ลูกถ่ายเหลว มีมูกปน อันตรายไหม?

เลี้ยงลูก
JESSIE MUM

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่มีหลายสิ่งอย่างต้องเรียนรู้อีกเยอะค่ะ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะทำความเข้าใจ ซึ่งที่สำคัญคือ ทารกยังไม่สามารถสื่อสารเป็นคำพูดให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจได้ ทำได้อย่างเดียวคือ การร้องไห้ อย่างเรื่องการขับถ่ายของทารกก็เป็นอีกเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจ บางคนอาจเจอว่าลูกน้อยถ่ายเหลว และมีมูก จึงไม่มั่นใจว่าแบบนี้คือ ปกติ หรือมีอะไรที่ต้องกังวลไหม? วันนี้เรามีข้อมูลมาแนะนำค่ะ

การขับถ่ายโดยทั่วไปของทารก

โดยทั่วไปแล้วทารกที่อยู่ในช่วงวัย 0-6 เดือน จะยังไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้เลย การถ่ายอุจจาระจึงเป็นไปอย่างอัตโนมัติ โดยเฉพาะในเดือนแรก ทารกจะขับถ่ายบ่อยมาก โดยแบ่งเป็น

ปัสสาวะ

10 ครั้ง ต่อ วัน โดยประมาณ

อุจจาระ

8-10 ครั้ง ต่อ วัน โดยประมาณ

แม่โน้ต

จำนวนครั้งที่แจ้งไว้ข้างต้น จะเป็นทารกที่ดื่มนมแม่เป็นหลักนะคะ ซึ่งบางคนอาจจะน้อยหรือมากกว่านี้ก็บวกลบประมาณ 1-2 ครั้ง ค่ะ

มูกในอุจจาระ คืออะไร?

มูกในอุจจาระ คือ สารคัดหลั่งชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายวุ้น ผลิตโดยเซลล์เมือกที่มีอยู่ในระบบทางเดินอาหาร เมือกนี้ทำหน้าที่หล่อลื่นภายในลำไส้ และยังเป็นตัวคั่นกลางระหว่างแบคทีเรียและเซลล์ที่เยื่อบุลำไส้อีกด้วยค่ะ

สาเหตุที่ลูกถ่ายเหลวมีมูก

การที่ลูกน้อยถ่ายเหลวมีมูกปนออกมานั้น สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

หลั่งปกติ

เมือกบางส่วนถูกลำไส้ขับออกมา เพื่อช่วยในการขับถ่ายให้คล่องมากขึ้น

ติดเชื้อ

ระบบย่อยอาหารของลูกน้อยอาจเกิดการติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรีย จึงส่งผลให้มีเมือกติดออกมาด้วย หรือทารกบางรายอาจมีอาการไข้ร่วมด้วย หากเป็นเช่นนี้ แสดงว่าทารกท้องเสียค่ะ

แพ้อาหารในน้ำนมแม่

เรื่องอาหารการกินของคุณแม่นั้น เป็นอะไรที่สำคัญ และต้องใส่ใจเป็นอย่างมากค่ะ ตั้งแต่ระยะของการตั้งครรภ์ ไปจนถึงระยะหลังคลอด และระยะให้นม เพราะคุณแม่ทานอะไรเข้าไป ลูกน้อยก็จะได้รับสารอาหารนั้น ๆ ไปด้วย ผ่านทางน้ำนม ซึ่งอาจมีอาหารบางอย่างที่ลูกน้อยแพ้ แม้ว่าอาหารนั้นจะมีประโยชน์ดีก็ตาม

ภาวะลำไส้กลืนกัน

เกิดจากความผิดปกติของลำไส้ส่วนหนึ่งเกิดการเลื่อน ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณนั้น ๆ ผิดปกติไป เลือดไปเลี้ยงไม่พอ จึงเกิดการอักเสบนั่นเอง

โรคปอดเรื้อรังที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Cystic fibrosis)

ส่งผลให้เกิดการสร้างเสมหะข้นเหนียวในปอด พบเมือกในตับอ่อน รวมไปถึงอวัยวะอื่น ๆ ด้วย

วิธีดูแลเมื่อทารกถ่ายเหลว ท้องเสีย

เมื่อลูกถ่ายเหลว ท้องเสีย มีไข้ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยเบื้องต้นได้ ดังนี้

ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส

สารละลายน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส แนะนำว่าขอให้เป็นสูตรขององค์การอนามัยโลกหรือองค์การเภสัชกรรม นำไปละลายน้ำ และให้ลูกจิบทีละน้อยแต่บ่อยสักหน่อย พยายามให้ได้ในปริมาณเท่าที่ถ่ายอุจจาระออกมา เพื่อป้องการภาวะขาดน้ำและขาดเกลือแร่ในร่างกาย

แม่โน้ต

ลูกน้อยที่จิบน้ำเกลือแร่นี้ เป็นปกติค่ะที่เขาจะไม่ชอบก็จะจิบเพียงครั้งละเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเด็กจะไม่คุ้น แต่คุณแม่ต้องคอยเตือนและให้ลูกน้อยจิบบ่อย ๆ เพราะไม่อย่างนั้นจะเสี่ยงมากที่ลูกจะเกิดภาวะขาดน้ำค่ะ

ลูกอายุต่ำกว่า 2 ปี

แนะนำให้ดื่มครั้งละ ¼ – ½ แก้ว อาจใช้ช้อนป้อนครั้งละ 1 ช้อนชา ทุก ๆ 2 นาที ไม่ควรให้ลูกดูดเองจากขวด เนื่องจากหากเป็นกรณีที่เด็กกำลังหิวน้ำ อาจทำให้ลูกกินเร็วกเกินไป ร่างกายดูดซึมไม่ทัน อาจทำให้ถ่ายมากกว่าเดิมและอาเจียนได้

ลูกอายุมากกว่า 2 ปี

แนะนำให้ดื่มครั้งละ ½ – 1 แก้ว ให้ลูกจิบทีละน้อย ๆ แต่บ่อย ถ้าลูกอายุมากกว่า 2 ปี แล้ว สามารถให้ลูกดูดจากขวดได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของคุณแม่ขณะดื่มนะคะ เพื่อป้องกันลูกดูดเยอะเกินไป

ให้ลูกดื่มนมแม่ต่อไป

ไม่จำเป็นจะต้องให้ลูกหยุดกินนมแม่ค่ะ สำหรับเด็กที่กินนมผสม หลังจากที่ลูกดื่มเกลือแร่ไปแล้ว 4-6 ชั่วโมง ก็ให้ลูกกินนมได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องชงให้จาง เพียงแต่เน้นให้กินครั้งน้อยกว่าปกติ แต่บ่อยมากขึ้นแทน

ควรให้อาหารอ่อน

สำหรับเด็กที่อายุมากกว่า 6 เดือน ลูกสามารถทานอาหารเสริมได้ แต่เน้นอาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม หรือโจ๊ก ให้ทานน้อยในแต่ะมื้อ แต่บ่อย โดยเพิ่มจากเดิม 1-2 มื้อ งดอาหารมัน อาหารย่อยยาก งดน้ำผลไม้ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง

ลูกถ่ายเหลวมีมูก อันตรายไหม?

การที่ทารกถ่ายเหลวมีมูกบ้างเป็นเรื่องปกติค่ะ เนื่องจากทารกยังอยู่ในช่วงที่ร่างกายยังปรับตัวเพราะอาหารที่เขาได้รับนั้นเปลี่ยนไปจากขณะที่อยู่ในครรภ์คุณแม่ ยกเว้นว่าถ้าทารกถ่ายเหลว มีมูกเลือดปนออกมา พร้อมกับมีไข้ร่วมด้วย แบบนี้ควรพบแพทย์ค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ พอจะเห็นภาพกันมากขึ้นไหมคะ เมื่อคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ได้รู้อย่างนี้แล้วการที่ทารกถ่ายมีมูกก็ไม่ต้องกังวลไปแล้วนะคะ ยกเว้นว่าถ้าพบว่ามีมูกเลือด และมีไข้ร่วมด้วย แบบนี้ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP