วิธีช่วยลูกจากการสำลักอาหาร หรือสิ่งแปลกปลอมอย่างถูกวิธี

การดูแลสุขภาพเด็ก
JESSIE MUM

การสำลัก” คือ การที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปที่หลอดลม ลูกน้อยจะมีอาการไออย่างมาก ซึ่งการไปนี้เองเป็นกลไกในการขับสิ่งแปลกปลอมออกจากท่อหลอดลม หากไอและขับออกมาได้สำเร็จ ลูกน้อยจะหยุดไอและหายเป็นปกติ
แต่ในกรณีที่ขับออกไม่สำเร็จ แต่สิ่งแปลกปลอมนั้นมีขนาดเล็กอาจลงไปสู่ทางเดินหายใจส่วนล่าง อาจส่งผลให้มีการติดเชื้อตามมา มีไข้ ไอเรื้อรัง เพราะสิ่งแปลกปลอมนั้นมีเชื้อโรค แต่ในกรณีที่สิ่งแปลกปลอมมีขนาดใหญ่พอที่จะอุดท่อหลอดลมขนาดใหญ่ อาจทำให้ลูกน้อยหายใจไม่ออกเฉียบพลัน ขาดออกซิเจน (สมองสามารถขาดออกซิเจนได้นานเพียง 4 นาทีเท่านั้น) หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตได้ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการป้องกันและช่วยเหลือลูกน้อยอย่างถูกวิธีกันค่ะ โดยแบ่งออกเป็นลูกน้อยที่อายุไม่ถึง 1 ขวบและลูกน้อยที่อายุมากกว่า 1 นะคะ

ปัจจัยที่จะทำให้ลูกสำลักนม อาหาร หรือสิ่งแปลกปลอม

สามารแบ่งออกได้เป็น 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้

ปัจจัยภายใน

  • เด็กแรกเกิดที่มีปัญหาด้านอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการดูดกลืนที่ผิดปกติ เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ ช่องต่อของระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจมีปัญหา หรือมีภาวะหูรูดทางเดินอาหารที่ยังปิดได้ไม่สมบูรณ์
  • เด็กแรกเกิดที่มีปัญหาเรื่องโรคหัวใจ โรคปอด ทำให้ต้องหายใจถี่ขึ้น เร็วขึ้น
  • มีพัฒนาการที่ล่าช้า หรือเคยมีประวัติชักมาก่อน จึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะสำลักได้ง่าย

ปัจจัยภายนอก

  • ถ้าลูกสำลักนม เนื่องจากวิธีการให้นม แต่ถ้าลูกดูดนมจากเต้า โอกาสที่จะสำลักมีน้อย เพราะน้ำนมแม่จะไหลก็ต่อเมื่อมีการดูด แต่ถ้าเป็นการให้นมจากขวดนม ไม่ว่าลูกจะดูดหรือไม่ดูด น้ำนมก็จะไหลออกมาอยู่ดี เพราะฉะนั้น ถ้าคุณแม่ให้นมลูกในลักษณะที่ผิดท่า ไม่ถูกวิธี เช่น ป้อนนมในขณะที่ลูกนอนราบกับพื้น ป้อนนมในขณะที่ลูกกำลังร้องไห้ หรือป้อนนมลูกไป ชวนลูกคุยไป แถมเล่นไปอีก โอกาสสำลักก็ง่ายขึ้นค่ะ
  • เลือกใช้จุกนมที่ผิดขนาด ไม่เหมาะกับช่วงวัย ทำให้ปริมาณที่ลูกได้รับจากการกินนมนั้นมากเกินไป

วิธีการป้องกัน

หนึ่งในหลายๆ สาเหตุที่ทำให้เด็กเล็กเสียชีวิตจากภาวะทางเดินหายใจก็คือการอุดตันจากสิ่งแปลกปลอม ค่อยข้างพบบ่อยในเด็กเล็กเพราะชอบนำสิ่งของเข้าปากแล้วสำลักลงหลอดลมซึ่งการป้องกันมีดังนี้ค่ะ

  1. ไม่ให้ของชิ้นเล็กๆ แก่เด็กๆ
  2. เก็บสิ่งของให้พ้นมือเด็ก เก็บในที่ที่ลูกน้อยไม่สามารถเอื้อมหยิบได้ เช่น เมล็ดถั่ว กระดุม เมล็ดข้าวโพดองุ่น ลูกเกด ขนมเยลลี่ ลูกปัด ลูกเต๋า เหรียญบาท แบตเตอรี่ ชิ้นส่วนของเล่น หรือแม้แต่ชิ้นส่วนลูกโป่งที่แตก
  3. สิ่งของใดก็ตามที่มี“ขนาดเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของแกนกระดาษชำระ” ถือว่าเป็นอันตรายและมีความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะเอาเข้าปาก ควรวางไว้ในที่ที่ลูกน้อยเอื้อมไม่ถึงนะคะ
  4. หากลูกน้อยกำลังทานอาหารที่ต้องอาศัยการเคี้ยว ต้องคอยบอกลูกน้อยเสมอนะคะ ว่าค่อยๆ เคี้ยวให้ละเอียด อย่ารีบร้อนกลืน (หรือแม้แต่ดื่มน้ำหรือดูดนมจากขวดก็ตาม)
  5. ไม่ทานอาหารขณะนอนราบ
  6. ไม่พูด, หัวเราะ หรือวิ่งเล่น ขณะมีอาหารอยู่ในปาก

วิธีช่วยเหลือลูกน้อยอย่างถูกวิธี

ลูกน้อยอายุน้อยกว่า 1 ขวบที่ยังไม่หมดสติ:

ขณะที่คุณแม่กำลังช่วยเหลือลูกน้อย วานให้คนอื่นโทรหารถฉุกเฉิน แต่หากคุณแม่อยู่กับลูกเพียงลำพัง คุณแม่ก็ต้องช่วยลูกไปด้วยและพยายามโทรหาตามรถไปด้วย

Tips : ควรเขียนเบอร์ฉุกเฉินตัวใหญ่ๆ แปะไว้ที่ผนังด้านในส่วนที่มองเห็นได้ง่ายด้วยนะคะ
  1. วิธี Back Blows : อุ้มลูกน้อยไว้ทีท่อนแขนโดยศีรษะต่ำกว่าลำตัวประมาณ60 องศา ใช้ต้นแขนของคุณแม่เป็นที่รองแขน โดยใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ประคองบริเวณคาง เพื่อบีบแก้มให้อ้าปากค้างไว้
    “ใช้สันมืออีกข้างทุบแรงๆ บริเวณกึ่งกลางของหลัง ระดับแนวกระดูกสะบัก ทำติดกัน 5 ครั้งเร็วๆ”
  2. วิธี Chest Thrusts : หากลูกน้อยไม่ไอ หายใจ หรือสิ่งแปลกปลอมยังไม่หลุดออกมา ให้เปลี่ยนเป็นท่านอนหงาย ศีรษะต่ำกว่าลำตัว ใช้นิ้วชี้กลางและนิ้วกลางของข้างที่ถนัด กดที่กระดูกกลางอกระดับที่ต่ำลง 1 ซม. จากเส้นที่ลากระหว่างหัวนมทั้งสองข้างของลูกน้อย กดลึกประมาณ 1-2 ซม. ทำ 5 ครั้ง ห่างกันนาน 1 วินาที
    หากยังไม่หลุดให้กลับไปทำข้อ 1 และ 2 สลับกัน
  3. เพื่อตรวจเช็คดูว่าสิ่งแปลกปลอมออกมารึยัง ให้ใช้นิ้วชี้เพียงนิ้วเดียว กวาดไปตามกระพุ้งแก้ม แล้วเกี่ยวเอาสิ่งแปลกปลอมออกมา
    ห้าม! ไม่ให้ใช้ 2 นิ้ว เพราะนิ้วคุณแม่อาจจะยิ่งไปดันสิ่งแปลกปลอมให้กลับลงไปอีก
    ห้าม! ใช้วิธีนี้กับลูกน้อยที่มีสติ เพราะลูกอาจขัดขืน แล้วดิ้น ยิ่งทำให้สิ่งแปลกปลอมยิ่งลึกลงไปอีก
  4. หากไม่เห็นสิ่งแปลกปลอม จัดให้ลูกน้อยนอนหงาย ลำคอตรง ตรวจดูว่าลูกน้อยหายใจหรือไม่ หากพบว่าไม่หายใจ ให้ทำการเป่าปากและจมูก เพื่อช่วยหายใจ 2 ครั้ง เป่าให้แรงพอขนาดที่คุณแม่เห็นว่าทรวงอกขยาย คอยตรวจดูว่าลูกน้อยหายใจหรือยัง หากยัง…ให้ทำซ้ำวนไปที่ข้อ 1, 2 และ 4จนกว่ารถฉุกเฉินจะมา

ลูกน้อยอายุมากกว่า 1 ขวบที่ยังไม่หมดสติ :

ให้โทรเรียกรถฉุกเฉินทันที

วิธี Heimlich Maneuver : ยืนหรือคุกเข่าด้านหลังลูกน้อย ใช้แขนทั้งสองข้างโอบรอบเอว โดยมือข้างหนึ้งกำเป็นกำปั้น ด้านนิ้วโป้งวางอยู่ใต้กระดูกสิ้นปี่แต่เหนือสะดือเล็กน้อย วางมืออีกข้างทับบนกำปั้น ออกแรงกดมือทั้งสองเข้าไปที่ท้อง พยายามดันมือขึ้นไปด้านเพื่อดันให้สิ่งแปลกปลอมกระเด็นหลุดออกมา ทำซ้ำจนกว่าลูกน้อยจะไอหรือหายใจได้เอง

หากลูกหมดสติให้ทำดังนี้ค่ะ

  • ให้ลูกนอนหงายราบกับพื้น คุณแม่ยืนคร่อมหันหน้าไปทิศทางเดียวกับศีรษะ วางส้นมือทับซ้อนกันตำแหน่งต่ำกว่ากระดูกลิ้นปีแต่เหนือสะดือ ดันมือเข้าไปที่ท้องในทิศทางด้านศีรษะ ทำซ้ำ 6-10 ครั้ง
  • หากเด็กยังไม่หายใจ ให้ทำการช่วยหายใจด้วยการบีบจมูกแล้วเป่าลมเข้าปาก 2 ครั้ง ให้พอที่คุณแม่จะสังเกตเห็นทรวงอกลูกขยาย และทำซ้ำข้อ 2 จนกว่ารถฉุกเฉินจะมา

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ อาการสำลักอันตรายมากกว่าที่คุณแม่คิดใช่มั้ยล่ะคะ ยังค่ะยังไม่จบแค่นี้ เพราะการสำลักอาจนำไปสู่โรคปอดติดเชื้อได้ สำลักนมเข้าปอดเป็นอย่างไร? อาการปอดติดเชื้อเป็นอย่างไร? และที่สำคัญจะรับมือย่างไร? สามารถติดตามได้จากบทความนี้ค่ะ


ปอดลูกติดเชื้อ ชักเกร็ง เพราะสำลักนม นมเข้าปอดได้อย่างไร? และจะมีผลต่อพัฒนาการหรือไม่? เรื่องจริงจากคุณแม่ที่แชร์ประสบการณ์ค่ะ คลิกที่นี่

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP