ลูกอ้วนทำไงดี แบบไหนที่เข้าข่ายลูกเป็นโรคอ้วน

การดูแลสุขภาพเด็ก
JESSIE MUM

ลูกผอมไปมั้ย?” ประโยคคลาสสิกที่เชื่อว่าคุณแม่หลายท่านเคยเจอจริงอยู่เวลาเจอเด็กที่อ้วนจ้ำม่ำก็จะน่ารัก น่ากอด น่าเข้าไปหยิกแก้มเป็นธรรมดา แต่แท้จริงแล้ว คุณแม่รู้หรือไม่ว่านั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกน้อยอาจเป็น “โรคอ้วนในเด็ก” หรือหากยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซะตั้งแต่ตอนนี้ อาจเป็นจุดกำเนิดของโรคร้ายที่จะตามมาในอนาคตก็ได้นะคะ
วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับ “โรคอ้วนในเด็ก” กันค่ะ ไปดูกันซิว่าจะร้ายแรงแค่ไหน

แบบไหนที่เรียกว่าเข้าข่ายเป็นโรคอ้วนในเด็ก?

โรคอ้วนในเด็ก คือ เด็กที่มีน้ำหนักตัว และปริมาณไขมันมากกว่าปกติ เมื่อเทียบกับน้ำหนัก และความสูงในระดับมาตรฐานของช่วงอายุเดียวกันโดยดูได้จากหากเด็กมีน้ำหนักเกินกว่าร้อยละ 20 ถือว่าเป็นโรคอ้วนในเด็กค่ะ

การเป็นโรคอ้วน ไม่ได้หมายความแค่ว่า เป็นโรคอ้วนอย่างเดียวแล้วจบนะคะ แต่โรคอ้วนนั้นเปรียบเสมือนประตูบานใหญ่ที่คอยเปิดรับโรคอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย อาทิ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ความผิดปกติของกระดูกและข้อ โรคผิวหนัง โรคนอนกรนและอาจหยุดหายใจขณะหลับ ตับและถุงน้ำดีอักเสบเป็นต้น อย่าเพิ่งตกใจค่ะ นี่แค่บางส่วนนะคะ

น้ำหนักและส่วนสูงมาตรฐานของเด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี

น้ำหนักตัวตามเกณฑ์ของเด็ก

ปกติแล้วน้ำหนักของทารกจะอยู่ที่ 2.5 – 4.5 กิโลกรัม ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3 กิโลกรัมโดยประมาณ พอเริ่มโตขึ้นมาในช่วง 2 – 3 ปีแรก น้ำหนักของเด็กจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่ออายุเข้า 4 – 7 ปี น้ำหนักตัวจะเพิ่มช้าลงจนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น น้ำหนักของเด็กก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้ง

ส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก

ความสูงโดยทั่วไปของทารกแรกเกิดจะอยู่ที่ 50 เซนติเมตร โดยประมาณ

  • วัยแรกเกิด – 6 เดือน : เด็กชายควรสูงขึ้นอย่างน้อย 17 ซม. เด็กหญิงควรสูงขึ้นอย่างน้อย 16 ซม.
  • วัย 6 – 12 เดือน : ทั้งเด็กชายและเด็กหญิง ควรสูงขึ้นอย่างน้อย 8 ซม.
  • วัย 1 – 2 ปี : เด็กชายควรสูงขึ้นอย่างน้อย 10 ซม. เด็กหญิงควรสูงขึ้นอย่างน้อย 11 ซม.
  • วัย 2 – 5 ปี : ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงควรสูงขึ้น 6 – 8 ซม. โดยประมาณ
  • วัย 5 ปี ขึ้นไป – วัยรุ่น : ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงถ้าสูงน้อยกว่า 5 ซม.ต่อปี ถือว่าต่ำกว่าเกณฑ์ คุณพ่อคุณแม่ควรหาสาเหตุและแก้ไข
อายุ เพศชาย เพศหญิง
ปี เดือน น้ําหนัก (นน.) ส่วนสูง (ซม.) น้ําหนัก (นน.) ส่วนสูง (ชม.)
0 2.8-3.9 47.6-53.1 2.7-3.7 46.8-52.9
1 3.4-4.7 50.4-56.2 3.3-4.4 49.4-56.0
2 4.2-5.5 53.2-59.1 3.8-5.2 52.0-59.0
3 4.8-6.4 55.7-61.9 4.4-6.0 54.4-61.8
4 5.3-7.1 58.1-64.6 4.9-6.7 56.8-64.5
5 5.8-7.8 60.4-67.1 5.3-7.3 58.9-66.9
6 6.3-8.4 62.4-69.2 5.8-7.9 60.9-69.1
7 6.8-9.0 64.2-71.3 6.2-8.5 62.6-71.1
8 7.2-9.5 65.9-73.2 6.6-9.0 64.2-72.8
9 7.6-9.9 67.4-75.0 6.9-9.3 65.5-74.5
10 7.9-10.3 68.9-76.7 7.2-9.8 66.7-76.1
11 8.1-10.6 70.2-78.2 7.5-10.2 67.7-77.6
1 8.3-11.0 71.5-79.7 7.7-10.5 68.8-78.9
2 10.5-14.4 82.5-91.5 9.7-13.7 80.8-89.9
3 12.1-17.2 89.4-100.8 11.5-16.5 88.1-99.2
4 13.6-19.9 95.5-108.2 13.0-19.2 95.0-106.9
5 15.0-22.6 102.0-115.1 14.4-21.7 101.1-113.9

ข้อมูลอ้างอิง : th.theasianparent.com

ข้อเสียของการเป็นโรคอ้วน

ความอ้วนในเด็กหากปล่อยไว้นานจนอายุเกิน 6-7 ปี อาจเป็นอะไรทีแก้ยากเรามาไล่เรียงกันทีละข้อดีกว่าค่ะว่ามีอะไรบ้าง

  1. เคลื่อนไหวตัวลำบาก ขาดความคล่องตัว หากเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มจะทำให้เจ็บมากกว่าเพื่อน
  2. กระดูกและข้อต่อเสื่อมาไวก่อนเวลาอันควร
  3. เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานเพราะเมื่อร่างกายไม่ตอบสนองกับอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่งผลให้เด็กมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและเป็นเบาหวานในที่สุด นอกจากนี้อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่ตา ไต ระบบประสาท และหัวใจ
  4. ไขมันในเลือดจะสูง เหตุเพราะการทานของมัน ของทอด เช่น มันฝรั่งทอด ไก่ทอด และหมูสามชั้น เป็นต้น
  5. อาจมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ส่งผลให้เป็นความดันโลหิตสูงได้
  6. เป็นโรคนอนกรน เด็กที่อ้วนบางรายอาจมีภาวะอุดกั้น เนื่องจากกล้ามเนื้อทางเดินหายใจหย่อน ทำให้หายใจไม่สะดวก ออกซิเจนในเลือดน้อยลงขณะหลับ ในรายที่รุนแรงอาจมีภาวะหัวใจโตร่วมด้วย
  7. มีไขมันสะสมในตับ เสี่ยงเป็นโรคตับ
  8. ส่งผลต่อจิตใจ โดยเฉพาะการเข้าสังคม ถูกเพื่อนล้อ จิตใจหดหู่ ไม่อยากไปโรงเรียน

สาเหตุโรคอ้วนในเด็ก

พันธุกรรม

หากคุณพ่อคุณแม่มีน้ำหนักตัวมาก ลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 80 แต่ถ้าคุณพ่อหรือคุณแม่ (คนใดคนนึง) อ้วน โอกาสที่ลูกจะอ้วนก็จะลดลงเหลือร้อยละ 40 แต่ถ้าผอมทั้งคุณพ่อคุณแม่ ลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ร้อยละ 14

ครอบครัว

ครอบครัวมีพฤติกรรมการทานอาหารเช่นไร เด็กก็จะได้รับพฤติกรรมการทานอาหารเช่นนั้นมา เพราะนอกจากที่คุณพ่อคุณแม่จะทานในแบบฉบับของตัวเองแล้ว ก็ยังจัดหาให้ลูกทานแบบเดียวกันไปด้วย หากคุณพ่อคุณแม่อ้วน ส่วนใหญ่ลูกก็จะอ้วนไปด้วย

พฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่เหมาะสม

การทานขนมจุบจิบ การทานอาหารในปริมาณมาก และบ่อย แถมยังเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง อาทิ ไก่ชุบแป้งทอด ไอศกรีม น้ำอัดลม ขนมหวาน ลูกอมหรือแม้แต่ผลไม้ที่มีแป้ง และน้ำตาลสูง เป็นต้น

การออกกำลังกาย

เป็นเพราะเด็กใช้พลังงานน้อยลง โดยเฉพาะในวันหยุดหรือช่วงเย็นที่กลับจากโรงเรียน พบว่าส่วนใหญ่หลังทานอาหารเสร็จ เด็กๆ ก็มักจะใช้เวลาอยู่กับหน้าจอ (ทีวี, มือถือ หรือแทบเล็ต) มากเกินความจำเป็น คือ อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงต่อวัน จึงทำให้ไม่เหลือเวลาที่จะออกกำลังกายหรือไม่มีเวลาที่จะได้ใช้พลังงานเลย

สิ่งแวดล้อม

ปัจจัยที่ทำให้มีผลต่อน้ำหนักตัว อาทิ น้ำหนักเด็กทารกแรกคลอดที่มากอยู่แล้ว หรือแม้แต่อายุที่เริ่มให้อาหารผสม เป็นต้น

การป้องกันโรคอ้วนในเด็ก

  1. ควบคุมอาหาร โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป ไม่ให้กินขนมมากเกินควร
  2. เพิ่มการออกกำลังกาย พาเด็กๆ ออกไปเดินหรือวิ่งเล่น ช่วยงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ หรือทำกิจกรรมรอบบ้าน อาทิ ช่วยกันลงดิน ปลูกต้นไม้ก็ได้ค่ะ
  3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
    • ทานให้เป็นเวลา ในปริมาณที่พอเหมาะ
    • ควบคุมปัจจัยที่เอื้อต่อการทานอาหาร เช่น ทานข้าวไป ดูทีวีไป ไม่ซื้อขนมเก็บไว้ในบ้านมากๆ การปล่อยให้เด็กทาข้าวคนเดียว โดยที่ไม่ควบคุมเวลา เป็นต้น
    • การให้รางวัลหรือหารชมเชยตามสมควร เมื่อลูกสามารถควบคุมพฤติกรรมการทานอาหารหรือขนมได้

จะเห็นได้ว่าโรคอ้วนในเด็กอันตรายกว่าที่คิดนะคะ เพราะส่งผลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของเด็กเลยทีเดียว เป็นจุดกำเนิดหลายโรค เมื่อทราบอย่างนี้แล้วอย่าปล่อยให้ลูกเป็นเด็กแก้มยุ้ยแบบมีโรคนะคะ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซะตั้งแต่วันนี้ดีกว่า เป็นกำลังใจนะคะ

หากครอบครัวไหนกำลังเผชิญปัญหาลูกอ้วน ลูกน้ำหนักเกินอยู่แล้วอยากให้ลูกลดน้ำหนัก สามารถติดตามอ่านเพิ่มได้จากบทความนี้ค่ะ


ลูกน้ำหนักเกินทำไงดี? แวะทางนี้เลยค่ะ ถ้าอยากลดน้ำหนักให้ทำตามสิ่งนี้ ถ้าทำได้รับรองน้ำหนักลงชัวร์ คลิกที่นี่ค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP