มาเรียนรู้วิธีใช้ยาลดไข้กับเด็กให้ถูกต้องกันดีกว่า

เด็กๆ ของคุณอาจจะต้องเผชิญกับการเป็นไข้กันอยู่หลายครั้งทั้งมีอาการตัวร้อน ตัวแดง หน้าแดง ไอ เจ็บคอ ปวดตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร จับๆ ดูแล้วเนื้อตัวลูกก็ดูร้อนผิดปกติก่อนอื่นเลยจะเอาให้ชัวร์ก็ควรที่จะนำปรอทมาวัดไข้ให้ลูกก่อนและถ้าแน่ชัดแล้วว่าอุณหภูมิเข้าข่ายเป็นไข้แน่ๆ ก็ควรรีบพาลูกไปหาหมอและจัดการดูแลรักษากันต่อไป แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นที่อาจจะไม่สามารถพาลูกไปหาหมอได้ทันทีการมียาติดบ้านไว้ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่ดีที่จะช่วยรักษาลูกได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะรู้จักกับตัวยาที่เด็กๆ สามารถทานเพื่อลดไข้ได้อย่างไม่ส่งอันตรายรวมถึงเข้าใจพื้นฐานการใช้งานตัวยาแต่ละตัวให้ถูกต้องและไม่เป็นอันตรายกับลูกในภายหลังเอาไว้ด้วย

เข้าใจตัวยาและใช้ให้ถูกวิธี…ลูกน้อยก็ปลอดภัยหายห่วง

มักจะคุ้นหูกันว่าเป็นไข้ ปวดหัวก็จัดพารากันไปเลยจนโดยบางทีอาจจะยังไม่รู้กันว่าพาราที่พูดถึงอยู่ไม่ใช่ชื่อแบรนด์แต่เป็นชื่อของตัวยานั่นเอง ดังนั้นก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่จึงควรจะมารู้จักกันก่อนว่าตัวยาที่ช่วยในเรื่องของการลดไข้มีด้วยกัน 3 ตัว ซึ่งก็จะมีแต่ละแบรนด์เลือกใช้ผลิตแตกต่างกันไปโดยแต่ละแบรนด์นั้นก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนักแต่จุดที่ควรรู้เอาไว้ก็คือถ้าคุณจะเลือกใช้กับลูกแต่ละตัวยามีความแตกต่างและเหมาะสมกับลูกอย่างไรบ้างนั่นเอง

1.พาราเซตามอล

เปิดตัวด้วยชื่อตัวยาที่คุ้นเคยกันมากที่สุด โดยส่วนใหญ่แล้วขนาดของการทานตัวยานี้จะอยู่ที่ประมาณ 10-20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และหมั่นให้ลูกทานทุกๆ 4-6 ชั่วโมงจนกว่าอาการจะดีขึ้น และไม่ต้องกังวลว่าต้องทานก่อนหรือหลังอาหารเพราะตัวยานี้ไม่มีฤทธิ์กัดกระเพาะจึงสามารถทานได้ทันทีที่มีอาการไม่สบาย แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงอายุและน้ำหนักของลูกเอาไว้ด้วยเพราะการทานยาชนิดนี้มากเกินไปจะสามารถส่งผลเสียต่อตับได้ และไม่ควรทานยานี้ติดต่อกันเกิน 5 วัน และหากดูท่าแล้วอาการของลูกก็ไม่ดีขึ้นสิ่งที่ควรทำก็คือรีบพาเข้าไปพบหมอเพื่อตรวจอย่างละเอียดจะดีที่สุด

2.ไอบูโปรเฟน

ตัวยานี้จะใช้ได้กับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไป และใช้สำหรับกรณีที่มีไข้สูง โดยขนาดของการรับประทานก็คือ 5-19 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก 6 ชั่วโมงนั่นเอง สามารถทานเพื่อช่วยลดอาการมีไข้ได้หากทานตัวยาพาราฯ แล้วยังไม่ดีขึ้น แต่ควรทานเสริมในระหว่างมื้ออาหารของลูกในกรณีที่ลูกเพิ่งทานตัวยาพาราฯ ไปไม่ถึง 4 ชั่วโมง และขอย้ำว่าควรทานในช่วงระหว่างมื้ออาหารเท่านั้นเพราะตัวยานี้มีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหารและยังมีส่วนทำให้เลือดออกง่ายอีกด้วยจึงควรระวังเป็นพิเศษ

3.แอสไพริน

ตัวยานี้มีผลข้างเคียงทำให้เลือดออกง่ายเหมือนกับไอบูโปนเฟน และห้าม! ไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีที่กำลังเป็นโรคอีสุกอีใสหรือไข้หวัดใหญ่ทานเด็ดขาด เพราะมีส่วนที่ทำให้เกิดความผิดปกติในระบบประสาทส่วนกลางได้นั่นเอง อาการก็อย่างเช่น สมองบวม ไม่รู้สึกตัว ชัก เกิดความผิดปกติขึ้นที่ตับ เซลล์ตับอักเสบในชนิดเฉียบพลันและอาจจะทำให้ตับวายได้อีกด้วย ซึ่งความร้ายแรงที่พูดมาอาจจะมีผลร้ายแรงถึงชีวิตก็เป็นได้ ทางที่ดียาตัวนี้ควรได้รับคำปรึกษาและทำตามคำแนะนำการใช้อย่างเคร่งครัดจะดีที่สุด

เมื่อลูกเกิดป่วยไข้กะทันหันคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องมีสติในการดูแลรักษาลูกเป็นอย่างมากพยายามอ่านฉลากและศึกษาวิธีการใช้ยาและอุปกรณ์ต่างๆ ให้ดีก่อนเพราะร่างกายของเด็กๆ นั้นยังบอบบางเกินกว่าจะป้องกันตัวเองได้ และหากมีอาการอะไรที่เกินกว่าที่เคยรู้มาล่ะก็ควรรีบพาลูกไปหาหมอเพื่อรับการตรวจและรับคำปรึกษาในการดูแลมาจะเป็นการดีที่สุด อย่าลองรักษา ให้ยาลูกด้วยวิธีการที่คิดเองว่าน่าจะถูกเพราะนั่นอาจจะส่งผลเสียที่คุณไม่คาดคิดตามมาก็เป็นได้

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP