อาการเด็กแพ้ยา จะสังเกต และดูแลอย่างไร

เลี้ยงลูก
JESSIE MUM

อาการเด็กแพ้ยา เป็นอย่างไร จริง ๆ แล้วคุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจจะมองข้ามไปเลย เพราะคิดว่าไม่มีโอกาสที่ลูกจะแพ้ยาได้แน่นอน ซึ่งในการเลี้ยงเด็กจำเป็นมาก ๆ ที่จะต้องคอยสังเกต และเอาใจใส่ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร นม วิตามินเสริมต่าง ๆ อุปกรณ์ เครื่องใช้ เสื้อผ้า รวมไปถึงยาแก้อาการต่าง ๆ สำหรับเด็ก ซึ่งในเด็กบางคนก็รับประทานได้ปกติ แต่สำหรับบางคนกลับมีอาการแพ้

ปัจจัยที่ทำให้เด็กมีโอกาสแพ้ยาได้

ซื้อยาทานเอง ไม่ปรึกษาแพทย์

ซื้อยาให้เด็กรับประทานเอง โดยไม่ได้เข้ารับการปรึกษาแพทย์ ซึ่งสำหรับเด็กเล็กแล้วเพื่อเป็นการป้องกันอาการเด็กแพ้ยา จำเป็นจะต้องเข้าพบแพทย์ทุกครั้งเมื่อเด็กมีอาการเจ็บป่วย หรือไม่สบาย

ให้เด็กทานยาเกินขนาด

อาจจะเพราะด้วยคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง ยังมีความรู้ไม่เพียงพอ หรือมีความเข้าใจผิดว่าหากเด็กได้รับยามากขึ้นจะทำให้มีอาการดีขึ้นได้ในระยะเวลาไม่นาน

ขาดความรู้ ความเข้าใจ

คุณพ่อคุณแม่ยังขาดความรู้ หรือขาดการเอาใจใส่ ทำให้ไม่สามารถแยกหรือจำแนกอาการเด็กแพ้ยาได้ และปล่อยไว้เป็นเวลานานจนลูกมีอาการหนัก ซึ่งหากไปพบแพทย์ช้าเกินไปก็อาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้

เกิดจากพันธุกรรม

อาการเด็กแพ้ยายังพบว่า เกิดจากพันธุกรรมได้หากพบว่าคุณพ่อคุณแม่มีประวัติเคยแพ้ยาชนิดใดชนิดหนึ่ง ลูกก็อาจจะแพ้ยาชนิดนั้นเหมือนพ่อและแม่ได้ โดยจะแสดงอาการที่อาจจะเหมือนหรือแตกต่างกัน

อาการเด็กแพ้ยาเบื้องต้น ที่ควรต้องรู้

ความรุนแรงของอาการเด็กแพ้ยาจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของยาและภูมิต้านทานของเด็กแต่ละคน ซึ่งยาชนิดเดียวกันอาจจะทำให้เด็กมีอาการแพ้มากหรือน้อยต่างกันไป โดยแพทย์จะแบ่งระดับความรุนแรงของอาการแพ้ยาของเด็กออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

อาการเด็กแพ้ยา – ระดับเริ่มต้น

โดยจะแสดงออกทางผิวหนังที่อาจจะทำให้คุณแม่เข้าใจว่าอาจจะเป็นเพียงลมพิษ ผื่นคันธรรมดา ซึ่งลักษณะผื่นแพ้ยาจะเป็นผื่นแดงนูนขึ้นมา มีตุ่มใสและมีอาการคัน หน้าบวม ตาบวม ริมฝีปากบวม มีไข้ร่วมด้วย

อาการเด็กแพ้ยา – ระดับปานกลาง

จะมีอาการอ่อนเพลียแต่หลับได้ไม่นาน จะมีอาการหายใจติดขัด หอบหืด เหมือนเหนื่อย มีอกบุ๋มซึ่งเป็นอาการระบบทางเดินหายใจ ในระยะนี้แพทย์จะต้องให้ดูอาการอย่างใกล้ชิด

อาการเด็กแพ้ยา – ระดับรุนแรง

ลักษณะผื่นแพ้ยาจะเริ่มพุพอง แดงไหม้เหมือนถูกไฟลวกและเริ่มเปื่อย นอกจากนี้ยังมีอาการท้องเสีย มีอาเจียนและมีไข้ร่วมด้วย ในบางรายจะมีตาอักเสบ ปากเปื่อย ซึ่งอาจจะหยุดหายใจได้

แพ้หลังใช้ยาไปแล้วหลายวัน

ยังมีอาการเด็กแพ้ยาที่ยังพบไม่บ่อยนักอยู่อีก ซึ่งพบได้หลังจากมีการใช้ยาไปแล้วหลายวัน หรือเกือบหลายสัปดาห์ ซึ่งก็มีอาการรุนแรงด้วยอาการมีไข้ ปวดข้อ และมีอาการผื่นแพ้ผิวหนังอย่างรุนแรงจนผิวหนังลอก

วิธีแก้อาการแพ้ยาเบื้องต้น

ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่เห็นว่าลูกเริ่มมีผื่นแดงตามร่างกาย ในขณะที่มีการป้อนยาบางชนิดเข้าไป ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเป็นอาการเด็กแพ้ยา ในกรณีที่อาการยังไม่รุนแรงให้ทำการแก้ไขเบื้องต้นได้ดังนี้

ให้งดป้อนยาทันที

และให้เก็บยาชนิดนั้นไว้ก่อน หากมีผื่นขึ้นและผี่นมีการเปลี่ยนแปลงให้ถ่ายรูปไว้ทุกครั้ง จากนั้นจะต้องพาเด็กไปพบแพทย์ และให้นำยานั้นไปด้วย เพื่อจะได้ให้แพทย์วินิจฉัย หายาทดแทนและลงประวัติแพ้ยาประเภทนั้น

ให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ

เพื่อให้ช่วยขับยานั้นทางปัสสาวะได้อย่างรวดเร็ว เป็นการช่วยลดอาการรุนแรงจากอาการเด็กแพ้ยาได้ และก็ควรจะต้องพาเด็ก และนำยาที่เด็กรับประทานไปพบแพทย์ และตรวจอย่างละเอียด เพื่อป้องกันและสามารถจะเลี่ยงการใช้ยาได้

ยาที่มักพบบ่อยจากอาการเด็กแพ้ยา

  1. แพ้ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ
  2. แพ้ยากันชัก
  3. แพ้ยาแอสไพริน
  4. ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (เอ็นเสด- NSAIDs)
  5. แพ้ยาชา
  6. แพ้ยาเคมีบำบัด
การป้องกันอาการเด็กแพ้ยา

เมื่อลูกมีประวัติการแพ้ยา สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องระวังทุกครั้งเมื่อลูกมีอาการป่วย ไม่ว่าจะไปโรงพยาบาลหรือปรึกษาเภสัชกร สิ่งที่จะต้องทำทุกครั้งก็คือ

  1. คุณแม่จะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งว่าลูกมีประวัติแพ้ยาอะไรและมีอาการอย่างไร
  2. และควรจะสอบถามแพทย์ว่ามียาที่คล้ายกันที่ควรจะต้องหลีกเลี่ยงอีกหรือไม่
  3. ควรจะมีข้อมูลของยาทางเลือก ที่ลูกสามารถจะใช้แทนยาที่แพ้ได้
  4. คุณแม่จะต้องพกบัตรแพ้ยาของลูกติดตัวตลอดเวลาและทุกครั้งที่ไปพบแพทย์

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเล็ก จำเป็นอย่างมากที่จะต้องเอาใจใส่ทั้งในเรื่องของอาหาร การเสริมวิตามิน หรือแร่ธาตุต่าง ๆ ตามช่วงอายุซึ่งสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูก รวมไปถึงเมื่อลูกมีอาการป่วยการดูแลเรื่องการให้ยาจะต้องมีความระมัดระวัง และสิ่งสำคัญจะต้องสังเกตอาการป่วยและลักษณะของอาการเด็กแพ้ยาได้ เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพ้ยาอย่างรุนแรงจนเป็นสาเหตุทำให้เด็กเสียชีวิตได้

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP