่อนเลยค่ะ เราต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก ทำให้เป็นกิจวัตร แล้วสิ่งนี้จะก่อเกิดเป็นนิสัยไปเองค่ะ

เปิดใจ

การให้โอกาสให้ลูกได้พูดนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องเปิดใจเสียก่อนนะคะ ฟังลูก พร้อมทำความเข้าใจลูกในสิ่งที่เขาพยายามจะสื่อสารกับเรา

แสดงหรือบอกลูกเสมอว่าเราคือ พวกเดียวกัน

ทำให้ลูกได้รู้ว่า ไม่ต้องเอาชนะกัน เราคือ พวกเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่พร้อมให้ความเข้าใจกับลูกเสมอ

ใช้ภาษากายหรือภาษาท่าทาง

เวลาที่ลูกเริ่มมีอารมณ์ ให้คุณพ่อคุณแม่ใจเย็น ๆ ก่อนนะคะ แล้วเอามือค่อย ๆ ลูบหลัง หรือจับมือลูกอย่างอ่อนโยน มีแววตาที่พร้อมจะเข้าใจ ลูกจะสัมผัสได้ เขาจะเริ่มเย็นลงค่ะ

ใช้เหตุผลคุยกับลูก

คุณพ่อคุณแม่ต้องใช้เหตุผลคุยหรืออธิบายกับลูกก่อน เพื่อเขาจะได้เรียนรู้และมีแบบอย่างที่ดีค่ะ

สอนให้ลูกรับฟังคนอื่นอย่างตั้งใจเช่นกัน

เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหากลูกเป็นฝ่ายที่จะพูดอย่างเดียว จะทำให้ลูกไม่สามารถเปิดใจเรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้เลย

เอาใจเขามาใส่ใจเรา

ทุกครั้งที่เกิดปัญหา ให้คุณพ่อคุณแม่ลองคิดกลับกันว่า ถ้าเป็นเราในอายุเท่าลูกตอนนี้ เราจะทำแบบนี้ไหม หรือความคิดความอ่านของเด็กในวัยนี้มีขีดจำกัดแค่ไหน เป็นต้น เราจะเข้าใจลูกมากขึ้น

การเลี้ยงลูกในแง่ของการปรับตัว ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่หน้าที่ลูก หน้าที่คุณพ่อ หรือหน้าที่คุณแม่ แต่ทุกคนต้องเรียนรู้และปรับเข้าหากัน โน้ตมักจะพูดไว้เสมอว่า แม้จะเป็นผู้ใหญ่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำถูกทุกอย่าง รักลูก…เลี้ยงลูกด้วยความเข้าใจนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP