ทำไมเด็กจึงไม่ทานอาหาร? จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกชอบกินอะไร? วิธีการทำจะยุ่งยากมั้ย?

การเลี้ยงลูกวัยแรกเกิด-1 ขวบ
JESSIE MUM

การเลี้ยงลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องคอยรับมือกับลูกน้อยในทุกขวบวัยที่เขาเจริญเติบโต ตั้งแต่แรกเกิด – 6 เดือน คุณแม่จะคอยดูแลและป้อนนมอย่างเดียว แต่พอเริ่มเข้าเดือนที่ 6 คุณแม่ต้องเตรียมอาหารเสริมให้กับลูกน้อย เพื่อช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่างๆ ของร่างกาย นมอย่างเดียวอาจทำให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ส่งผลต่อพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจได้ค่ะ คุณแม่บางท่านก็เจอปัญหาที่ว่าลูกน้อยร้องโยเย เม้มปากไม่ยอมทาน วันนี้เราจะมาดูแต่ละสาเหตุกัน พร้อมทั้งวิธีการแก้ปัญหากันค่ะว่ามีอะไรบ้าง

สารบัญ

ทำไมลูกน้อยของฉันไม่กินอาหารเสริม?

เรียกได้ว่าคำถามนี้เป็น “คำถามยอดฮิต” ของคุณแม่มือใหม่หลายๆ คนเลยค่ะ เพราะหากลูกน้อยทานได้น้อย หรือถึงขั้นหันหน้าหนี เม้มปากไม่ยอมทานเลยก็คงทำเอาคุณแม่กังวลหรืออาจเครียดกันได้เลยทีเดียว
หากลูกน้อยไม่ยอมทาน อันดับแรกอาจเช็คสุขภาพลูกก่อนค่ะว่าเค้าไม่สบาย เจ็บปวดตรงไหนหรือเปล่า เพราะเวลาเด็กไม่สบายตัวก็จะส่งผลให้ลูกน้อยไม่ยอมทานได้ แต่หากดูแล้วว่าลูกน้อยมีสุขภาพดี คุณแม่ตามมาดูเคล็ดไม่ลับด้านล่างนี้เลยค่ะ

  1. ช่วงเริ่มแรก คุณแม่ควรจัดอาหารให้ตรงตามเวลาที่ลูกน้อยหิว
  2. ปริมาณเริ่มแรกควรให้ทีละน้อยๆ ก่อน แล้วค่อยเพิ่มปริมาณทีละน้อย อาจเริ่มจากกล้วยน้ำว้าครูด บดละเอียด เอาเฉพาะเนื้อด้านนอก ไม่เอาไส้ เพราะกล้วยน้ำว้ามีประโยชน์มาก มีรสหวานตามธรรมชาติ ทานง่าย
  3. ลองเพิ่มอาหารเสริมในแบบอื่นๆ เช่น
    • หมวดแป้ง; ข้าว
    • หมวดผัก; บรอคโคลี, แครอท, หอมใหญ่, ฟักทอง, มันฝรั่ง, ผักโขม
    • หมวดโปรตีน; ไข่ต้ม (เอาแต่ไข่แดง), ตับ, ปลาทูน่า
    • อาหารเสริมข้างต้นนี้ ให้คุณแม่นำมาทำให้สุก ปั่นละเอียด แล้วแช่แข็งไว้ รวมทั้งน้ำต้มกระดูกหมู เวลาจะทานก็นำมาตุ๋นค่ะ

  4. วันนี้ลูกน้อยชอบเมนูนี้ ทานเกลี้ยงเลย แต่มื้อต่อไปอาจไม่ทานแล้วก็ได้ คุณแม่ต้องมีเมนูอื่นเข้าคิวรอด้วยนะคะ อาจจดไว้ในสมุดก็ได้ค่ะ

ครั้งแรกลูกไม่ทานอย่าเพิ่งยอมแพ้ อย่าเพิ่งท้อนะคะ ที่สำคัญ อย่าบังคับให้ลูกน้อยทาน เพราะเท่ากับกดดันลูก ทำให้ลูกไม่อยากทานข้าว เพราะลูกน้อยจะรู้สึกว่า “เวลาแห่งความทรมานมาอีกแล้ว

พยายามคิดหาเหตุผล เป็นไปได้มั้ยที่เด็กไม่สามารถทานได้เพราะไม่หิว?

คิดหาเหตุผล

ก่อนถึงเวลาอาหารของลูกน้อยไม่ควรให้ทานอะไรก่อนหน้าอย่างน้อย 1 ชม. นะคะ เพราะจะทำให้ลูกน้อยไม่หิว และไม่ยอมทานข้าว

หากลูกน้อยไม่ยอมทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เป็นโรคได้

  1. ขาดวิตามิน จากอาหารจำพวกผักและผลไม้
    ผิวหนังแห้งหยาบ เป็นเหน็บชาบ่อย เป็นหวัดได้ง่าย เส้นเลือดฝอยไม่แข็งแรง ร่างกายเจริญเติบโตช้า กระดูกไม่แข็งแรง
  2. ขาดโอเมก้า 3 และดีเอชเอ จากปลาทะเล
    ทำให้พัฒนาการทางสมองเติบโตช้า เรียนรู้สิ่งต่างๆ ช้า

หากลูกน้อยถึงวัยที่ต้องเข้าเรียนการมีพัฒนาการที่ช้า อาจส่งผลให้ลูกน้อยเรียนรู้ได้ไม่ทันเพื่อน ทำให้เสียความมั่นใจ ส่งผลลบด้านจิตใจด้วยนะคะ

ลูกน้อยไม่ทานอาหารอาจเกิดจากระบบดูดซึมอาหารทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร

หนึ่งในหลายๆ สาเหตุที่ลูกน้อยไม่ยอมทานอาหารอาจเป็นเพราะระบบการย่อยและดูดซึมอาหารยังทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น อย่าลืมนะคะ คุณแม่ควรเริ่มให้ทีละน้อยก่อน

อย่าให้ “ความเครียด” มาเยี่ยมเยียน

เพราะความที่เป็นคุณแม่ที่ต้องรับมือกับลูกน้อยในทุกช่วงวัย การเลี้ยงลูกเป็นอะไรที่เหนื่อยมากก็จริงแต่ก็มีความสุขที่สุดแล้ว เพราะฉะนั้นคุณแม่ก็อย่าเพิ่งเครียดไปนะคะ เพราะความเครียดจะเป็นตัวผลักดันให้ “ความสุข” หายไปค่ะ

ลูกน้อยที่ไม่ยอมทานอาหาร อาจเป็นเพราะเขายังกลืนอาหารได้ไม่เก่ง

ลูกน้อยวัย 6 เดือนกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น การทานอาหารเสริม แน่นอน…คงยังไม่ชินกับการทานอาหารที่ต้องใช้การบดเคี้ยว เพราะตั้งแต่เกิด ลูกน้อยทานแต่นมซึ่งทานง่ายและย่อยง่ายกว่าอาหาร ดังนั้น คุณแม่ต้องใจเย็นๆ นะคะ เรียนรู้ไปพร้อมลูกค่ะ

เสริมอาหารให้ลูก แก้อาการท้องผูก

มาถึงตรงนี้คุณแม่ควรเตรียมอาหารสำหรับลูกน้อยให้หลากหลายตามที่กล่าวมาข้างต้นนะคะ โดยเฉพาะพวกผักที่กินง่าย เช่น แครอทที่นำมาปั่นให้ละเอียด แช่แข็ง ซึ่งสามารถนำมาผสมกับน้ำต้มกระดูกหมูได้ ก็จะออกรสหวานซึ่งได้จากธรรมชาติ มีสรรพคุณช่วยลดอาการท้องผูกให้ลูกน้อยด้วยค่ะ

ระหว่างทานอาหาร ไม่ควรให้มีสิ่งอื่นที่น่าสนใจมากกว่าอาหาร

อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่จะให้ลูกน้อยหันมามีสมาธิอยู่กับการทานอาหารนั่นก็คือ การไม่ให้มีสิ่งเร้าเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจไปจากอาหาร ไม่ว่าจะเป็นของเล่น ทีวี โทรทัศน์ หรือแม่แต่โทรศัพท์มือถือ แต่ถ้าลูกน้อยโตขึ้นมาอีกหน่อย (ประมาณ 8-9 เดือน) ถ้าเค้าสามารถที่จะนั่งโต๊ะทานข้าวสำหรับเด็กได้แล้ว ให้ลูกน้อยนั่งทานข้าวพร้อมครอบครัวเลยค่ะ ให้ลูกได้ลุยเอง ตักทานเอง ตรงนี้จะเป็นการเสริมพัฒนาการการหยิบจับ ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กไปด้วยในตัว

คุณแม่ให้อาหารลูกน้อยไม่ตรงเวลาที่เค้าหิว

คุณแม่ควรจัดสรรเวลาในการทานอาหารของลูกน้อยให้ตรงเวลากับที่ลูกหิวนะคะ ไม่เช่นนั้นลูกน้อยก็จะปฏิเสธการทานอาหารได้

จะรู้ได้อย่างไรว่าต่อมรับรสลูกน้อยผิดปกติ?

โดยปกติแล้ว เด็กทารกจะเกิดมาพร้อมกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การรับรส การได้กลิ่น และการเคลื่อนไหว ซึ่งช่วงแรกเกิด – 6 เดือน นมแม่เป็นรสชาติที่สมบูรณ์ของลูกน้อยอยู่แล้ว แต่หากคุณแม่ต้องการเช็คว่าลูกน้อยมีอาการผิดปกติหรือไม่ ทดลองให้ลูกทานน้ำมะนาวดูค่ะ หากลูกมีอาการนิ่งเฉย คุณแม่ลองปรึกษาแพทย์ดู เพื่อการรักษาและการดูแลลูกอย่างถูกวิธีต่อไป

ลูกไม่ทานอาหาร คุณแม่ควรเรียนรู้สาเหตุและโน้มน้าวให้ถูกจังหวะ

คุณแม่ควรเรียนรู้สาเหตุและโน้มน้าวให้ถูกจังหวะ<

คุณแม่มือใหม่หลายท่านเมื่อเห็นลูกน้อยไม่ยอมทานอาหาร ก็คงจะอดเครียดไม่ได้ ด้งนั้น คุณแม่ลองค่อยๆ สังเกตดูนะคะว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ลูกไม่ยอมทาน เช่น ไม่สบายตัว เมนูไม่ถูกปาก หรือลูกยังอยู่ในช่วงปรับตัว แล้วค่อยๆ พูด เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้ลูกน้อยอย่างค่อยเป็นค่อยไปนะคะ

ระวังการกระทำต่อเด็กที่ไม่ค่อยรับประทานอาหาร

อย่างที่ได้กล่าวข้างต้นค่ะ บางครั้ง บางมื้อ ลูกน้อยอาจทานมากบ้าง น้อยบ้างคุณแม่ก็อย่าเพิ่งโมโหหรือดุลูกนะคะ เพราะลูกจะเกิดทัศนคติที่ไม่ดีกับช่วงเวลาที่ต้องทานอาหารค่ะ

ประเด็นที่คุณแม่ต้องระวังและปรับปรุงในเรื่องการที่ลูกไม่ยอมทานอาหาร

เรื่องนี้ต้องขยายและขอเน้นย้ำเลยนะคะ สำหรับคุณแม่มือใหม่ หากลูกน้อยไม่ยอมทานอาหาร “อย่าเครียดและอย่าเพิ่งดุ” ค่ะ เพราะจะหลายเป็นเราเองที่สร้างทัศนคติที่ไม่ดีกับลูกเวลาที่ต้องทานอาหาร แต่พยายามคิดหาเมนูใหม่ๆ อยู่เสมอ คิดบวกเข้าไว้ค่ะ

การทานอาหารของลูกน้อย คุณแม่ต้องค่อยๆ หัดให้เค้าทานอย่างค่อยเป็นค่อยไปนะคะ ที่สำคัญ “ใจเย็นๆ” หาสาเหตุก่อนว่าที่ลูกน้อยไม่ทานในแต่ละมื้อเพราะอะไร? แล้วค่อยๆ ปรับแก้กันไปทีละจุด เหมือนกับที่หลายคนกล่าว “ระหว่างปีนเขา อย่าแหงนหน้ามองยอดเขา” เพราะจะทำให้เรา “ท้อ” ได้ เป็นคุณแม่ เหนื่อยได้แต่อย่าท้อนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP