ล้างจมูกทารก 6 เดือน และมากกว่า 6 เดือนอย่างไรให้ถูกต้อง ไม่สำลักลงปอด

การดูแลสุขภาพเด็ก

ทุกครั้งที่ลูกน้อยป่วยโดยเฉพาะอาการไม่สบายที่เกิดขึ้นกับเด็กเล็ก ๆ ที่อายุต่ำกว่า 12 เดือน คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่เป็นอันกินอันนอนไปตามกัน เพราะลูกน้อยก็มักจะมีอาการไข้ ไอ และมีน้ำมูก ลูกน้อยหายใจไม่ออกเพราะมีน้ำมูกมาอุดตัน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ก็อยากล้างจมูกแต่ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มจากอะไรก่อน ต้องใช้อะไรบ้าง ที่สำคัญ ล้างอย่างไรให้ลูกไม่ต่อต้านจนเกิดการสำลักลงปอด วันนี้เราจะมาคุยเรื่องนี้กันค่ะ

หากไม่ล้างจมูก ลูกอาจเสียชีวิตได้

ขนาดนั้นเลยหรือ? ใช่ค่ะ เพราะเมื่อเวลาที่ทารกไม่สบาย มีไข้ เขาจะรู้สึกไม่สบายตัว สิ่งเดียวที่เขาสามารถสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ได้ก็คือ “การร้องไห้” โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากลูกมีน้ำมูกมาอุดกั้นระบบทางเดินหายใจ สิ่งนี้เองค่ะอาจทำให้ลูกเสียชีวิตได้ เพราะลูกหายใจไม่ออก ซึ่งเด็กเล็ก ๆ นั้นเขายังไม่สามารถหายใจทางปากได้

การล้างจมูกทารกในแต่ละช่วงวัย

ทารกวัยแรกเกิด – 6 เดือน

ถ้าในเด็กอ่อนมาก ๆ จะไม่ใช้วิธีการสวนล้างค่ะ แต่จะใช้วิธีการเช็ดจมูกหรือการน้ำขี้มูกที่เกรอะกรังออกมาแทน แต่ถ้าหากมีน้ำมูกมาก ๆ แนะนำควรให้แพทย์หรือพยาบาลเป็นผู้ดูดออกให้ด้วยเครื่องมือแพทย์จะดีที่สุดค่ะ เพื่อลดการระคายเคืองของเยื่อบุโพรงจมูกของลูกได้ แต่ถ้าน้ำมูกไม่มาก คุณแม่สามารถทำเองได้ที่บ้านค่ะ

อุปกรณ์ล้างจมูกทารกแรกเกิด – 6 เดือน

  • น้ำเกลือนอร์มอลซาไลน์
  • ไซริงค์ 3 – 5 ซีซี
  • ลูกยางแดงสะอาด
  • ผ้าห่อตัว

วิธีการล้างและดูดน้ำมูกทารก

  • นำผ้ามาห่อตัวทารก เพื่อป้องกันการดิ้น
  • อุ้มในท่าที่ศีรษะสูงกว่าลำตัวเล็กน้อย หยดน้ำเกลือ หรือสเปรย์น้ำเกลือลงในจมูก 2 – 3 หยด ต่อข้าง ทิ้งไว้ 5 – 10 นาที รอจนกว่าน้ำมูกจะอ่อนตัวลง
  • ใช้ลูกยางแดงสะอาด ดูดน้ำมูกในโพรงจมูกออก
  • ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำเกลือแล้วเช็ดทำความสะอาดรูจมูกอีกครั้ง

** ควรทำวันละ 1 – 2 ครั้ง หากยังพบว่ามีปริมาณน้ำมูกที่เพิ่มมากขึ้น ควรปรึกษาคุณหมอค่ะ **

ทารกวัย 6 เดือน ขึ้นไป

วัยนี้กระดูกคอเริ่มแข็งแล้ว ลูกน้อยเริ่มคว่ำเองได้ คุณแม่สามารถอุ้มลูกในท่าคว่ำได้ค่ะ การล้างจมูกของเด็กวัยนี้ แนะนำให้ล้างวันละ 2 ครั้ง หากพบว่าอาการยังไม่ดีขึ้น และยังมีน้ำมูกมากขึ้น แนะนำควรไปปรึกษาคุณหมอค่ะ เพราะหากลูกมีอาการหวัดเรื้อรังนานเกิน 1 สัปดาห์ และเป็นหวัดบ่อย ลูกอาจมีอาการของภูมิแพ้ได้

อุปกรณ์ล้างจมูกทารก 6 เดือน ขึ้นไป

  • น้ำเกลือนอร์มอลซาไลน์
  • ไซริงค์ 10 ซีซี หรืออาจเป็นลูกยางแดงสะอาด
  • ผ้าห่อตัว

วิธีการล้างและดูดน้ำมูกทารก

  • ห่อตัวลูก หากลูกดิ้นมาก
  • อุ้มลูกในท่าที่เหมือนถือลูกฟุตบอล โดยให้หน้าลูกคว่ำลง มือประคอลใต้คางลูกไว้ให้กระชับ และมั่นคง
  • ดูดน้ำเลือกให้เต็มไซริงค์หรือลูกยาง
  • ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในโพรงจมูกข้างหนึ่ง โดยฉีดอย่างต่อเนื่องทั้งไซริงค์ น้ำมูกจะไหลออกมาพร้อมน้ำเกลือ พักให้ลูกได้หายใจและค่อยทำซ้ำจนกว่าน้ำเกลือที่ไหลออกมาจะสะอาด

วิธีฉีดสเปรย์น้ำเกลือทารก

  1. พ่อสเปรย์น้ำเกลือเข้าที่รูจมูกข้างละ 2 – 3 ครั้ง
  2. รอประมาณ 5 – 10 นาที หรือจนกว่าขี้มูกหรือน้ำมูกอ่อนตัวลง
  3. ให้คุณแม่เช็ดใช้ลูกยางแดงดูดออกมา
แม่โน้ต

คุณแม่จะใช้ลูกยางแดง หรือคัดเติ้ลบัตเล็กสำหรับเด็ก ค่อย ๆ เช็ดออกก็ได้นะคะ แต่…ต้องทำอย่างเบามือนะคะ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นว่าดันน้ำมูกเข้าไปลึกกว่าเดิม

การล้างจมูกลูกเมื่อเวลาลูกจะทำให้ลูกรู้สึกสบายตัวขึ้น โดยเฉพาะในเวลากลางคืน จะทำให้หลับยาวมากขึ้นไม่มีน้ำมูกย้อยไปรบกวนระบบทางเดินหายใจ เพราะเวลานอนน้ำมูกจะไหลย้อยไปที่คอ รบกวนระบบทางเดินหายใจทำให้ลูกไอได้ค่ะ ครั้งแรกของการล้างจมูก คุณแม่อาจดูเก้ ๆ กัง ๆ นิดหน่อย แต่ไม่เป็นไรค่ะ ทำบ่อย ๆ เดี๋ยวก็คล่องเอง

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP