เทคนิคการสร้างความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ให้กับลูกวัยแรกเกิด – 1 ปี

การเลี้ยงลูกวัยแรกเกิด-1 ขวบ

ความฉลาดทางอารมณ์ หรือ Emotional Quotient (EQ) เชื่อว่าคำนี้คุณพ่อคุณแม่คงเคยได้ยินกันมาพอสมควร EQ มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ต่อการจัดการตัวเอง และต่อการเข้าสังคมเป็นอย่างมาก ว่าแต่เราจะสามารถเลี้ยงลูกหรือปลูกฝังลูกให้มีความฉลาดทางอารมณ์ตั้งแต่แรกเกิดเลยได้ไหม?

EQ (Emotional Quotient) คืออะไร?

Emotional Quotient (EQ) คือ ความฉลาดทางอารมณ์ เป็นความสามารถที่เราสามารถรับรู้อารมณ์ตัวเองและอารมณ์ของผู้อื่นได้ รวมถึงการมีความสามารถในการจัดการบริหารอารมณ์ของตัวเองและคนอื่นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม


อยากให้ลูกมี EQ (ความฉลาดทางอารมณ์) สูง ๆ ต้องสอนลูกอย่างไร? สอนในเรื่องอะไรบ้าง? พบกับ 12 เทคนิคสั้น ๆ ทำได้ไม่ยากที่นี่ค่ะ

พฤติกรรมแบบไหนถึงเรียกว่ามีความฉลาดทางอารมณ์?

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยมีความฉลาดทางอารมณ์ สามารถดูได้จากสิ่งเหล่านี้ค่ะ

  • แสดงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
  • มีความเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่น
  • มีความอ่อนโยนต่อผู้อื่น
  • มีมนุษยสัมพันที่ดี
  • สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี
  • สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ดี
  • รู้จักการรอคอยอย่างใจเย็น ไม่ร้องไห้ งอแง

จริงอยู่แม้บางสิ่งบางอย่างลูกซึ่งอยู่ในวัยทารกอาจจะไม่สามารถแสดงออกให้คุณพ่อคุณแม่ได้เห็นทั้งหมดในตอนนี้ แต่เชื่อเถอะค่ะ มันจะมีบางข้อที่ลูกแสดงออกในแบบที่คุณพ่อคุณแม่สามารถรู้สึกได้

เทคนิคการสร้างความฉลาดทางอารมณ์ให้ลูกวัยแรกเกิด – 1 ปี

ก่อนอื่นต้องบอกอย่างนี้ก่อนค่ะ ว่าด้วยพื้นฐานนิสัยของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน การเลี้ยงง่าย เลี้ยงยากต่างกัน บางคนสามารถปรับตัวได้เร็ว ในขณะที่บางคนอาจใช้เวลานานสักหน่อย นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปรในการสร้างพื้นฐานทางอารมณ์ด้วยเช่นกัน และจากสาเหตุนี้เองการสร้างความฉลาดทางอารมณ์จึงต้องเริ่มที่ตัวของคุณพ่อคุณแม่ก่อน

ควบคุมอารมณ์และการแสดงออกทางอารมณ์ของตัวเองก่อน

หากลูกมีอายุที่ต่ำกว่า 6 เดือน และร้องหิวนม คุณพ่อคุณแม่ควรตอบสนองลูกในทันที เพราะอะไรคะ? ก็เพราะว่าช่วงวัยนี้เป็นช่วงวัยที่ต้องการการปรับตัว ต้องการความปลอดภัย และต้องการความมั่นคงทางอารมณ์จากคุณแม่

แม่โน้ต

การที่คุณแม่ตอบสนองลูกในทันที ในวัยต่ำกว่า 6 เดือน จะช่วยให้ลูกรู้สึกว่า แม้ว่าคุณแม่จะไม่ได้อุ้มตลอด หรือแม้ว่าไม่ได้เห็นคุณแม่ แต่เมื่อหิว คุณแม่จะมาหาทันที ลูกจะรู้สึกปลอดภัย รู้ว่าคุณแม่ไม่ได้ทิ้งเขาไปไหนไกล เมื่อเขาได้เรียนรู้อย่างนี้แล้ว เขาจะไม่เป็นเด็กที่งอแงค่ะ แต่จะมีความมั่นคงทางอารมณ์มากขึ้น

ฝึกให้ลูกรู้จักการรอคอย

หากลูกมีอายุมากกว่า 6 เดือนแล้ว หากลูกร้องเพราะหิว คุณแม่สามารถฝึกลูกให้อดทนสักหน่อยได้ด้วยการส่งเสียงบอกให้ลูกรู้ว่าคุณแม่กำลังเตรียมนมให้อยู่ ด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน เช่น “รอแป้บหนึ่งนะคะลูก แม่กำลังเตรียมนมให้อยู่ค่ะ” เริ่มแรกลูกอาจจร้องงอแง แต่เมื่อทำไปเรื่อย ๆ ลูกจะเรียนรู้ได้เองค่ะ

ชื่นชมลูก หากลูกทำได้

ชื่นชมลูกวัยทารก แม้ว่าเขาจะไม่เข้าใจในความหมาย แต่เขาสามารถรับรู้ได้จากน้ำเสียงที่อ่อนโยนของคุณแม่ค่ะ เขาจะรู้ว่าเมื่อเขารอได้ คุณแม่จะปฏิบัติกับเขาอย่างอ่อนโยน และนุ่มนวล

หมั่นชวนลูกพูดคุย

คุณแม่สามารถชวนลูกพูดคุยได้ตลอดเวลาเลยค่ะ คุณแม่เองจะทราบดีว่าช่วงเวลาไหนที่ลูกอารมณ์ดี พร้อมที่จะชวนคุย การพูดคุยด้วยน้ำเสียง และท่าทางที่อ่อนโนจะทำให้ลูกซึมซับพฤ๖กรรมของคุณแม่ได้ค่ะ

อ่านหนังสือให้ลูกฟัง

การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง พร้อมกับพากย์เสียงสูงต่ำที่แตกต่างจะเป็นการช่วยเพิ่มความสนใจ และเพิ่มความสนุกให้กับการอ่าน ลูกจะสนุกและอยากที่จะฟังให้จบโดยไม่เบื่อค่ะ เท่ากับเป็นการฝึกให้ลูกมีความนิ่งมากขึ้นได้อีกด้วยนะคะ

ให้ลูกได้เล่นอย่างหลากหลาย

เพื่อเป็นการให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว เพราะของเล่นแต่ละอย่างก็มีวิธีการเล่นที่แตกต่างกันไป สิ่งนี้นอกจากจฝึกการปรับตัวให้ลูกแล้ว ยังเป็นการฝึกการแก้ปัญหาได้ดีอีกด้วยค่ะ

ให้ลูกได้ออกกำลังกาย

ข้อนี้คุณแม่ต้องช่วยลูกในการจับแขนและขาในการออกกำลังกาย ระหว่างการออกกำลังกายคุณแม่สามารถร้องเพลงเองได้เลยค่ะ เพราะลูกในวัยนี้ชอบฟังเสียงของคุณแม่มากที่สุด

เปิดเพลงให้ลูกฟัง

หรือหากคุณแม่เหนื่อยแล้ว ต้องการเปลี่ยนบรรยากาศ สามารถเลือกใช้เป็นเพลง White Noise ซึ่งเป็นเพลงบรรเลง แนวธรรมชาติ เสียงนกร้อง เสียงน้ำตก ฯลฯ แบบนี้ก็ได้เช่นกันค่ะ

ความฉลาดทางอารมณ์นั้น ความจริงแล้วคุณแม่สามารถสร้างให้ลูกได้ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์เลยค่ะ ซึ่งข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมาเป็นแนวทางให้คุณแม่ได้สร้างความฉลาดทางอารมณ์ให้ลูกอย่างต่อเนื่องหลังคลอดค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP