Heat Stroke หรือ โรคลมแดด ในเด็ก คืออะไร? ภัยร้ายที่พ่อแม่ควรรู้เท่าทัน

การดูแลสุขภาพเด็ก

คุณพ่อคุณแม่คิดเหมือนกันไหมคะว่าทุกวันนี้โลกเราร้อนขึ้น แดดก็แร๊ง แรง ส่วนหนึ่งนั่นเพราะโลกเราที่เจอกับภาวะเรือนกระจก เป็นเหตุทำให้โลกเรามีอุณหภูมิสูงขึ้นทุกปี จึงมีหลายคนที่ตกอยู่ในภาวะ “Heat Stroke หรือ โรคลมแดด” โรคนี้หากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้โดยเฉพาะลูกน้อย

Heat Stroke หรือโรคลมแดด คือ?

คือ ร่างกายอยู่ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิร้อนมาก ๆ ร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้อุณหภูมิลดลงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร่างกายจึงอยู่ในภาวะที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่า 40.5 องศาเซลเซียส ส่งผลต่อเสียต่อระบบประสาท หัวใจ และไต หากได้รับการปฐมพยาบาลหรือรักษาไม่ทัน อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคลมแดด คือภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียส เกิดจากการที่อยู่ในสถานที่ที่อุณหภูมิร้อนมาก ๆ และร่างกายไม่สามารถปรับตัวลดอุณหภูมิให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ส่งผลเสียต่อระบบประสาท หัวใจ และไต เป็นเหตุให้เสียชีวิตได้
ข้อมูลอ้างอิง โรงพยาบาลกรุงเทพ เชียงใหม่

สาเหตุของโรคลมแดด

เกิดจากการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนที่เกิดจากการใช้พลังงานได้ตามปกติ โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะสามารถรับมือและจัดการกับความร้อนที่เกิดกับร่างกายได้ดี แต่หากปัจจัยรอบตัวยังคงมีอุณหภูมิที่สูงเกินร่างกายจะรับไหว และไม่สามารถปรับสมดุลได้ทัน ก็จะเกิด “ภาวะลมแดด” ขึ้น

“โรคลมแดดสามารถเป็นได้ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา และหญิงตั้งครรภ์ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็มีโอกาสเสียชีวิตได้”

ข้อควรระวัง

หน้าร้อนคุณพ่อคุณแม่อาจมองว่าการพาลูกน้อยไปเล่นน้ำ หรือว่ายน้ำในสระ น่าจะเย็นสบาย แต่รู้หรือไม่ การเล่นน้ำในช่วงเวลาที่แดดแรง อาจเกิดตะคริวได้ อันตรายถึงชีวิต ทางที่ดี ควรเล่นแต่พอควรและคอยดูแลลูกอย่างใกล้ชิดนะคะ

การจัดกลุ่มโรคลมแดด

โรคลมแดดที่เกิดจากการออกกำลังกาย (Exertional Heat Stroke : HES)

พบมากในกลุ่มที่มีร่างกายแข็งแรงมาก่อน เช่น เด็กโต วัยรุ่น นักกีฬา และทหารเกณฑ์ เป็นต้น

โรคลมแดดทั่วไป(Non-Exernational Heat Stroke : NHES)

พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัวอย่างเบาหวาน ความดัน ผู้ที่ใช้สารเสพติด ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือในเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

อาการของโรคลมแดด

เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยอาการจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล อาการที่พบบ่อยมีดังนี้

  • อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิน 40 องศาเซลเซียส
  • ร่างกายไม่ขับเหงื่อออก แม้อุณหภูมิจะสูงขึ้น
  • เนื่องจากอุณหภูมิสูง ส่งผลให้ผิวหนังแดง แห้ง และร้อน แต่หากเป็นกรณีที่ผู้ป่วยออกกำลังกายมา ผิวหนังอาจมีความชื้นอยู่บ้าง
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ เป็นตะคริว
  • วิงเวียนศีรษะ ไม่สามารถทรงตัวได้ หน้ามืด เป็นลมหมดสติ
  • กระสับกระส่าย พูดไม่ชัด เพ้อ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจถี่และตื้น
  • ปวดศีรษะตุบๆ
  • ชัก
  • คลื่นไส้ อาเจียน

วิธีการช่วยเหลือจากโรคลมแดดเบื้องต้น

โรคลมแดดเป็นโรคที่เกิดอย่างเฉียบพลัน ดังนั้น ผู้ป่วยต้องได้รับการช่วยเหลือในทันที เพื่อป้องกันไม่ให้อวัยวะสำคัญต่างๆ อย่างสมองได้รับความกระทบกระเทือน ด้วยการที่ต้องทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงเป็นปกติโดยเร็ว วิธีการมีดังนี้

  • นำผู้ป่วยไว้ในร่มหรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ ถอดหรือคลายเสื้อผ้าที่คับแน่นออก
  • คุณหมอบางท่านใช้วิธี “การระเหย” คือ ใช้น้ำเย็นชโลมตามผิวหนังของผู้ป่วย และใช้พัดลมเป่าให้เกิดการระเหย
  • ใช้แพคน้ำแข็งประคบไปที่บริเวณรักแร้ ขาหนีบ คอและหลัง เพราะบริเวณดังกล่าวจะมีเส้นเลือดที่ใกล้กับชั้นผิวหนังอยู่เป็นจำนวนมาก
  • เฝ้าดูให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงเหลือประมาณ 38.3 – 38.8 องศาเซลเซียส ในขณะที่ยังคงทำการรักษาอยู่
  • หากผู้ป่วยรู้สึกตัว ให้ดื่มน้ำเย็นที่ “ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน
  • ระหว่างการรักษาเพื่อให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง ผู้ป่วยอาจมีอาการหนาวสั่น อาจส่งผลให้อุณหภูมิกลับเพิ่มขึ้น คุณหมออาจให้ยาช่วยคลายกล้ามเนื้อ เช่น เบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine)เพื่อบรรเทาอาการหนาวสั่น
  • คุณหมออาจให้น้ำเกลือหรือเกลือแร่ กับผู้ป่วยที่มีภาวะขาดน้ำ

การป้องกันภาวะโรคลมแดด

  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแดด
  • อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ ควรดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ แต่ไม่ควรดื่มน้ำที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน เพราะจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำได้
  • หากจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง ให้ใส่เสื้อผ้าที่สบายไม่รัดแน่น ระบายอากาศได้ดี สีอ่อน สวมหมวกปีกกว้าง และใช้ครีมกันแดดที่มี SPF15 ขึ้นไป
  • รับประทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็น เช่น สลัดและผลไม้
  • ใช้น้ำพรมเสื้อผ้าหรือผิวหนัง หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ วางไว้ที่คอเพื่อช่วยลดอุณหภูมิได้
  • ปลูกต้นไม้หรือวางอ่างน้ำไว้ในบริเวณที่พักอาศัยจะช่วยลดความร้อนได้
  • ควรปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น เพราะถือเป็นแหล่งกำเนิดความร้อนชนิดหนึ่ง
  • อย่าปล่อยให้เด็กหรือผู้สูงอายุอยู่ในรถที่จอดไว้ ถึงแม้จอดแค่ 10 นาที ความร้อนสามารถขึ้นมาได้ถึง 6 องศาเซลเซียส อันตรายถึงชีวิตได้
  • เฝ้าดูเด็ก และผู้ใหญ่กลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว เพราะจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ง่าย

ด้วยความที่ปัจจุบันนี้ประเทศไทยเราแทบจะแยกไม่ได้แล้วว่าช่วงไหนคือหน้าร้อน เพราะร้อนเกือบทั้งปี เพราะฉะนั้นเรื่องสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ เพื่อเป็นการป้องกันการเจ็บไข้ได้ป่วยของลูก ๆ เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า “โรคที่มากับหน้าร้อน 2563 โรคที่มักเป็นในเด็ก” ที่คุณพ่อคุณแม่พึงระวังมีอะไรบ้าง


ลูกปวดหัว ท้องเสีย มีไข้ สรุปแล้วลูกเป็นโรคอะไรกันแน่? อาการเหล่านี้มักเกิดได้กับเด็กโดยเฉพาะในหน้าร้อน หากเป็นหนักอาจเสียชีวิตได้ โรคหน้าร้อนในเด็ก 2563 มีอะไรบ้าง คลิกที่นี่

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP