ดูแลทารกแรกเกิด เมื่อกลับบ้าน

การเลี้ยงลูกวัยแรกเกิด-1 ขวบ
JESSIE MUM

คุณแม่มือใหม่เมื่อคลอดลูกแล้วและถึงเวลาที่ต้องพาลูกน้อยกลับบ้าน มักจะกังวลในหลายๆ เรื่อง อาทิ เราจะดูแลลูกน้อยได้ดีหรือเปล่า น้ำนมจะเพียงพอมั้ย ข้าวของเครื่องใช้จะสะอาดพอหรือเปล่า และอีกมากมายที่คุณแม่จะคิดได้
ผู้เขียนอยากบอกว่าคุณแม่ไม่ต้องกังวลอะไรไปมากมายเลยค่ะ เพราะไม่ใช่แค่คุณแม่ที่ต้องปรับตัว แต่ลูกน้อยเองก็ต้องปรับตัวเช่นกัน ทีนี้เพื่อไม่ให้ความคิดเตลิดไปไกล วันนี้ผู้เขียนมีเรื่องราวที่จะมาแบ่งปันคุณแม่มือใหม่ เพื่อคุณแม่จะได้ทราบข้อมูลเบื้องต้น เผื่อการเตรียมตัวรับมือกับการดูแลลูกน้อยค่ะ

มีอะไรบ้างที่ต้องเตรียมรับมือในสัปดาห์แรก

กิจวัตรประจำวันเจ้าตัวน้อย

ทารกแรกเกิดจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนหลับเยอะมาก ประมาณ 16-20 ชั่วโมงต่อวันเลยทีเดียว (แต่ก็จะมีเด็กบางส่วนเหมือนกันที่นอนน้อยกว่านี้ คุณแม่ไม่ต้องงตกใจหรือกังวลใจไปนะคะ เพราะเด็กแต่ละคนก็ต้องการการพักผ่อนที่ไม่เหมือนกัน)

กิจกรรมนอกจากนี้ของทารกก็จะมีแค่ ตื่นนอน กินนม ถ่าย และหลับ เนื่องด้วยทารกมีกระเพาะ มีกระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ที่เล็ก ดังนั้นเค้าจะร้องทานบ่อยๆ ทุก 2-3 ชั่วโมง ดังนั้น กิจวัตรประจำวันที่คุณแม่มือใหม่ต้องทำให้เค้าคือ การให้นม การอาบน้ำทำความสะอาด และดูแลเรื่องการขับถ่ายของลูก การทำความสะอาดรอบสะดือ ความสะอาดของเสื้อผ้า เครื่องนอนต่างๆ

คุณแม่ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมลูก แล้วค่อยเรียนรู้นะคะ ว่าลูกต้องการอะไร เพื่อที่คุณแม่จะได้ตอบสนองเค้าได้อย่างถูกต้องค่ะ

พาลูกไปพบคุณหมอ

เป็นธรรมดาสำหรับทารกแรกคลอดที่คุณหมอต้องมีนัดตรวจร่างกาย ตรวจพัฒนาการของเด็ก ซึ่งอาจต้องไปพบบ่อยหน่อย ซึ่งเริ่มจาก 3-5 วัน หลังคลอด แล้วค่อยขยับมาเป็น 2 สัปดาห์, 1 เดือน, 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 9 เดือน และ 12 เดือน กรณีนี้เฉพาะทารกที่มีร่างกายแข็งแรงดีเท่านั้นนะคะ

ทั้งนี้ หากลูกน้อยไม่สบายหรือมีอาการผิดปกติอย่างไร คุณหมอก็จะนัดติดตามอาการเป็นระยะ ซึ่งคุณแม่ก็ต้องคอยเตรียมตัวไปพบคุณหมอตามนัดนะคะ

เตรียมรับแขกที่มาเยี่ยมเยียน

เรื่องนี้ก็ต้องมีอย่างแน่นอนค่ะคุณแม่ ซึ่งคุณแม่ต้องเตรียมตัวต้อนรับแขกผู้มาเยี่ยมเยียนที่บ้านไว้เลย ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนบ้าน เพื่อนในที่ทำงาน เพื่อนของสามี ญาติคุณแม่เอง หรือแม้แต่ญาติฝ่ายสามี

แต่หากคุณแม่ยังไม่พร้อมที่จะรับแขกในสัปดาห์เพราะยังสาละวนอยู่กับการดูแลลูก สามารถบอกกับพวกเค้าไปอย่างสุภาพได้ค่ะว่าสัปดาห์นี้คุณแม่ขอเวลาปรับตัวอีกนิด และกำหนดวันที่คุณแม่พร้อมให้พวกเขาทราบได้ ส่วนใหญ่เค้าก็จะเข้าใจค่ะ
อีกเรื่องหนึ่งทีเป็นเรื่องสำคัญเลยคือ ทารกยังมีภูมิคุ้มกันต่ำ ดังนั้น หากใครจะขออุ้ม ควรแนะนำให้เค้าล้างมือให้สะอาดก่อนอุ้มทุกครั้งนะคะ หรือวางน้ำยาฆ่าเชื้อโรคไว้ใกล้ๆ ก็ได้ค่ะ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

พักฟื้นร่างกายของคุณแม่

เป็นเรื่องปกติอีกเช่นกันค่ะ ที่คุณแม่อาจรู้สึกไม่ค่อยสบายตัว เจ็บหน้าอกเพราะนมคัด หรือเจ็บแผลที่เพิ่งคลอด แต่ก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะเมื่อเวลาผ่านไปทุกอย่างก็จะดีขึ้นเอง (เชื่อเลยว่าคุณแม่มัวแต่ดูแลลูกจนลืมเรื่องร่างกายของตัวเองไปเลย)
ที่สำคัญ หากคุณแม่เริ่มเหนื่อยเกินไปกับการเลี้ยงลูก ต้องกล้าขอความช่วยเหลือเพื่อช่วยเลี้ยงลูกนะคะ เพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าที่อาจเกิดขึ้นได้ และคุณแม่ควรตั้งสติ และคิดในแง่บวกเข้าไว้ ทำอารมณ์ให้แจ่มใสอยู่เสมอ เหล่านี้ก็จะช่วยได้ค่ะ

เติมเต็มความสุขไปกับลูก

การเลี้ยงลูกในวัยแรกเกิดนั้นเป็นอะไรที่เหนื่อยมากเพราะเค้าจะตื่นทุก 2-3 ชั่วโมง แต่…เวลาก็ผ่านไปไวเช่นกัน คุณแม่ควรให้ความรัก หอมเค้า หรือกอดเค้าบ่อยๆ มีความสุขไปกับลูก แสดงให้เค้ารู้ว่าเรารักเค้ามากแค่ไหน ทำให้ทุกเวลาที่เราได้อยู่กับเป็นช่วงเวลาอันล้ำค่ามากที่สุดนะคะ

ดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐาน

ช่วงเวลาในการให้นมลูก

ที่เหมาะสมคือ 06 -09 -15 -18 -21 -24 -03 น. เพราะทารกจะกินนมทุก ๆ 3 ชั่วโมง ถ้าทารกยังกินนมแม่อยู่ในทารกกินนมแม่ก่อน แล้วค่อยตามด้วยนมผสม

การเก็บรักษานม

ถ้าเป็นอุณหภูมิห้องสามารถอยู่ได้ 1 – 2 ชั่วโมง แต่ถ้าลูกกินไม่หมดให้ทิ้งนมที่เหลือไป ห้ามนำมาป้อนในมื้อถัดไปเด็ดขาด หลังให้นมแล้วควรอุ้มเพื่อให้เรอทุกครั้ง

การให้น้ำทารกแรกเกิด

ทารกที่กินนมหรือนมผสมที่ชงถูกต้องตามสัดส่วน ไม่ต้องให้น้ำเพิ่ม แต่ถ้าเป็นกรณีที่ให้นมแม่ร่วมกับนมผสม ให้ลูกดูดน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วในปริมาณเล็กน้อย เพื่อเป็นการล้างปากหลังกินนมได้

เด็กที่ทานนมแม่หรือนมผสมที่ชงถูกต้องตามอัตราส่วนที่ถูกต้องไม่จำเป็นต้องให้น้ำเสริม แต่ในกรณีที่เด็กทานนมแม่ร่วมกับนมผสม ใช้น้ำต้มสุกให้เด็กดูดเพียงเล็กน้อยเป็นการล้างปากหลังทานนมได้
ข้อมูลอ้างอิง Phyathai.com

การทำความสะอาดขวดนม

ล้างขวดนมให้สะอาดด้วยน้ำยาล้างขวดนมสำหรับเด็ก จากนั้นนำไปนึ่งหรือต้มในน้ำเดือดนานประมาณ 20 นาที

การอาบน้ำทารกแรกเกิด

ควรอาบน้ำให้ทารกทุกวันด้วยน้ำอุ่น วันละ 1 – 2 ครั้ง ช่วงระหว่างมื้อนม หรือหลังกินนมไปแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันเด็กอาเจียน หรือก่อนจะให้กินนมมื้อถัดไป ช่วงเวลาควรเป็น 09:00 – 10:00 น. หรือ 14:00 – 15:00 น.

การดูแลสะดือทารก

สะดือสามารถเปียกน้ำได้ไม่ว่าสายสะดือจะหลุดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งหลังอาบน้ำทุกครั้งให้เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70% ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ ห้าม! โรยแป้งที่สะดือค่ะ เพราะจะทำให้อับชื้น และติดเชื้อได้

การดูแลแผลขลิบปลายอวัยวะเพศ

ทารกสามารถอาบน้ำได้ตามปกติ ถ้าบริเวณแผลมีคราบเหลืองให้ใช้สำลีชุบน้ำอุ่นชุ่ม ๆ หุ้มที่ปลายอวัยวะเพศนานประมาณ 2 – 3 นาที แล้วลูบขึ้นเบา ๆ คราบเหลือง ๆ ที่เกาะอยู่ก็จะค่อย ๆ หลุดออก ให้ทำซ้ำทุกวัน วันละ 3 – 4 ครั้ง เพื่อป้องกันแผลกลับมาติดแน่น ห้ามโรยแป้งจนกว่าแผลจะแห้งสนิท

การดูแลทารกแรกเกิดไม่ใช่เรื่องยากค่ะ เพียงแค่มีรายละเอียดเยอะนิดหนึ่ง และคุณแม่ยังไม่คุ้นชินเท่านั้นเอง แต่ถ้าได้ทำทุก ๆ วันก็จะชำนาญไปเองค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP